ธนาคารทิสโก้
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
เลขทะเบียน | 0107551000223 |
---|---|
ประเภท | บริษัทมหาชน SET:TISCO |
อุตสาหกรรม | บริการด้านการเงิน |
รูปแบบ | ธนาคารพาณิชย์ |
ก่อตั้ง | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี) |
สำนักงานใหญ่ | 48/2 อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | ปลิว มังกรกนก(ประธานคณะกรรมการ) ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) เมธา ปิงสุทธิวงศ์(กรรมการผู้จัดการใหญ่) |
เว็บไซต์ | www.tisco.co.th |
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TISCO Bank Public Company Limited) SET:TISCO เป็นธนาคารในประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยในขณะนั้นใช้ชื่อว่า บริษัท ค้าหลักทรัพย์และลงทุน จำกัด และ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ต่อมาได้แปรสภาพเป็นบริษัทเงินทุน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 จึงแปรสภาพอีกครั้งเป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และยังเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อีกด้วย ปัจจุบัน (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) นายปลิว มังกรกนก เป็น ประธานคณะกรรมการ นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นาย เมธา ปิงสุทธิวงศ์ เป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่
ประวัติ
[แก้]ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TISCO Bank Public Company Limited) SET:TISCO เป็นธนาคารในประเทศไทย ที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ยกระดับจาก "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด" เป็น "ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)" เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2548 โดยมีโครงสร้างและการดำเนินกลยุทธ์การแข่งขันที่แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป มุ่งเน้นการบริการทางการเงินอย่างผู้เชี่ยวชาญ มีการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างคล่องตัวเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ด้านการให้บริการ มีธุรกิจการให้กู้ยืมเงิน อาทิ สินเชื่อโครงการ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเชื่อเช่าซื้อ บริการรับฝากเงิน ธนบดีธุรกิจ ตลอดจนบริการการวิจัยเพื่อการค้าและโครงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นธุรกิจหลักที่ดำเนินการอยู่ภายใต้การกำหนดนโยบายธุรกิจและกำกับดุแลกิจการของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นบริษัทแม่
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารทิสโก้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงการพัฒนาภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับจุดยืน "สร้างโอกาสให้ชีวิต" ที่มุ่งสร้างโอกาสให้แก่ลูกค้าและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเพิ่มสัญลักษณ์รูป "วงแหวนแห่งโอกาส" ที่สื่อถึงคำว่าโอกาส (opportunity) บนตัวอักษร TISCO ซึ่งให้ความหมายเชิงบวกและเข้าใจง่าย โดยในปัจจุบันธนาคารทิสโก้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจวาณิชธนกิจ ธุรกิจจัดการกองทุน ธุรกิจธนบดี และธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนมีบทบาทโดดเด่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการเงิน โดยยึดหลักการกำกับดูและกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจและบริการ
[แก้]ธนาคารทิสโก้มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด ขยายช่องทางในการเข้าถึงบริการ รวมทั้งการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างต่อเนี่อง เพื่อตอบสนองความต้องการและเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ตอบสนองต่อครรลองชีวิต (lifestyle) ที่แตกต่างกัน และความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบการรวมศูนย์ที่ลูกค้า (client centric) ทิสโก้ได้ปรับโครงสร้างทางธุรกิจและจัดแบ่งธุรกิจเพื่อให้บริการลูกค้า แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. กลุ่มลูกค้ารายย่อย จะให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้ารายย่อย มุ่งเน้นบริการสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ดำเนินการโดย ธนาคารทิสโก้, บริษัทไฮเวย์ และบริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลีสซิ่ง บริการสินเชื่อหลักในพอร์ตสินเชื่อของทิสโก้ประกอบด้วย สินเชื่อเช่าซื้อ ทั้งรถยนต์ใหม่ รถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มีผลิตภัณฑ์เด่น คือ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ในชื่อ "ทิสโก้ ออโต้ แคช" ซึ่งมีจุดเด่น คือ สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน โดยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันผ่านสาขาทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ "สมหวัง" สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น ทิสโก้ได้ให้บริการสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สินเชื่อธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง สินเชื่อโครงการ และสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากการรับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ทิสโก้ได้ให้บริการทางด้านการเงินเพิ่มเติม ได้แก่ บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อธุรกิจรายย่อยซึ่งดำเนินการโดยธนาคารทิสโก้ และบริการบัตรเครดิตซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ออล-เวย์ส จำกัด
2. กลุ่มลูกค้าบรรษัท ให้บริการสินเชื่อที่หลากหลายรวมทั้งบริการให้คำปรึกษาทางการเงิน แก่กลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทหรือองค์กรตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ อาทิ สินเชื่อโครงการ สินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ และบริการที่ปรึกษาทางการเงินการลงทุน
3. กลุ่มลูกค้าธนบดีและจัดการกองทุน เป็นการบริการกลุ่มลูกค้าระดับสูง โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนระดับแนวหน้า ที่ตอบโจทย์การบริหารความมั่งคั่งทั้งในแง่การออมและการลงทุนอย่างครบวงจร ภายใต้บริการ "ทิสโก้ เวลธ์" ซึ่งทิสโก้ได้นำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบการให้บริการที่เรียกว่า "Open Architecture" ที่ให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์กองทุน-ประกันจากหลากหลายค่ายให้แก่ลูกค้าในจุดเดียวอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์เงินฝาก และหลักทรัพย์ ด้วยคุณภาพการบริการที่มีประสิทธิภาพ และความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาทางการเงินที่โดดเด่นอันเป็นจุดแข็งของทิสโก้ จะสามารถมอบบริการระดับดีเยี่ยมและรักษาผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับลูกค้า ผ่านบุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่จะเป็น "ผู้ให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนระดับแนวหน้า" อย่างครบวงจร
พัฒนาการสำคัญ
[แก้]- พ.ศ. 2512 - ก่อตั้งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา (Bankers Trust New York) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่, ริเริ่มบริการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นครั้งแรกในไทย, ริเริ่มพัฒนาตลาดเงิน ออกตราสาร TISCO Certificate รับฝากเงินระยะสั้นจากประชาชน
- พ.ศ. 2513 - ริเริ่มการคำนวณดัชนีราคาหุ้นทิสโก้ (TISCO Price Index) ดัชนีราคาหุ้นตัวแรกของประเทศไทย, ริเริ่มจัดทำรายงานข้อมูลหลักทรัพย์ (Stock Report) ริเริ่มสะสมงานศิลปะร่วมสมัย (TISCO Art Collection) ชิ้นแรก
- พ.ศ. 2514 - จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Reporting)
- พ.ศ. 2515 - ริเริ่มหน่วยงานวิจัยธุรกิจโครงการพาณิชย์และอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนแก่ภาคธุรกิจต่างๆ.
- พ.ศ. 2516 - ริเริ่มให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์แก่ลูกค้ารายย่อยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2518 - ก่อตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ ไทยค้า จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจด้านหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด" / เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2520 - ริเริ่มให้บริการสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่โดยมีสถาบันการเงินหลายแห่งเป็นผู้ให้กู้ร่วม (Syndicate Loan)
- พ.ศ. 2521 - ก่อตั้ง บริษัท ไฮเวย์เครดิต เพื่อประกอบธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
- พ.ศ. 2524 - จัดนิทรรศการ TISCO Contemporary Art แสดงผลงานศิลปินไทยจำนวนมากที่สุดถึง 50 คน
- พ.ศ. 2525 - ก่อตั้ง "มูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศล เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่สังคมอย่างเต็มเวลา
- พ.ศ. 2526 - จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อ "TISCO"
- พ.ศ. 2531 - จัดทำหนังสือ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" ในโอกาสพิธี รัชมังคลาภิเษกและพระชนมายุ 60 พรรษา
- พ.ศ.2532 - จัดทำหนังสือ "วัฎจักรการเงิน" ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการดำเนินธุรกิจ
