ข้ามไปเนื้อหา

ทอมัส แอดดิสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอมัส แอดดิสัน
เกิดเดือนเมษายน ค.ศ. 1793
ลองเบนตัน, นอร์ทัมเบอร์แลนด์, อังกฤษ
เสียชีวิต29 มิถุนายน ค.ศ. 1860 (67 ปี)
ไบรตัน, อีสต์ซัสเซกซ์, อังกฤษ
อาชีพแพทย์
มีชื่อเสียงจาก

ทอมัส แอดดิสัน (อังกฤษ: Thomas Addison; เดือนเมษายน ค.ศ. 1793 – 29 มิถุนายน ค.ศ. 1860) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองลองเบนตันในมณฑลนอร์ทัมเบอร์แลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลไทน์แอนด์เวียร์) เป็นบุตรของโจเซฟและซาราห์ แอดดิสัน ในวัยเด็กแอดดิสันเรียนที่โรงเรียนของทอมัส รัตเตอร์[1] และโรงเรียนรอยัลแกรมมาร์ในเมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ บิดาของเขาต้องการให้เขาเป็นทนายความ แต่แอดดิสันเลือกเรียนที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระและได้รับปริญญาเอกด้านการแพทย์ในปี ค.ศ. 1815[2]

แอดดิสันย้ายมาที่ลอนดอนเพื่อเป็นแพทย์ประจำบ้านในโรงพยาบาลลอนดอนล็อกและเรียนกับทอมัส เบตแมน แพทย์ผู้บุกเบิกด้านตัจวิทยา (การศึกษาด้านผิวหนัง) ในปี ค.ศ. 1817 เขาทำงานที่โรงพยาบาลกายส์ แอดดิสันเป็นผู้ช่วยแพทย์ในปี ค.ศ. 1824 ต่อมาในปี ค.ศ. 1837 เขาดำรงตำแหน่งแพทย์และอาจารย์ โดยดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี ค.ศ. 1855[3]

ด้านชีวิตส่วนตัว แอดดิสันแต่งงานกับแคทเทอรีน ฮอกซ์เวลล์ในปี ค.ศ. 1847 แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน[4] ในช่วงท้ายของชีวิต แอดดิสันมีปัญหาด้านสุขภาพและป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เขาฆ่าตัวตายในปี ค.ศ. 1860[5]

แอดดิสันมีผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การค้นพบโรคแอดดิสัน (Addison's disease) ในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งเป็นความผิดปกติของต่อมหมวกไตที่ผลิตฮอร์โมนสเตอรอยด์ไม่เพียงพอ[6][7] และการอธิบายภาวะเลือดจางแอดดิสัน (Addison's anemia) ในปี ค.ศ. 1849 หรือต่อมารู้จักในชื่อภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency anemia)[8][9] ซึ่งเป็นโรคที่เซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอจากการขาดวิตามินบี12[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. O'Leary MD, Margaret R. "Dr. Thomas Addison 1795-1860". Google Books. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  2. "Thomas Addison". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  3. "Thomas Addison". Britannica. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  4. Pearce, J. M. S. "Thomas Addison (1793-1860)". The National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  5. Cirillo, Vincent J. (April 1, 1985). "The Suicide of Thomas Addison". Oxford Academic - Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  6. "Addison's disease - Overview". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ July 22, 2017.
  7. โรคแอดดิสัน (Addison's disease) - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  8. Wailoo, Keith (1999). "The Corporate "Conquest" of Pernicious Anemia". Drawing blood technology and disease identity in twentieth-century America (Johns Hopkins Paperbacks ed.). Baltimore, Md.: Johns Hopkins University Press. p. Chapter 4. ISBN 9780801870293.
  9. Dictionary of Medicine. Routledge. 2014. p. 404. ISBN 9781135928414.
  10. "What Is Pernicious Anemia?". NHLBI. April 1, 2011. สืบค้นเมื่อ 14 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]