นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์
นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ | |
---|---|
นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ | |
เกิด | คริสต์ศตวรรษที่ 14 ในประเทศเยอรมนี |
นิกาย | นิกายโรมันคาทอลิก |
วันฉลอง | 8 สิงหาคม |
องค์อุปถัมภ์ | โรคระบาด |
นักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ (ภาษาอังกฤษ: Fourteen Holy Helpers; ภาษาเยอรมัน: Vierzehn Nothelfer) เป็นกลุ่มนักบุญทางคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกผู้เชื่อกันว่ามีอำนาจในการป้องกันภัยพิบัติโดยเฉพาะโรคร้าย กลุ่ม “Nothelfer” หรือ “ผู้ช่วยยามยาก” ก่อตั้งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในบริเวณไรน์แลนด์ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุมาจากโรคระบาดซึ่งอาจจะเป็นกาฬโรคก็เป็นได้
ในจำนวนนักบุญ 14 องค์ 3 องค์เป็นพรหมจารี: นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก, นักบุญบาร์บารา และ นักบุญแคทเธอรีนแห่งอเล็กซานเดรีย จากนักบุญ 3 องค์ก็เพิ่มเป็น 14 ที่จะเห็นในงานศิลปะ ลัทธินิยมนี้เริ่มในสำนักสงฆ์ที่เป็นที่เก็บพระธาตุของนักบุญ นักบุญทุกคนในกลุ่มยกเว้นนักบุญไจลส์ล้วนแต่เป็นมรณสักขีหรือผู้พลีชีพเพื่อศาสนา[1]
นักบุญคริสโตเฟอร์ และ นักบุญไจลส์เป็นนักบุญเพื่อป้องกันเชื้อโรคโดยตรง นักบุญเด็นนิสเป็นนักบุญเพื่อผ่อนคลายการปวดหัว, นักบุญเบลสเป็นนักบุญสำหรับเมื่อเจ็บคอ, นักบุญอิราสมัสแห่งฟอร์เมียเป็นนักบุญสำหรับเวลาเจ็บท้อง, นักบุญบาร์บาราเมื่อเป็นไข้, นักบุญไวทัสเมื่อชัก, นักบุญแพนทาลิออนเป็นผู้พิทักษ์แพทย์, นักบุญไซริอาคัสเมื่อนอนเจ็บ, นักบุญคริสโตเฟอร์, บาร์บารา และ แคทเธอรีนป้องกันการตายโดยไม่รู้ตัว นักบุญไจลส์ไว้สวดเพื่อสารภาพบาป นักบุญยูสตัสเป็นผู้พิทักษ์เมื่อมีปัญหาในครอบครัว สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ติดโรคก็ต้องสวดมนต์ต่อนักบุญจอร์จ, นักบุญเอลโม และนักบุญแพนทาลิออน นักบุญมาร์กาเร็ตป้องกันหญิงมีครรภ์
เมื่อลัทธินิยมนักบุญสิบสี่องค์เป็นที่แพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ก็ให้พระคุณการุณย์ (indulgence) ให้แก้ผู้สักการะในลัทธิ แม้ว่านักบุญแต่ละองค์จะมีวันสมโภชของตนเองแต่การฉลองสำหรับ 14 องค์รวมกันทำกันในวันที่ 8 สิงหาคม แต่มิได้อยู่ในปฏิทินฉลองทางการของนิกายโรมันคาทอลิก[2] เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินเมื่อปี ค.ศ. 1969 วันฉลองของนักบุญบาร์บารา, นักบุญคริสโตเฟอร์, นักบุญมาร์กาเร็ต, นักบุญแคทเธอรีน ก็ถูกยกเลิกไปแต่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 นำนักบุญแคทเธอรีนกลับมาฉลองอีก เมื่อปี ค.ศ. 2004
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miller, Jennifer G. (2006-08-08). "The Fourteen Holy Helpers". สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
- ↑ See Roman Missal: original edition of Pope Pius V (reproduced in Missale Romanum - Editio Princeps, Libreria Editrice Vaticana, 1998, ISBN 88-209-2547-8); 1634 typical edition; 1884 typical edition; 1920 typical edition; เก็บถาวร 2020-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน1962 typical edition
ดูเพิ่ม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นักบุญนักบุญผู้ช่วยผู้ศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์