- พ.ศ. 2535 - ก่อตั้ง "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริหารทุนไทย จำกัด" เพื่อประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด/ ลงนามถ้อยแถลงเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมกับสถาบันการเงินกว่า 30 ประเทศ และริเริ่มกิจกรรมปลูกป่าถาวร
- พ.ศ. 2536 - แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป มีชื่อเต็มว่า "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)"
- พ.ศ. 2539 - เป็นที่ปรึกษาในการระดมทุนด้วยวิธีแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (Secuntisation) สำเร็จเป็นดีลแรกในเอเชีย /รับรางวัล Investment Bank of the Year ปีแรก จากนิตยสาร Asiamoney
- พ.ศ. 2540 - ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่มายังอาคารทิสโก้ทาวเวอร์ ถนนสาทรเหนือ
- พ.ศ. 2543 - ริเริ่มบริการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอินเตอร์เน็ตภายใต้ชื่อ TISCOeTrade / เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่เริ่มกลับมามีกำไร รอดพ้นจากช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ขณะนั้นมีธนาคารและสถาบันการเงินรวม 76 แห่ง ปิดกิจการ
- พ.ศ. 2544 - ริเริ่มบริการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) / รับรางวัลด้านบรรษัทภิบาลเป็นปีแรก
- พ.ศ. 2547 - เป็นบริษัทเงินทุนแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตให้ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบจากกระทรวงการคลัง ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2547
- พ.ศ. 2548 - เริ่มประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ภายใต้ชื่อ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2551 - ปรับโครงสร้างการถือหุ้นเป็นรูปแบบบริษัทโฮลดิ้งเป็นแห่งแรก โดยมี บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ ถือหุ้นโดยตรงในบริษัทย่อยในกลุ่มทั้งหมด / ร่วมทุนกับผู้ถือหุ้นญี่ปุ่น ก่อตั้ง บริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลีสซิ่ง จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งแก่กลุ่มลูกค้านิติบุคคลญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
- พ.ศ. 2552 - เข้าซื้อกิจการบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในเครือฟอร์ด มาสด้า และวอลโว่ ซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 7,000 ล้านบาท / ซื้อสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ ออโต้คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด (จีเอ็มเอซี) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในกลุ่มเจนเนอรัล มอเตอร์ส มูลค่ารวมประมาณ 1,750 ล้านบาท
- พ.ศ. 2553 - ขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ภายใต้ บริษัท ทิสโก้ ลีสซิ่ง จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อรถใช้แล้ว และ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ แก่ลูกค้าในเขตปริมณฑล และภูมิภาค /ก่อตั้ง บริษัท ศูนย์การเรียนรู้ทิสโก้ จำกัด เพื่อดำเนินการด้านการพัฒนาความสามารถและทักษะของบุคลากรในกลุ่มทิสโก้โดยเฉพาะ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร
- พ.ศ. 2554 - เปิดบริการ TISCO Wealth ให้คำปรึกษาการลงทุนแบบบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวแก่ลูกค้าที่มีพอร์ตลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไป / ก่อตั้งศูนย์วิเคราะห์เศษฐกิจและกลยุทธ์ (TISCO ESU) เพื่อให้บริการงานวิจัยและที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจในทุกมิติแก่ลูกค้า
- พ.ศ. 2555 - ขยายช่องทางบริการ ผ่านสาขาธนาคารทิสโก้ และขยายธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ ภายใต้ชื่อ "สมหวัง เงินสั่งได้" ดำเนินงานโดยบริษัทไฮเวย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย / ร่วมกับ กลุ่มธนาคารดอยซ์แบงก์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ดอยซ์ ทิสโก้ เพื่อให้บริการด้านงานวิจัยและที่ปรึกษาลงทุนให้แก่ลูกค้าสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
- พ.ศ. 2556 - ปรับแผนบริหารเงินทุนรับธุรกิจเติบโต โดยเสนอผู้ถือหุ้นจ่ายปันผลและออกใบแสดงสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (transferable subscription right) พัฒนาการสื่อสารแบรนด์ ปรับตราสัญลักษณ์ เพิ่มสัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงิน สื่อถึงการสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง / ขยายบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วย โครงการให้ความรู้ทางการเงิน แก่เยาวชน ชุมชน และสาธารณชน (Social Financial Literacy) , ก่อตั้ง บริษัท ทิสโก้ อินชัวรันส์ โซลูชั่น จำกัด เพื่อขยายธุรกิจนายหน้าประกันภัย
