ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน
เอช-53 ซีสตัลเลียน | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เฮลิคอปเตอร์บรรทุกขนาดหนัก |
บริษัทผู้ผลิต | ซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ |
สถานะ | ประจำการ |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2509 |
เที่ยวบินแรก | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (วายซีเอช-53) |
สายการผลิต | ซิคอร์สกี้ เอ็มเอช-53 ซีเอช-53อี ซูเปอร์สตัลเลียน |
ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน (อังกฤษ: CH-53 Sea Stallion) เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกเอส-65 ซึ่งตระกูลหนึ่งในเฮลิคอปเตอร์บรรทุกขนาดหนักของซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ เดิมที่มันถูกพัฒนาขึ้นให้กับนาวิกโยธินสหรัฐ มันยังเข้าประการในเยอรมนี อิหร่าน อิสราเอล และเม็กซิโกอีกด้วย กองทัพอากาศสหรัฐใช้เอชเอช-53 ซูเปอร์จอลลี่กรีนไจแอนท์ในช่วงปลายและหลังสงครามเวียดนาม โดยได้ทำการพัฒนาพวกมันส่วนใหญ่ให้กลายเป็นเอ็มเอช-53 เพฟโลว์
มันมีความคล้ายคลึงกับซีเอช-53อี ซูเปอร์สตัลเลียนที่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาเป็นเอส-80อีโดยซิคอร์สกี้ เครื่องยนต์ที่สามของมันทำให้มันทรงพลังยิ่งกว่าซีสตัลเลียน ซึ่งได้เข้ามาทำหน้าที่แทนในการบรรทุกขนาดหนัก
การพัฒนา
[แก้]ในปีพ.ศ. 2503 นาวิกโยธินสหรัฐได้เริ่มมองหาเฮลิคอปเตอร์ที่จะมาแทนที่เอชอาร์2เอสที่ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2504 นาวิกโยธินเริ่มทำงานร่วมกับกองกำลังติดอาวุธของสหรัฐอื่นๆ อีกสามหน่วยงาน ซึ่งในที่สุดพวกเขาก็รวมตัวกันจนทำให้เกิดเอ็กซ์ซี-142เอขึ้นมา การออกแบบเริ่มไปได้ไม่ดีและโครงการต้องถูกพักไป ทำให้นาวิกโยธินต้องวางมือเมื่อพวกเขาตัดสินใจที่จะไม่รับงานในช่วงเวลานั้น เมื่อสิน้สุดเอ็กซ์ซี-142เอ ที่แม้ว่าจะเป็นวัตกรรมใหม่ ก็ไม่ได้เข้าสู่สายการผลิต [1]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2505 สำนักงานสรรพาวุธของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งทำงานครึ่งหนึ่งของนาวิกโยธิน ได้ทำการประกาศขอเฮลิคอปเตอร์ขนาดหนัก โดยมีรายละเอียดให้สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 3,600 กิโลกรัม โดยมีพิสัยปฏิบัติการ 190 กิโลเมตรด้วยความเร็ว 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันถูกใช้ในการลำเลียงเข้าโจมตี การช่วยเหลือทางอากาศ ยานขนส่งส่วนบุคคล และการอพยพทางการแพทย์ ในการเป็นยานลำเลียงการจู่โจม มันถูกใช้มากที่สุดในการลำเลียงยุทธโธปกรขนาดหนักแทนที่จะเป็นทหาร[1]
