ธีรัจชัย พันธุมาศ
ธีรัจชัย พันธุมาศ | |
---|---|
ธีรัจชัย ใน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 18 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 182 วัน) | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
เขตเลือกตั้ง | เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงลำต้อยติ่ง, แขวงลำผักชี, และแขวงโคกแฝด), เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว), และเขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) |
คะแนนเสียง | 36,884 |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507 กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2545–2549) มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551) รักษ์สันติ (2554–2561) อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567-ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | ทนายความ นักการเมือง |
ธีรัจชัย พันธุมาศ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 18 สังกัดประชาชน และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง
ประวัติ
[แก้]ธีรัจชัยเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ในกรุงเทพมหานคร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา จากนั้นได้ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต (NIDA)[1]
งานการเมือง
[แก้]ธีรัจชัยเริ่มทำงานด้วยการเป็นทนายความตั้งแต่ พ.ศ. 2534[1] จากนั้นเข้าสู่การเมืองด้วยการทำงานในฝ่ายกฎหมายของพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2545[2] และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงปี พ.ศ. 2546 จึงย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2548[1][3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ธีรัจชัยลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่ง สส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 ลำดับที่ 4 สังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ธีรัจชัยลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัด พรรครักษ์สันติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2561 ธีรัจชัยได้เข้าร่วมพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 47 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก[5] เขามีผลงานโดดเด่นในการอภิปรายคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563[6] ภายหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาขยับไปลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานคร เขต 18 และได้รับเลือกตั้ง[7]
ภายหลังพรรคก้าวไกลถูกยุบเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เขา ได้ย้ายสังกัดไปพรรคประชาชนเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ใน ปีเดียวกัน[8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ธีรัจชัยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ธีรัจชัย พันธุมาศ. (2551). ภาวะผู้นำของโจโฉในวรรณกรรมสามก๊ก. [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า ได้จาก: https://www.kpi-lib.com/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mmvw&db=Main&skin=S&mmid=5186&bid=12876
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2023-05-30). "เปิดประวัติ "ธีรัจชัย พันธุมาศ" ตัวเต็งประธานสภาฯ". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "ธีรัจชัยพันธุมาศ". election66.moveforwardparty.org.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ "ธีรัจชัย ยันติดคุกออสเตรเลีย 4 ปีขาดคุณสมบัติเป็น รมต. – ธรรมนัส โต้แปลคำพิพากษามั่ว". workpointTODAY.
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง สส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566". ectreport66.ect.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ "บ้านใหม่ก้าวไกล ยักไหล่-ไปต่อ "พรรคประชาชน"". Thai PBS.
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๖๒. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2563