ข้ามไปเนื้อหา

ดอกแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอกแก้ว
กำกับครูเนรมิต
ผู้ช่วยผู้กำกับส.อาสนจินดา
เขียนบทส.อาสนจินดา
อำนวยการสร้างพะเยาว์ ภักดีวิจิตร
นักแสดงนำ
กำกับภาพวิจารณ์ ภักดีวิจิตร
เพลงประกอบดอกแก้ว – สุเทพ วงศ์กำแหง
บริษัทผู้สร้าง
พิษณุภาพยนตร์
ผู้จัดจำหน่ายกุหลาบทิพย์ภาพยนตร์
วันฉาย2 มีนาคม พ.ศ. 2505
โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์

ดอกแก้ว เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก ดราม่า ที่สร้างจากบทละครวิทยุของส. อาสนจินดา สร้างโดย พิษณุภาพยนตร์ เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ ปากคลองตลาด จากการกำกับของครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน แสดงเป็น ราชันย์, เพชรา เชาวราษฎร์ แสดงเป็น ดอกแก้ว และทักษิณ แจ่มผล แสดงเป็น ไม้[1] ปัจจุบันเหลือกากฟิล์มในสภาพไม่สมบูรณ์ความยาวประมาณ 13 นาที

จากนั้นจึงได้มีการนำนวนิยายเรื่องนี้มาสร้างใหม่อีก 3 ครั้งคือครั้งที่ 2 เมื่อปี 2523 ในรูปแบบภาพยนตร์ สร้างโดย บางกอกการภาพยนตร์ จากการกำกับของ เผด็จ ภักดีวิจิตร นำแสดงโดย วิฑูรย์ กรุณา แสดงเป็น ราชันย์, สุพรรษา เนื่องภิรมย์ แสดงเป็น ดอกแก้ว และสรพงศ์ ชาตรี แสดงเป็น ไม้[2]

ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2539 ในรูปแบบละครโทรทัศน์สร้างโดยดาราวิดีโอ ออกอากาศทางช่อง 7 จากการกำกับของมานพ สัมมาบัติ นำแสดงโดย บี๋–สวิช เพชรวิเศษศิริ แสดงเป็น ราชันย์, กบ–สุวนันท์ คงยิ่ง แสดงเป็น ดอกแก้ว และติ๊ก–ฉัตรมงคล บำเพ็ญ แสดงเป็น ไม้[3]

และครั้งที่ 4 เมื่อปี 2554 ในรูปแบบละครโทรทัศน์สร้างโดยพอดีคำ ออกอากาศทางช่อง 7 เช่นเดียวกัน จากการกำกับของสยาม น่วมเศรษฐี นำแสดงโดย วิน–ธาวิน เยาวพลกุล แสดงเป็น ราชันย์, ใหม่–ดาวิกา โฮร์เน่ แสดงเป็น ดอกแก้ว และซัน–พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ แสดงเป็น ไม้[4]

รายชื่อนักแสดง

[แก้]
ตัวละคร ภาพยนตร์ปี 2505 ภาพยนตร์ปี 2523 ละครโทรทัศน์ปี 2539 ละครโทรทัศน์ปี 2554
ราชันย์ ไชยา สุริยัน วิฑูรย์ กรุณา สวิช เพชรวิเศษศิริ ธาวิน เยาวพลกุล
ดอกแก้ว เพชรา เชาวราษฎร์ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ สุวนันท์ คงยิ่ง ดาวิกา โฮร์เน่
ไม้ ทักษิณ แจ่มผล สรพงศ์ ชาตรี ฉัตรมงคล บำเพ็ญ พิชยดนย์ พึ่งพันธ์
วันชัย อดุลย์ ดุลยรัตน์ สมภพ เบญจาธิกุล ศตวรรษ ดุลยวิจิตร นพพล พิทักษ์โล่พานิช
กิ่ง วิไลวรรณ วัฒนพานิช มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ เปรมสินี รัตนโสภา
เม่น เคราแดง เชาว์ แคล่วคล่อง มานพ อัศวเทพ เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ วินัย ไกรบุตร
เจ้าพระยาวงษานุวัติ สมควร กระจ่างศาสตร์ สมชาย สามิภักดิ์ พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ เคลลี่ ธนะพัฒน์
นางช้อย ศรินทิพย์ ศิริวรรณ เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ อัจฉรา ทองเทพ อุษณีย์ วัฒฐานะ
หลวงมนูกิจธรรม เมืองเริง ปัทมินทร์ สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ธานินทร์ ทัพมงคล สุรวุฑ ไหมกัน
ชไมพร สุนันท์ อมาตยกุล เพ็ญพร ไพฑูรย์ ศิขรินธาร พลายเถื่อน ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล
รุ่งลักษมี น้ำเงิน บุญหนัก พัชรินทร์ วัชโรบล สุวัจนี ไชยมุสิก มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์
พรานวาด อดินันท์ สิงห์หิรัญ ทองขาว ภัทรโชคชัย ธันญ์ ธนากร
หมื่นท้าวกำแหง วิชิต ไวงาน ปิยะ ตระกูลราษฎร์ ศตวรรษ ดุลยวิจิตร
ร้อยตำรวจโทกำแหง ชาลี อินทรวิจิตร ฉัตร มงคลชัย เอก โอรี จตุรวิทย์ คชน่วม

อ้างอิง

[แก้]