ดังนั้นโบอิง เวอร์ทอลจึงได้ยื่นข้อเสนอในการดัดแปลงซีเอช-47 ชีนุก คาแมน แอร์คราฟท์ได้เสนอการพัฒนาแฟร์รี โรโตดีนของอังกฤษ และซิคอร์สกี้ได้เสนอเอส-61อาร์ที่เพิ่มขนาดขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์เจเนรัล อิเลคทริก ที64 และระบบไดนามิกจากเอส-64 โดยใช้ชื่อว่าเอส-65 ข้อเสนอของคาแมนถูกปฏิเสธอย่างรวดเร็วเมื่อรัฐบาลอังกฤษได้ละทิ้งโครงการโรโตดีน การแข่งขันระหว่างโบอิงและซิคอร์สกี้จึงเข้มข้นขึ้น โดยชีนุกมีข้อได้เปรียบกว่าเพราะมันถูกใช้โดยกองทัพบกสหรัฐ ซิคอร์สกี้จึงทุ่มทุกอย่างในการแข่งขันและได้ชนะสัญญาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505[1]
เดิมทีนาวิกโยธินต้องการซื้อต้นแบบ 4 ลำแต่ก็พบกับปัญหาเรื่องทุน ซิคอร์สกี้ยังต้องการคงข้อตกลงเอาไว้ พวกเขาจึงตัดราคาที่คาดเอาไว้และกล่าวว่าโครงการจะใช้แค่ 2 ลำเท่านั้น กองทัพก็ยื่นข้อเสนอและในเดือนกันยายน พ.ศ. 2505 ซิคอร์สกี้ก็ได้รับสัญญามูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้สร้าง"วายซีเอช-53เอ"สองลำ[1]
โครงการนั้นไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะว่ามีการตัดทอนทรัพยากรวิศวกรบวกกับความล้มเหลวของผู้รับเหมาและรัฐบาล แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ถูกแก้ไข นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐโรเบิร์ต เอส แม็กนามาราต้องการให้กองกำลังติดอาวุธใช้ชีนุกให้เหมือนกัน แต่นาวิกโยธินก็สามารถโน้มน้าวเจ้าหน้าที่ของแม็กนามาราให้เข้าใจว่าชีนุกนั้นจะตรงตามความต้องการของพวกเขาได้ก็ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง[1]
เมื่อปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ถูกกำจัดไป วายซีเอช-53เอลำแรกก็เริ่มทำการบินครั้งแรกที่โรงงานของซิคอร์สกี้ในคอนเนคติกัตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ประมาณสี่เดือนหลังจากกำหนดการ นาวิกโยธินได้เริ่มสัญญาการผลิตเฮลิคอปเตอร์ 16 ลำในเดือนกันยายน การบินทดสอบนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นกว่าที่คาดเอาไว้ ทำให้มันคุ้มค่ากับปัญหาระหว่างการพัฒนา มันได้รับชื่อทางทหารว่า"ซีเอช-53เอ ซีสตัลเลียน"[1] การส่งมอบซีเอช-53 เริ่มชึ้นในพ.ศ. 2509[2]
ซีเอช-53เอได้เข้าร่วมสงครามเวียดนามในเดือนมกราคม พ.ศ. 2510 และพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ จนในที่สุดมันได้ช่วยกู้เครื่องบินที่ตกได้มากกว่าซีเอช-54 มีซีเอช-53เอทั้งสิ้น 141 ลำที่ถูกผลิตขึ้น รวมทั้งต้นแบบทั้งสองลำ[1] กองทัพเรือได้รับซีเอช-53เอ 15 ลำจากนาวิกโยธินในปีพ.ศ. 2512 แบบที่กองทัพเรือได้รับนั้นใช้เครื่องยนต์ที64-จีอี-413 ที่ทรงพลังกว่า โดยใช้ชื่อว่า"อาร์เอช-53เอ"[1]
