ข้ามไปเนื้อหา

ถนนวุฒากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนวุฒากาศตรงช่วงวัดนางนอง

ถนนวุฒากาศ [วุด-ทา-กาด][1] เป็นถนนในเขตธนบุรีและเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ถนนเชื่อมต่อถนนเทอดไทกับถนนจอมทอง มีเส้นทางถนนราชพฤกษ์ตัดผ่านถนนวุฒากาศทำให้สามารถใช้เส้นทางออกสู่ถนนเพชรเกษม เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตทางกว้าง 15–18 เมตร มีซอยแยกทั้งสองฝั่งถนนเป็นระยะ ประชากรอยู่หนาแน่นระยะทางในเขตจอมทองประมาณ 1,500 เมตร[2]

ชื่อของถนนตั้งชื่อตามหลวงเชิดวุฒากาศ (สุดใจ เชิดวุฒิ) หนึ่งในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 24 ยุคจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่เดิมย่านวุฒากาศ มีโรงเรียนหลวงเชิดวุฒากาศตั้งอยู่ที่ซอยวุฒากาศ 1 (หลวงเชิด) ซึ่งปัจจุบันปิดตัวลงไปแล้วและเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจนครบาลตลาดพลู[3] นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของสถานีวุฒากาศ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนต่อขยายแยกตากสิน-บางหว้า สถานีตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชพฤกษ์-วุฒากาศ ทำให้มีคอนโดมิเนียมเกิดใหม่ขึ้นมา[4]

ถนนวุฒากาศเป็นถนนที่วิ่งเกือบขนานไปกับเส้นทางคลองด่าน มีชุมชนโบราณตั้งอยู่ มีวัดโบราณได้แก่ วัดนางนองวรวิหาร วัดหนังราชวรวิหาร ชุมชนวัดนางนองเป็นชุมชนเก่าแก่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมครอบครัวศิลปินช่าง ศิลปะการแสดงวัฒนธรรมไทย–จีน ได้แก่ การละเล่นกระตั้วแทงเสือ การเชิดหัวสิงโต คณะวงปี่พาทย์กลองยาว เป็นต้น มีชุมชนหน้าแพซึ่งตั้งอยู่ริมคลองด่าน แต่เดิมเป็นชุมชนทางน้ำอาศัยอยู่บนแพ จนเมื่อมีการตัดถนนวุฒากาศก็ได้ย้ายขึ้นบก โดยมีบ้านหลวงเชิดวุฒากาศเป็นบ้านหลังแรก ปัจจุบันยังคงเป็นที่อยู่อาศัยเครือญาติของหลวงเชิดวุฒากาศ[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 60.
  2. "ข้อมูลประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดกิจกรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่เขตจอมทอง" (PDF). กรุงเทพมหานคร.
  3. "ประวัติความเป็นมาของสถานีตำรวจนครบาล". สถานีตำรวจนครบาลตลาดพลู. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-12. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
  4. "รีวิว 5 คอนโดฯ บนทำเลสุดฮอต "วุฒากาศ"". โพสต์ทูเดย์.
  5. สุวิวรรธ์น ลิมปชัย,ขจิตธรรม พาทยกุล, นัทชานาฏ มูลโพธิ์, ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ (เมษายน 2565). "กระบวนการสร้างสรรค์กิจกรรมในการจัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 'เทศกาล วู้ว! ฒากาศ' เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชนวัดนางนอง ถนนวุฒากาศ กรุงเทพมหานคร". วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (4).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)