นวกรรม
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
นวกรรม แปลว่า การทำให้ใหม่ คือการก่อสร้าง โดยปกติเป็นงานของชาวบ้าน พระสงฆ์มีหน้าที่อำนวยการหรือควบคุมดูแลให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังเช่นพระมหาโมคคัลคานะได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างบุพพารามของนางวิสาขา เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่นี้ว่า นวกัมมัฏฐายี (ผู้อำนวยการก่อสร้าง) บ้าง นวกัมมิกะ (ผู้ดูแลนวกรรม) บ้าง นวการ (ผู้ก่อสร้าง) บ้าง
ในทางพุทธศาสนา นวกรรม หมายถึงงานสาธารณูปการ คืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การบูรณะปฏิสังขร การดูแลจัดการวัดเรื่องเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด รวมถึงการทำให้วัดสะอาดร่มรื่นเป็นต้น เรียกรวมว่า งานนวกรรม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การใช้คำ "นวกรรม" ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ - พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗
- พระศรีธรรมาภรณ์, "นวกรรมใครว่าไม่สำคัญ" พระต้องรู้สาธารณูปการด้วยหรือ?[ลิงก์เสีย]
- การพัฒนาวิชาชีพนวกรรม
อ้างอิง
[แก้]พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548