กองทัพอากาศสหรัฐได้สั่งซื้อเอชเอช-53บีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 และใช้มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2510 มันมีท่อเติมเชื้อเพลิง ถังเชื้อเพลิงที่ปลดทิ้งได้ ตะขอกู้ชีพ และเครื่องยนต์ที64-จีอี-3 กองทัพอากาศใช้เอชเอช-53บีสำหรับการค้นหาและช่วยเหลือทางทหาร[3] เอชเอช-53ซีเป็นแบบที่ก้าวหน้ากว่าโดยมีถังเชื้อเพลิงขนาด 450 แกลลอนที่เล็กกว่าเพื่อเพิ่มการทำงานให้ดีขึ้น นอกจากนั้นมันยังมีเกราะเสริมและระบบการสื่อสารที่ดีกว่า ซีเอช-53ซีแตกต่างตรงที่ไม่มีท่อเติมเชื้อเพลิง มันถูกใช้โดยกองทัพอากาศสำหรับการบรรทุกที่หลากหลายกว่า[4]
การบรรทุกของหนักในเขตุอากาศร้อนจะต้องใช้พลังมากกว่าปกติ ดังนั้นนาวิกโยธินจึงตัดสินใจพัฒนาต่อไป คือ"ซีเอช-53ดี" ด้วยเครื่องยนต์ที่รับการพัฒนาจากเดิมที64-จีอี-12 เป็นที64-จีอี-13 ซีเอช-53ดียังมีระบบส่งกำลังที่มีอัตราดีกว่า และบรรทุกทหารได้ 55 นาย[1]
การบินครั้งแรกเริ่มชึ้นในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2512 ซีเอช-53ดีทำงานร่วมกับซีเอช-53เอตลอดสงครามเวียดนาม รุ่นที่ใช้สำหรับขนย้ายบุคคลสำคัญใฃ้ฃื่อว่า"วีเอช-53ดี" มันถูกใช้โดยนาวิกโยธินสำหรับการขนย้ายประธานาธิบดี[1] กองทัพเรือสหรัฐยังได้รับซีเอช-53ดีแบบเดียวกันเพื่อนำไปใช้กวาดทุ่นระเบิด มันใช้ชื่อว่า"อาร์เอช-53ดี"และมีอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดอย่างปืนกลเอ็ม2 บราวนิ่งขนาด 12.7 ม.ม.สำหรับการจุดระเบิดกองทัพเรือได้รับอาร์เอช-53ดี 30 ลำตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 หลังจากที่อาร์เอช-53ดีเข้าประจำการ อาร์เอช-53เอก็ถูกคืนให้กับนาวิกโยธินและดัดแปลงกลับไปสู่ซีเอช-53เอ[1]
ในทศวรรษที่ 2523 กองบินซีเอช-53 ของกองทัพอากาศอิสราเอลได้รับการพัฒนาโดยอุตสาหกรรมอากาศยานอิสราเอล พร้อมกับเทคโนโลยีจากเอลบิท ซิสเทมส์ โครงการนั้นสิ้นสุดในปีพ.ศ. 254 โดยได้ทำการพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศและยืดอายุการใช้งานของซีเอช-53 อย่างน้อย 20 ปี
ในปีพ.ศ. 2532 ซีเอช-53เอบางลำที่ถูกปลดประจำการจากกองนาวิกโยธินถูกส่งให้กับกองทัพอากาศสหรัฐเพื่อใช้ในการฝึก โดยจะได้รับชื่อใหม่ว่า"ทีเอส-53เอ" ทีเอช-53เอถูกรื้ออุปการณ์มากมายออกและถูกทำสีกองทัพอากาศสหรัฐ[1]
การออกแบบ
[แก้]ซีสตัลเลียนมีลำตัวที่ออกแบบมาคล้ายคลึงกับซิคอร์สกี้ เอส-61อาร์/จอลลีกรีนไจแอนท์ มันมีประตูผู้โดยสารอยู่ที่ด้านขวาหลังห้องนักบินและมีทางลาดบรรทุกสินค้าที่ด้านหลัง ลำตัวของมันกันน้ำ แม้ว่ามันจะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการสะเทินน้ำสะเทินบกก็ตาม และจะลงจอดบนน้ำเมื่อฉุกเฉินเท่านั้น สตัลเลียนการควบคุมกลไลการบินซึ่งสนับสนุนโดยระบบไฮดรอลิกสามระบบที่แยกอย่างอิสระ[1]
ซีเอช-53เอมีลูกเรือทั้งหมดสี่นาย ประกอบด้วยนักบิน นักบินผู้ช่วย หัวหน้าลูกเรือ และผู้เฝ้าสังเกตการณ์ทางอากาศ มันบรรทุกทหารได้ 38 นาย เตียง 24 ตัวพร้อมคนเจ็บ บรรทุกสินค้าได้ 3,600 กิโลกรัมไว้ภายในหรือ 5,900 กิโลกรัมที่ด้านนอกโดยใช้ตะขอเกี่ยว ซีเอช-53เอมีปืนกลเอ็ม60 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอกที่ด้านข้างของลำตัว[1]
