ข้ามไปเนื้อหา

นัมแดมุน

พิกัด: 37°33′36″N 126°58′31″E / 37.56000°N 126.97528°E / 37.56000; 126.97528
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

37°33′36″N 126°58′31″E / 37.56000°N 126.97528°E / 37.56000; 126.97528

นัมแดมุน
นัมแดมุนใน ค.ศ. 2013
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
เมืองเขตชุง โซล
ประเทศเกาหลีใต้
พิกัด37°33′36″N 126°58′31″E / 37.56000°N 126.97528°E / 37.56000; 126.97528
เปิดใช้งานค.ศ. 1398
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
남대문
ฮันจา
อาร์อาร์Namdaemun
เอ็มอาร์Namdaemun
ชื่อทางการ
ฮันกึล
숭례문
ฮันจา
อาร์อาร์Sungnyemun
เอ็มอาร์Sungnyemun

นัมแดมุน (เกาหลี남대문; แปล ประตูใหญ่ทางทิศใต้) มีชื่อทางการว่า ซุงนเยมุน (숭례문; แปล ประตูแห่งความเคารพอันเหมาะสม)[1] เป็นประตูหนึ่งจากแปดประตูในกำแพงเมืองโซล ประเทศเกาหลีใต้ ประตูดังกล่าวเป็นเขตแดนทางใต้ดั้งเดิมของตัวนครในสมัยราชวงศ์โชซ็อน แม้ว่าตัวนครเติบโตไกลกว่าขอบเขตนี้ ตั้งอยู่ในเขตชุงระหว่างสถานีรถไฟโซลกับโซลพลาซา โดยมีตลาดนัมแดมุนตั้งอยู่ถัดจากประตู

ประตูนี้เป็นประตูแบบเจดีย์ที่มีอายุถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้รับการบรรจุเป็นสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้แห่งแรก[2] ครั้งหนึ่งเคยเป็นหนึ่งในสามประตูหลักที่ผ่านกำแพงเมืองโซล ซึ่งมีหินตั้งเป็นวงยาว 18.2 กิโลเมตร (11.3 ไมล์) และสูงถึง 6.1 เมตร (20 ฟุต) สร้างขึ้นครั้งแรกในปีสุดท้ายของรัชสมัยพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อนเมื่อ ค.ศ. 1398 แล้วสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1447

ใน ค.ศ. 2008 เจดีย์ไม้บนประตูถูกลอบวางเพลิงจนเสียหายอย่างหนัก งานบูรณะประตูเริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 และแล้วเสร็จในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2013 ประตูนี้เปิดให้เข้าชมอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2013

ชื่อ

[แก้]

รัฐบาลเกาหลีใต้เรียกแลนด์มาร์กนี้อย่างเป็นทางการว่า ซุงนเยมุน ตามอักษรฮันจาบนโครงสร้างไม้[3] แม้ว่าโดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ นัมแดมุน ตั้งแต่สมัยโชซ็อนก็ตาม

ประวัติ

[แก้]

ก่อนไฟไหม้ ค.ศ. 2008

[แก้]

ก่อนเหตุเพลิงไหม้ใน ค.ศ. 2008 นัมแดมุนเป็นโครงสร้างไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโซล[4] ประตูเมืองที่สร้างจากไม้และหินที่มีหลังคาทรงเจดีย์สองชั้นสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1398 และในตอนแรกใช้ในการต้อนรับคณะทูตต่างชาติ ควบคุมการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง และกันเสือโคร่งไซบีเรียที่สูญพันธ์จากบริเวณไปนานแล้ว การก่อสร้างเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1395 ในปีที่ 4 ของรัชสมัยพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อนและแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1398 โครงสร้างนี้ได้รับการสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1447 ในปีที่ 29 ของพระเจ้าเซจงมหาราช[5] และนับแต่นั้นมาก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง[4] เดิมเป็นหนึ่งในสามประตูหลักขิงเมือง ส่วนอีกสองประตูคือดงแดมุน (ประตูตะวันออก) กับซอแดมุน (ประตูตะวันตก) ที่ปัจจุบันถูกรื้อแล้วในเขตซอแดมุน[6]

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการรื้อกำแพงล้อบรอบกรุงโซลเพื่อให้ระบบการจราจรมีประสิทธิภาพมากขึ้น[7] มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นผู้พระราชดำเนินเยือนกรุงโซล ทรงกระตุ้นให้เกิดการรื้อถอนกำแพงรอบ ๆ นัมแดมุน เนื่องจากเจ้าชายมีความสูงส่งเกินกว่าจะลอดผ่านประตูได้[8] ประตูนี้ปิดไม่ให้เข้าชมใน ค.ศ. 1907 หลังทางการได้สร้างทางรถรางเชื่อมไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง จากนั้นใน ค.ศ. 1938 นัมแดมุนได้รับการบรรจุเป็นสมบัติเกาหลีหมายเลข 1 โดยผู้สำเร็จราชการเกาหลี[9]

นัมแดมุนได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเกาหลีและได้รับการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1961 โดยมีพิธีสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1963[10] ประตูนี้ได้รับสถานะ "สมบัติประจำชาติ หมายเลข 1"[11] ในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1962

ประตูนี้ได้รับการบูรณะอีกครั้งใน ค.ศ. 2005 ด้วยการสร้างสนามหญ้าไว้รอบประตู ก่อนที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมอีกครั้งในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2006[12] ในระหว่างการบูรณะ มีการผลิตพิมพ์เขียวสำหรับประตูจำนวน 182 หน้า เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินใดก็ตามที่อาจสร้างความเสียหายต่อโครงสร้าง[13]

ไฟไหม้ ค.ศ. 2008

[แก้]

เมื่อเวลาประมาณ 20:50 น. ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เกิดเหตุเพลิงไหม้และสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างข้างบนประตูนัมแดมุนอย่างมาก แม้ว่านักดับเพลิงกว่า 360 คนพยายามดับไฟก็ตาม ไฟกลับลุกลามอย่างควบคุมไม่ได้อีกครั้งช่วงหลังเที่ยงคืน และทำลายโครงสร้างในที่สุด[14] พยานหลายคนรายงานเห็นชายต้องสงสัยก่อนไฟไหม้ไม่นาน และพบไฟแช็กแบบใช้แล้วทิ้ง 2 อันในบริเวณที่เชื่อว่าเกิดเพลิงไหม้[15] ชายวัย 69 ปีที่ระบุตัวเป็น Chae Jong-gi ถูกจับกุมในข้อหาลอบวางเพลิง และภายหลังสารภาพความผิด[16][17][18] หัวหน้าตำรวจรายงานว่า Chae พ่นทินเนอร์ลงบนพื้นโครงสร้างแล้วจุดไฟเผา[19] ตำรวจกล่าวว่า Chae รู้สึกไม่พอใจที่ไม่ได้รับเงินค่าที่ดินที่เขาขายให้กับผู้พัฒนาเต็มจำนวน[17] ชายคนเดียวกันถูกตั้งข้อหาจุดไฟที่พระราชวังชังกย็องในโซลเมื่อ ค.ศ. 2006[20]

การบูรณะ

[แก้]

ฝ่ายบริหารมรดกทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ระบุว่า โครงการสร้างและบูรณะประตูประวัติศาสตร์ใหม่ในช่วงสามปีจะใช้งบประมาณที่ประมาณ 20,000 ล้านวอน (ประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[21] ทำให้เป็นโครงการบูรณะที่แพงที่สุดในเกาหลีใต้[22] ประธานาธิบดี อี มย็อง-บัก เสนอให้เริ่มรณรงค์บริจาคภาคเอกชนเพื่อเป็นทุนในการฟื้นฟูโครงสร้าง[23]

