ดาดราและนครหเวลี
อำเภอดาดราและนครหเวลี | |
---|---|
พิกัด: 20°16′N 73°01′E / 20.27°N 73.02°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
ดินแดนสหภาพ | ดาดราและนครหเวลีและดามันและดีอู |
ที่ว่าการอำเภอ | สิลวัสสะ |
การปกครอง | |
• สมาชิกรัฐสภา | โมหันภาอี สัญชีภาอี เดการ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 491 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 32 |
ความสูง | 16 เมตร (52 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 343,709 คน |
• อันดับ | ที่ 33 |
• ความหนาแน่น | 700 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์) |
ภาษา[1] | |
• ทางการ | ภาษาฮินดี, ภาษาคุชราต |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
ทะเบียนพาหนะ | DD-01 |
HDI | 0.663 (2018)[2] |
HDI Category | medium |
เว็บไซต์ | dnh |
ดาดราและนครหเวลี (คุชราต: દાદરા અને નગર હવેલી, มราฐี: दादरा आणि नगर हवेली, ฮินดี: दादर और नगर हवेली) เป็นอดีตดินแดนสหภาพแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐอินเดีย ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของดินแดนสหภาพซึ่งรวมเข้ากับอีกดินแดนสหภาพหนึ่งในชื่อดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ซึ่งนครหเวลีถือเป็นดินแดนส่วนใหญ่ที่ถูกโอบล้อมโดยรัฐมหาราษฏระกับรัฐคุชราต ส่วนดาดราเป็นเขตขนาดเล็กที่อยู่ทางตอนเหนือของนครหเวลี เป็นดินแดนส่วนแยกถูกโอบล้อมโดยพื้นที่ของรัฐคุชราตทั้งหมด บางส่วนของพื้นที่ห่างจากเมืองดามันประมาณ 10-30 กิโลเมตร มีเมืองเอกคือ เมืองสิลวัสสะ[3]
ปัจจุบัน ดาดราและนครหเวลีได้ถูกควบรวมเข้ากับดินแดนสหภาพดามันและดีอู พร้อมกับจัดตั้งขึ้นเป็นดินแดนสหภาพใหม่ ชื่อว่า "ดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู"
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1783 ดาดราและนครหเวลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส เนื่องจากเป็นการชดเชยเรื่องที่ทหารของจักรวรรดิมราฐาทำให้เรือสำเภาของโปรตุเกสล่ม[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาในปี ค.ศ. 1785 ดาดราและนครหเวลีได้รับการปกครองโดยตรงจากรัฐบาลโปรตุเกสแห่งเมืองดามันจนถึงปี ค.ศ. 1954
หลังจากอินเดียได้ประกาสอิสรภาพในปี ค.ศ. 1947 ประชาชนในดาดราและนครหเวลีได้รวมตัวกัน ก่อให้เกิดองค์กรแนวร่วมแห่งกัว (UFG), องค์การปลดปล่อยแห่งชาติ (NMLO) และอาซาด โคมาตักซึ่งทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1954[4]
ดาดราและนครหเวลีเริ่มเป็นที่จับตามองขององค์กรทางกฎหมาย[ต้องการอ้างอิง] ประชาชนในอดีตอาณานิคมได้เรียกร้องให้อินเดียเข้าทำการช่วยเหลือเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ด้วยการช่วยเหลือของนาย เค.จี. พัทลานี เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการบริหารชาวอินเดียได้เซ็นสัญญาในเรื่องการบริหาร
ในช่วงปี ค.ศ. 1954-1961 ดินแดนดาดราและนครหเวลีได้รับการบริหารจากบุคคลที่เรียกว่า วริศตปัญจยัตแห่งดาดราและนครหเวลีอิสระ (Varishta Panchayat of Free Dadra and Nagar Haveli)[5][6]
ในปี ค.ศ. 1961 เมื่ออินเดียได้เข้ายึดครองกัว, ดามัน และดิอูได้เพียงหนึ่งวัน นายพัทลานีผู้ที่วางแผนในการเป็นรัฐมนตรีแห่งดาดราและนครหเวลีเพื่อเป็นผู้นำแห่งรัฐ ได้เห็นด้วยกับนายชวาหระลาล เนห์รูในการที่จะรวมดาดราและนครหเวลีเข้ากับสาธารณรัฐอินเดีย ท้ายที่สุดดาดราและนครหเวลีจึงเข้าร่วมเป็นดินแดนสหภาพของอินเดียมาจนถึงปัจจุบันนี้
ประชากร
[แก้]ดาดราและนครหเวลี มีประชากรรวมกันทั้งหมด 220,451 คน โดยภาษาหลักที่ประชาชนใช้เป็นภาษาหลักในปัจจุบันคือ ภาษามราฐี, ภาษาฮินดี และภาษาคุชราต[7] ประชากรมีทั้งที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมีศาสนสถานในศาสนาฮินดูอยู่ 64 แห่ง[8] ดาดราและนครหเวลีถือเป็นพื้นที่สำคัญของวัฒนธรรมวาร์ลีที่เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่างคุชราตกับมราฐี[9] นอกจากนี้ประชากรส่วนใหญ่ของเมืองสิลวัสสะยังได้รับมรดกทางวัฒนธรรมจากโปรตุเกสในเรื่องการนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[9] รวมไปถึงชื่อเมืองสิลวัสสะ ที่มาจากคำว่า ซิลวา ที่มาจากคำในภาษาโปรตุเกส[9] นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนมุสลิมตั้งอยู่ด้วย[9]
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของดาดราและนครหเวลีในปี ค.ศ. 2004 มีผลิตภัณฑ์มวลรวม 218 ล้านดอลลาร์ แต่อุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักกลับมีไม่มาก[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "52nd Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). 29 March 2016. p. 87. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (แก้ไขปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน, 2545. หน้า 37
- ↑ P S Lele, Dadra and Nagar Haveli: past and present, Published by Usha P. Lele, 1987,
- ↑ Constitution of India, 10th Amendment
- ↑ Umaji Keshao Meshram & Ors v. Radhikabhai w/o Anandrao Banapurkar AIR 1986 SC 1272: this judgment mentions the Administration of Dadra and Nagar Haveli in this period
- ↑ "Dadra Nagar Haveli tourism" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-06-16. สืบค้นเมื่อ 2010-12-03.
- ↑ Festivals in Dadra and Nagar Haveli[ลิงก์เสีย]
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Silvassa, Dadra and Nagar Haveli". Indianetzone.com. สืบค้นเมื่อ 2010-12-03.
- ↑ "Industries in Dadar and Nagar Haveli". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-12-03.