ซีเอช-53เอมีจุดเด่นที่ใบพัดหลัก 6 ใบและใบพัดหาง 4 ใบที่มาจากเอส-64 สกายเครน เพื่อลดพื้นที่เมื่อต้องใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรืออื่นๆ ใบพัดและหางจึงสามารถพับได้ ระบบใบพัดถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์เจเนรัล อิเลคทริก ที-64-6 ที่ให้กำลัง 2,850 แรงม้าสองเครื่องยนต์ ต่อมามันถูกติดตั้งเป็นที-64-1 ที่ให้กำลัง3,080 แรงม้าและจากนั้นก็เป็นที64-16 ที่ให้กำลัง 3,485 แรงม้าแทน[1] เอชเอช-53บีใช้เครื่องยนต์ที64-3 ที่ให้กำลัง 3,080 แรงม้า[4]
ซีเอช-53ดีมีจุดเด่นที่เครื่องยนต์ โดยทีแรกใช้ที64-จีอี-412 ที่ให้กำลัง 3,695 แรงม้า จากนั้นเป็นที64-413 ที่ให้กำลัง 3,925 แรงม้าโดยมีกาพัฒนาระบบส่งกำลัง ภายในนั้นจุทหารได้ 55 นาย ซีเอช-53ดีเดิมทีนั้นใช้ปืนกลเอ็ม2 บราวนิ่งและเอ็กซ์เอ็ม218 ขนาด 12.7 ม.ม. เป็นอาวุธ หลายปีต่อมาซีเอช-53ดีเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ตอบโต้ที่มีทั้งเครื่องปล่อยพลุเอเอ็น/เอแอลอี-39และตัวต่อต้านอินฟราเรดเอเอ็ม/เอแอลคิว-157[1]
การผลิตซีเอช-53ดีฝนเวลาต่อมามีจุดเด่นที่โรายการใบพัดที่จะตรวจหารอยแตกของใบพัด ระบบนี้จะเพิ่มแรงดันภายในของใบพัดด้วยบบไนโตรเจน]] หากว่าเกิดรอยแตกแรงดันก็จะลดลงและจะมีสัญญาณสีแดงเตือน ต่อมาระบบนี้ถูกเชื่อมต่อกับจอแสดงในห้องนักบิน [1]
ประวัติการใช้งาน
[แก้]สหรัฐอเมริกา
[แก้]ซีเอช-53 และเอชเอช-53 มีประสบการณ์ในการรบมากมายตลอดอายุการใช้งาน ด้วยปฏิบัติการของสหรัฐในสงครามเวียดนามและเป็นเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติการพิเศษ รวมทั้งในกองทัพอากาศอิสราเอลอีกด้วย
ซีเอ-53ดีทำหน้าที่พร้อมกับซีเอช-53เอตลอดสงครามเวียดนาม ทั้งสองชนิดได้ปฏิบัติหน้าที่ช่วงสุดท้ายในการประจำการในช่วงสุดท้ายของสงครามด้วยการช่วยอพยพผู้คนออกจากไซ่ง่อนและพนมเปญ[1]
เอชเอช-33 ซูเปอร์จอลลีของกองทัพอากาศสหรัฐเป็นเฮลิคอปเตอร์หลักในการค้นหาและช่วยเหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปีพ.ศ. 2510 และ 2518 มันได้ส่งทีมช่วยเหลือเข้าไปในค่ายเชลยที่เวียดนามเหนือในปีพ.ศ. 2513 และได้ลำเลียงนาวิกโยธินเข้าไปทำการช่วยเหลือลูกเรือของเรือเอสเอส มายาเกซ นาวิกโยธินได้ใช้ซีสตัลลเลียนของกองทัพเรือเข้าทำการช่วยเหลือตัวประกันชาวอเมริกันในปฏิบัติการอีเกิลคลอว์ในอิหร่านเมื่อปีพ.ศ. 2523 ซึ่งจบลงด้วยหายนะและกลายเป็นความน่าอับอายที่เกิดขึ้นใน"ดีเซิร์ทวัน"
ซีเอช-53 ถูกใช้โดยนาวิกโยธินและกองทัพอากาศสหรัฐเพื่อใช้ในการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักและปฏิบัติการเอ็นดังริ่งฟรีดอมในอิรักและอัฟกานิสถาน นอกจากนี้มันยังถูกใช้โดยกองทัพเรือในการเข้าสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักและปฏิบัติการเอ็นดัวริ่งฟรีดอมทั่วดินแดน โดยมันถูกใช้ในบาห์เรน
ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 หน่วยเฮลิคอปเตอร์บรรทุกขนาดหนักที่รัฐแคลิฟอร์เนียได้รับซีเอช-53ดี ซีสตัลเลียนสองลำแรกจากฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธนเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นเฮลิคอปเตอร์ดับเพลิง การดัดแปลงนี้ทำให้มันถูกเรียกว่า"ไฟร์สตัลเลียน"[5]
ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 นาวิกโยธินได้ใช้งานเอ็มวี-22บี ออสเปรย์ 10 ลำ[6] วี-22 ออสเปรย์จะเข้ามาแทนที่ซีเอช-46อีและซีเอช-53ดี แต่จะไม่เข้ามาแทนที่ซีเอช-53อี ซีเอช-53เครุ่นใหม่ถูกวางแผนเข้าสนับสนุนซีเอช-53อีของนาวิกโยธินและกองทัพเรือในปีพ.ศ. 2558
อิสราเอล
[แก้]ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 กองทัพอากาศอิสราเอลได้ส่งคำขอไปยังโรงงานซิคอร์สกี้ในรัฐคอนเนคติกัต เพื่อเลือกเฮลิคอปเตอร์จู่โจม พสกเขาต้องการลำที่มีความสามารถด้านการบรรทุก คล่องตัว ซึ่งจะทนทานจากการถูกยิงโดยกระสุนคาลิเบอร์ได้ พวกเขาได้ลองทดสอบกับซีเอช-47 ของโบอิงและซีเอช-53 ของซิคอร์สกี้ อิสราเอลได้เรียนรู้มาจากสงครามหกวันว่าพวกเขาควรเลือกซิคอร์สกี้
ซีเอช-53 นั้นใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าเฮลิคอปเตอร์ลำอื่นๆ ของอิสราเอล และมันคือตัวแทนของเฮลิคอปเตอร์จู่โจมยุคใหม่ ด้วยความสามารถในการช่วยเหลือ บรรทุก และส่งทหาร
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ในสงครามถดถอย ซีเอช-53 สองลำแรกได้มาถึงที่สนามบินอาชดอด พวกมันถูกส่งเข้าปฏิบัติการในระยะสั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ฝูงบินซีเอช-53 ก็ถูกจัดขึ้น พวกมันทำหน้าที่เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนส่งหลักของอิสราเอล โดยบรทุกทหารและอุปกรณ์
ในปีพ.ศ. 2512 ซีเอช-53 ของอิสราเอลได้ลงจอดในอียิปต์และขนระบบเรดาร์ของโซเวียตกลับไปยังอิสราเอลเพื่อทำการตรวจสอบโดยนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของอิสราเอล[7] ในสงครามยอมคิปปาร์เมื่อปีพ.ศ. 2516 ซีเอช-53 ได้ทำการเคลื่อนย้ายปืนใหญ่ในแนวหน้า ทำการอพยพทหารที่บาดเจ็บ และช่วยเหลือนักบินจากหลังแนวข้าศึก ในการปะทะครั้งหนึ่งซีเอช-53 ได้รับความเสียหายจากปืนใหญ่อากาศของมิก-21 แต่ก็ยังสามารถบินกลับฐานได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 ซีเอช-53 ได้ถูกใช้โดยกองทัพบกอิสราเอลเพื่อส่งหน่วยคอมมานโดซายาเร็ทเข้าบุกส่วนลึกในเลบานอนและซีเรีย
ในทศวรรษที่ 2523 อุตสาหกรรมอากาศยานอิสราเอล พร้อมกับเทคโนโลยีทางทหารจากเอลบิทซิสเทมส์ ได้ทำการพัฒนากองบินซีเอช-53 โครงการสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2540 โดยได้ทำการยืดอายุการใช้งานออกไปยี่สิบปี
