ซีเซียม-137
ซีเซียม-137 ที่ถูกปิดสนิท | |
ทั่วไป | |
---|---|
สัญลักษณ์ | 137Cs |
ชื่อ | ซีเซียม-137, 137Cs, Cs-137 |
โปรตอน (Z) | 55 |
นิวตรอน (N) | 82 |
ข้อมูลนิวไคลด์ | |
ปริมาณในธรรมชาติ | 0 (ปริมาณน้อยมาก) |
ครึ่งชีวิต (t1/2) | 30.05±0.08 ปี[1] |
มวลไอโซโทป | 136.907 Da |
สปิน | 72+ |
ไอโซโทปต้นกำเนิด | 137Xe (β−) |
ผลผลิตจากการสลาย | 137mBa 137Ba |
การสลายตัว | |
รูปแบบการสลาย | พลังงานการสลายตัว (MeV) |
β- (การสลายให้อนุภาคบีตา) | 0.5120[2] |
γ (gamma-rays) | 0.6617 |
ซีเซียม-137 (อังกฤษ: Caesium-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม มีลักษณะเป็นโลหะอ่อน สีทองเงิน[3] แผ่อนุภาคบีตาและรังสีแกมมา เมื่อสัมผัสจะทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่ดีเอ็นเอของเซลล์ ส่งผลทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไทรอยด์ตามมา ในธรรมชาติอาจใช้เวลาสลายตัวของซีเซียม-137 มากกว่า 100 ปี[4] ครึ่งชีวิตของซีเซียมอยู่ที่ประมาณ 30 ปี เมื่อซีเซียมสลายตัว จะแผ่รังสีบีตาแล้วจะแปรสภาพกลายเป็นแบเรียม-137m (137mBa) [5]
ประโยชน์
[แก้]การใช้งานของสารซีเซียม-137 มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่ใช้เป็นสารต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง และใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ถ้ามีปริมาณน้อยจะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีหรือใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่นำมาใช้ในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน [5]
อันตราย
[แก้]ในระยะสั้นหากได้รับหรือสัมผัสจะไม่ส่งผลอันตรายให้เห็นผลชัดเจน แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ถ้าได้รับเข้าไปในร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล ผ่านการหายใจ หรือรับประทานเข้าไป ซีเซียม-137 จะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนของอวัยวะต่าง ๆ และจะแผ่รังสีผ่านสู่อวัยวะเหล่านั้น เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น [5]
หากได้รับปริมาณรังสีต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ผิวหนังมีอาการแสบร้อนคล้ายโดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก และจะมีอาการคลื่นไส้ถ้าได้รับปริมาณรังสีสูงมากพอ [5]
เหตุการณ์อุบัติเหตุในไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2566
[แก้]เกิดการสูญหายของ ซีเซียม-137 จากโรงงานไฟฟ้าที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งต่อมาพบว่าถูกหลอมพร้อมกับเหล็ก [6] แต่เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติเชียร์โนบีลแล้ว อุบัติเหตุครั้งนี้ถือว่าสร้างความเสียหายที่เล็กกว่ามาก[7] แต่อย่างไรก็ตามบุคคลที่ใกล้ชิดหรือพักอาศัยใกล้กับพื้นที่ใกล้เคียงจุดเกิดเหตุก็ควรเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก
เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency)[8] ค่ารังสีส่วนเกินจากธรรมชาติที่คนทั่วไปควรได้รับไม่ควรจะเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต/ปี โดยในเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้ได้รับรังสีเกินกว่าที่คนทั่วไปควรได้รับ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบใกล้เคียงการอยู่ในพื้นที่ที่มีรังสีต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bé, M. M., Chisté, V., Dulieu, C., Browne, E., Baglin, C., Chechev, V., ... & Lee, K. B. (2006). Table of Radionuclides (vol. 3–A= 3 to 244). Monographie BIPM, 5.
- ↑
"137
55Cs82". WWW Table of Radioactive Isotopes. LBNL Isotopes Project - LUNDS Universitet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2015. สืบค้นเมื่อ 14 March 2009. - ↑ "ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน". Hfocus.org. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "สรุปปมพบ 'ซีเซียม 137' ที่สูญหาย". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 โชคเกิด, ปาริชาติ (20 March 2023). "รู้จักรังสีซีเซียม-137 พร้อมเช็คไทม์ไลน์การหายไปไร้ร่องรอย". สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
- ↑ https://workpointtoday.com/cesium/
- ↑ https://www.iaea.org/newscenter/focus/chernobyl/faqs?fbclid=IwAR0ntGC2eqwZzF04pOCvRaoE0YSlL2Cq81d9-vq9slEAUlpO_hgtp0d0YnI
- ↑ "Radiation in Everyday Life". www.iaea.org (ภาษาอังกฤษ). 21 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.