- พ.ศ. 2557 - เปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ TISCO Global Trade เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลก
- พ.ศ. 2558 - บริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลีสซิ่ง จำกัด ได้เข้าถือหุ้น 51% ในบริษัท บริษัท เอชทีซี ลีสซิ่ง จำกัด โดยบริษัทดังกล่าวได้ ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ สำหรับเครื่องจักรก่อสร้างเฉพาะยี่ห้อฮิตาชิ และเข้าเป็นบริษัทร่วมในกลุ่มธุรกิจการเงิน
- พ.ศ. 2559 - ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ออล-เวย์ส จำกัด บริษัทย่อยในกลุ่มทิสโก้ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายธุรกิจ ลูกค้ารายย่อยของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) และได้รับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยซึ่งครอบคลุมถึง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจรายย่อย บริการธนบดีธนกิจ (Wealth Management) บริการนายหน้า ประกันภัย (Bancassurance) เงินฝากรายย่อย รวมทั้ง สาขาธนาคารจำนวน 4 สาขา / กลุ่มทิสโก้ได้รับรางวัล "เกียรติบัตรด้านความยั่งยืน 2559" จากสถาบันไทยพัฒน์
- พ.ศ. 2560 - เปิดตัวบริการ "Open Architecture" บริการซื้อขายกองทุน-ประกัน จากหลากหลายค่ายเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพให้แก่ลูกค้าในจุดเดียวอย่างครบวงจร
- พ.ศ. 2561 - บรรลุข้อตกลงการโอนธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและธุรกิจบัตรเครดิต ที่รับโอนมาจากธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้แก่ ธนาคารซิตี้แบงก์ อเมริกาเหนือ (ประเทศไทย) (เอ็น.เอ.) สาขากรุงเทพฯ (ซิตี้แบงก์) / เปิดตัวแอปพลิเคชัน TISCO Guru Plus
- พ.ศ. 2562 - กลุ่มทิสโก้จัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี อาทิ โครงการ “Friends for Life” เชิญชวนเพื่อนองค์กรพันธมิตร ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีจิตศรัทธา สมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐฯ จำนวน 5 แห่ง โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นจำนวน 118,999,950 ล้านบาท, จัดนิทรรศการศิลปกรรม “Opportunity Inspired” โดย 12 ศิลปินชั้นนำของไทย เพื่อถ่ายทอดความหมายของคำว่า “โอกาส” และ กิจกรรม “ออมไอดอล” ประกวดผลงานส่งต่อความรู้ทางการเงินสู่ชุมชนจากกิจกรรม “ค่ายการเงิน” / บล.ทิสโก้ได้ยุติความร่วมมือในบริษัทร่วมทุน “บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุนดอยซ์ ทิสโก้ จำกัด”
- พ.ศ. 2563 - บล.ทิสโก้ ประกาศความร่วมมือ (Co-Brand Alliance) กับ Jefferies Hong Kong Limited เพื่อให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนแก่นักลงทุนสถาบันของ Jefferies ทั่วโลกที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
- พ.ศ. 2564 - จัดตั้งโครงการพิเศษ "คืนรถจบหนี้" เร่งช่วยเหลือลูกหนี้เช่าซื้อ-จำนำทะเบียนรถยนต์ของทิสโก้ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด 19 / อัพเกรดแอปพลิเคชัน TISCO Mobile Banking สู่บริการ TISCO My Wealth / กลุ่มทิสโก้ และ บริษัท ไฮเวย์ จำกัด คว้ารางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่น
- พ.ศ. 2565 - จัดโครงการ "40 ปีแห่งการให้ #ให้ทุกที่คือห้องเรียน" เชิญชวนพันธมิตร ลูกค้า คู่ค้า และประชาชนทั่วไป ระดมทุนทรัพย์จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ส่งมอบให้กับเยาวชนไทยที่ขาดแคลนจำนวน 4,040 คนทั่วประเทศ, ริเริ่ม "ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส" มุ่งแก้ปัญหาการเงินในชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการปั้นนักวางแผนการเงินรุ่นใหม่ พร้อมมอบโอกาสร่วมงานกับสมหวัง เงินสั่งได้, ส่งมอบห้องอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน “ทิสโก้ร่วมใจ 9” มาตรฐาน Emergency Care System ขนาด 1,012 ตารางเมตร แก่โรงพยาบาลบางใหญ่ จ.นนทบุรี, รับรางวัล "แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในหมวดธุรกิจธนาคาร" ต่อเนื่องปีที่ 2
- พ.ศ. 2566 - รับรางวัล “บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี ประเภทกลุ่มธุรกิจการเงิน” (Best Public Company - Financials Industry) ครั้งที่ 3 ในงาน Money & Banking Awards 2023 / สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กไทยในโครงการทิสโก้ร่วมใจ 12 ด้วยการส่งมอบอาคารเรียน - โรงอาหาร -ห้องคอมพิวเตอร์ - คอมพิวเตอร์ 40 เครื่อง พร้อมครุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ให้แก่ รร.บ้านคลองสิบสาม จ.สระแก้ว