ในปีพ.ศ. 2532 ซีเอช-53 ถูกใช้เพื่อต่อสู้ไฟป่าในภูเขาคาร์เมล พวกมันได้ทำการบินหลายสิบครั้งเข้าไปท่ามกลางกลุ่มควันและเปลวไฟ เพื่อใช้น้ำ 700 ตันดับไฟ
เยอรมนี
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
กองทัพบกเยอรมนีได้รับซีเอช-53จี 110 ลำ ทุกลำถูกสร้างในเยอรมนียกเว้นสองลำแรก เยอรมนีใช้ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2514
เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ซีเอช-53จีได้รับการดัดแปลงเพื่อยืดอายุการใช้งานและความสามารถในการปฏิบัติการ มีการพัฒนาสามอย่างใหญ่ๆ คือ ระบบป้องกันและเตือนภัยขีปนาวุธแบบใหม่ ถังเชื้อเพลิงภายนอกที่เพิ่มระยะเป็น 1,800 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกทหาร 36 นายพร้อมอายุหรือสินค้า 5,500 กิโลกรัม และการเพิ่มกล้องมองกลางคืนในห้องนักบิน ซีเอช-53จีทั้งหมดถูกพัฒนาโดยยูโรคอปเตอร์ของเยอรมนีเมื่อต้นปีพ.ศ. 2544
หน่วยบินของเยอรมนีได้ทำภารกิจข้ามชาติภายใต้การดูแลของนาโต้และสหประชาชาติ ในคอซอวอ และบ่อยครั้งในอัฟกานิสถาน เนื่องมาจากความสามารถในการบรรทุกที่ต่ำของเอ็นเอช-90 จึงมีแผนการยืดอายุการใช้งานของซีเอช-53 เกิดขึ้น ทำให้มันมีประโยชน์มากไปจนถึงปีพ.ศ. 2573
รุ่นต่างๆ
[แก้]- วายซีเอช-53เอ
- เป็นรุ่นต้นแบบทั้งสองลำที่ใช้เครื่องยนต์ที64-จีอี-3 ที่ให้กำลัง 2,850 แรงม้า
- ซีเอช-53เอ
- เป็นรุ่นแรกในการผลิตให้กับนาวิกโยธินสหรัฐ สร้างออกมา 139 ลำ
- อาร์เอช-53เอ
- เป็นรุ่นเอที่ได้รับเครื่องยนต์ใหม่เป็นที64-จีอี-413 ให้กำลัง 3,925 แรงม้า มันถูกใช้ทำหน้าที่กวาดทุ่นระเบิดในกองทัพเรือสหรัฐ มี 15 ลำที่ถูกดัดแปลงเป็นรุ่นนี้
- ทีเอช-53เอ
- ซีเอช-53เอที่ถูกใช้สำหรับการฝึกโดยกองทัพอากาศสหรัฐ
- ซีเอช-53ดี
- เป็นรุ่นเอที่ได้รับการพัฒนาระบบส่งกำลัง มีห้องโดยสารที่จุทหารได้ 55 นาย และใบพัดที่สามารถพัดได้อัตโนมัติ มันถูกสร้างให้กับกองนาวิกโยธินสหรัฐ 126 ลำ
- อาร์เอช-53ดี
- เป็นรุ่นใช้ในการกวาดทุ่นระเบิดของกองทัพเรือสหรัฐ พัฒนามาจากรุ่นดี กองทัพเรือมี 30 ลำและกองบินทัพเรือจักรวรรดิอิหร่านมี 6 ลำ
- วีเอช-53ดี
- ซีเอช-53ดีสองลำที่ถูกดัดแปลงเพื่อใช้ในการขนส่งบุคคลสำคัญ
- ซีเอช-53ดี ยาสเออ
- เป็นรุ่นดีที่สร้างให้กับอิสราเอล ยาสเออ 2000 เป็นรุ่นที่พัฒนาเองโดยอุตสาหกรรมอากาศยานอิสราเอลเพื่อยืดอายุการใช้งานให้เลยปีพ.ศ. 2543 ยาสเออ 2025 เป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นไปอีก[8]
วีเอช-53เอฟ เป็นเฮลิคอปเตอร์บุคคลสำคัญ 6 ลำที่ยังไม่ถูกสร้างขึ้น มันเป็นของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐ
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- กองทัพอากาศออสเตรียได้สั่งซื้อสองลำเมื่อปีพ.ศ. 2511 โดยทำการส่งมอบในปีพ.ศ. 2513 พวกเขาขายมันให้กับอิสราเอลในปีพ.ศ. 2524 เพราะค่าบำรุงรักษาที่สูงเกิน
- กองทัพบกเยอรมนี 96 ลำในประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[9]
- กองทัพอากาศเม็กซิโกได้รับเอส-65ซี 2000 สี่ลำจากอิสราเอลในปีพ.ศ. 2548[10] และเข้าประจำการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[9]
- กองทัพเรืออิหร่านได้รับอาร์เอช-53ดี 6 ลำที่เป็นเฮลิคอปเตอร์กวาดทุ่นระเบิดซึ่งได้รับก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนกองทัพเรือของอิหร่าน[2] อิหร่านมีซีเอช-53 สามลำเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[9]
- กองทัพอากาศอิสราเอลมีซีเอช-53 33 ลำเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[9]
- กองนาวิกโยธินสหรัฐมีซีเอช-53ดีและอี 178 ลำเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[9]
อุบัติเหตุครั้งสำคัญ
[แก้]เนื่องมาจากขนาดที่ใหญ่และความจุทหารที่มากของมัน อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับซีเอช-53 จึงมักเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่งในบรรดาอุบัติเหตุทางเฮลิคอปเตอร์
- ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เฮลิคอปเตอร์ซีเอช-53 ของอิสราเอลตกลง มีผู้เสียชีวิต 54 ราย
- ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ซีเอช-53 สองลำชนกันในอิสราเอล มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 73 คน[11]
รายละเอียดของซีเอช-53ดี
[แก้]- ลูกเรือ นักบิน 2 นาย หัวหน้าลูกเรืออีก 1 หรือมากกว่านั้น
- ความจุ ทหาร 37 นาย (55 นายในแบบดัดแปลง) หรือเปลหาม 24 ปาก
- ความยาว 26.97 เมตร
- เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 22.01 เมตร
- ความสูง 7.6 เมตร
- น้ำหนักเปล่า 10,740 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมบรรทุก 15,227 กิโลกรัม
- น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 19,100 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ ที64-จีอี-413 สองเครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ 3,925 แรงม้า
- ความกว้างรวมปีกเสริม 8.64 เมตร
- ความกว้างของลำตัว 4.7 เมตร
- ระบบใบพัด ใบพัดหลัก 6 ใบ
- ความเร็วสูงสุด 315 กิโ,เมตรต่อชั่วโมง
- ความประหยัด 278 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- พิสัย 1,000 กิโลเมตร
- เพดานบินทำการ 5,106 เมตร
- อัตราการไต่ระดับ 12.5 เมตร
- อาวุธ
- ปืนกลเอ็กซ์เอ็ม218 .50 บีเอ็มจีสองกระบอกที่ประตู บางลำจะมีปืนกลจีเอยู-21 .50 หนึ่งกระบอกที่ส่วนประตูท้าย
- ซีเอช-53 ของเยรมนีสามารถติดตั้งปืนกลเอ็มจี3 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอกที่ประตูด้านข้าง ซึ้งเข้ามาแทนที่เอ็ม3เอ็ม .50 และจีเอยู-21
ดูเพิ่ม
[แก้]- การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- ซีเอช-54 ทาร์ฮี
- ซีคอร์สกี้ เอส-61อาร์
- เอชเอช-53 ซูเปอร์จอลลี่ไจแอนท์/เอ็มเอช-53 เพฟโลว์
- ซีเอช-53อี ซูเปอร์สตัลเลียน
- ซิคอร์สกี้ ซีเอช-53เค
- เฮลิคอปเตอร์ที่เทียบเท่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 S-65 Origins / US Marine CH-53A & CH-53D Sea Stallion, Vectorsite.net, 1 May 2006.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Frawley, Gerard: The International Directory of Military Aircraft, page 148. Aerospace Publications Pty Ltd, 2002. ISBN 1-875671-55-2.
- ↑ Donald, David, ed. "Sikorsky S-65". The Complete Encyclopedia of World Aircraft. Barnes & Noble Books, 1997. ISBN 0-7607-0592-5.
- ↑ 4.0 4.1 USAF HH-53B, HH-53C, & CH-53C, Vectorsite.net, 1 May 2006.
- ↑ Heavy Lift Helicopters acquires CH-53
- ↑ Montgomery, Dave (19 September 2007). "1st squadron of V-22s quietly deployed to Iraq". Naval Air Systems Command. United States Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ 2008-12-01.
- ↑ Operation “Rooster”— Israel Captures Egyptian Radar In War of Attrition. Jewish Virtual Library. Retrieved March 16, 2008.
- ↑ "Israel starts testing upgraded CH-53 assault helicopter". 5 January 2009.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.
- ↑ Aztec Rotors - Helicopters of Mexican Air Force, acig.org, 2005
- ↑ "Yas'ur 2000". Israeli.Weapons.com. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
- ↑ CH-53D Sea Stallion เก็บถาวร 2006-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Deagel.com, accessed 2007-03-10.
- ↑ CH-53A/D/E Sea Stallion and MH-53E Sea Dragon เก็บถาวร 1997-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy.
- ↑ CH-53D Fact File เก็บถาวร 2008-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 17 May 1999.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติของซีเอช-53เอ/ดี/อีและเอ็มเอช-53อีของสหรัฐ เก็บถาวร 1997-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนและแฟ้มซีเอช-53 ของสหรัฐ เก็บถาวร 2008-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แฟ้มข้อมูลของซีเอช-53ดี/อี เก็บถาวร 2006-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนและแฟ้มข้อมูลซีเอช/อาร์เอช-53ดีในเว็บนาวิกโยธินสหรัฐ เก็บถาวร 2007-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ซีเอช-53 ยาส 'เอ ในเว็บไซต์ของกองทัพอากาศอิสราเอล
- เอช-53 ใน GlobalSecurity.org
- ซีเอช-53 ซีสตัลเลียนใน GlobalAircraft.org