ในช่วงมกราคม ค.ศ. 2010 ประตูกับชั้นหนึ่งร้อยละ 70 และกำแพงป้อมปราการร้อยละ 80 สร้างแล้วเสร็จ งานบนหลังคาเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนหลังจากสร้างชั้น 2 ที่เป็นไม้แล้วเสร็จ โดยมีกระเบื้องมุงหลังคาจำนวน 22,000 แผ่นที่ผลิตในเตาเผาแบบดั้งเดิมในเมืองพูยอ จังหวัดชุงช็องใต้ กำแพงและโครงพื้นฐานมีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนและพฤษภาคมตามลำดับ เสาและคานค้ำหลังคาจะต้องได้รับการตกแต่งอย่างประณีต โดยมีลวดลายและสีสันประดับตามแบบที่ใช้ในการซ่อมแซมขนานใหญ่ใน ค.ศ. 1963 ซึ่งใกล้เคียงกับต้นฉบับโชซ็อนตอนต้นมากที่สุด[24]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 ทางการประมาณการว่าประตูนี้จะบูรณะเสร็จในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013[25] การก่อสร้างกลับล่าช้าไป 4 เดือนเนื่องจากสภาพอากาศย่ำแย่ในโซล ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ประตูสร้างเสร็จร้อยละ 96 และถอดนั่งร้านโครงเหล็กทั้งหมดออกแล้ว[26][27] เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2013 การบูรณะประตูเสร็จสิ้น[28] และกำหนดวันเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เพียงวันเดียวก่อนวันเด็ก[29][30] หลังการบูรณะที่กินเวลา 5 ปี ประตูเปิดให้เข้าชมอีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[31]

หลังบูรณะเสร็จไปเพียง 6 เดือน สีเริ่มหลุดลอกและไม้แตกหัก ประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย สั่งให้สืบส่วนในเรื่องนี้[32]

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yoon, Hong-key (2017). P'ungsu: A Study of Geomancy in Korea. SUNY Press. p. 217. ISBN 9781438468716.
  2. 문교부장관 (29 December 1962). "문교부고시제169호. 《문화재보호법에의한국보지정》". 관보 (ภาษาเกาหลี). 공보부.
  3. Kwang-Tae Kim (11 February 2008). "South Korea arrests man in landmark fire". Yahoo! News. Associated Press.
  4. 4.0 4.1 "Fire ravages South Korea landmark". BBC News. 11 February 2008. สืบค้นเมื่อ 11 February 2008.
  5. "Namdaemun: National Treasure No. 1". Korea JoongAng Daily. 30 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  6. Seth, Michael J (2006). A Concise History of Korea: From The Neolithic Period Through the Nineteenth Century. Rowman & Littlefield. p. 204.
  7. Kim, Hyung-eun (18 May 2009). "Gateway to the Joseon capital". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.
  8. Hong Seong-tae (2004). "From Mount Baekak to the Han River: A Road to Colonial Modernization". ใน LaMarre, Thomas; Kang, Nae-hŭi (บ.ก.). Impacts of Modernities. Hong Kong University Press. p. 126.
  9. 監査院 国宝1号を変更すべき. Chosun Ilbo Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 28 November 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2008. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. 監査院は '日帝は1938年の 朝鮮宝物令 で文化財を指定した際、南大門を宝物1号に、現在の東大門(現在の宝物1号)を宝物2号に指定したが、光復 (独立)後も1962年にようやく国宝と宝物を指定した際、そのほとんどが日帝の宝物令にそのまま従って指定された' と明らかにした
  10. Rahn, Kim (11 February 2008). "Poor Security Blamed for Gate Burnout". The Korea Times.
  11. Shin Hae-in (13 February 2008). "Controversy erupts over fundraising for historic gate". Yonhap News Agency.
  12. Lankov, Andrei (11 February 2008). "Namdaemun Outlived War, Colonialism". The Korea Times.
  13. Chung Ah-young (11 February 2008). "Three Years Needed for Restoration". The Korea Times.
  14. "S. Korean landmark collapses in fire". CNN. Associated Press. 11 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2008.
  15. Kwok, Vivian Wai-yin (11 February 2008). "Korea's Historic Namdaemun Gate Toppled By Fire". Forbes.
  16. "Man 'confesses to S Korea blaze'". BBC News. 12 February 2008.
  17. 17.0 17.1 Kim Tae-jong (12 December 2008). "Suspect Admits Arson on Namdaemun". The Korea Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2008.
  18. "Man 'Arsonist Blames President Roh'". The Korea Times. 14 February 2008.
  19. "SKorea arsonist in Namdaemun fire had grudge over land dispute: police". Agence France-Presse. 12 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2008.
  20. Hyung-Jin Kim (11 February 2008). "Fire destroys South Korean landmark". Yahoo! News. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2008. สืบค้นเมื่อ 11 February 2008.
  21. Choe Sang-Hun (12 February 2008). "South Korean Gate Destroyed in Fire". The New York Times.
  22. Lim Chang-Won (2013). "Following the most expensive restoration project ever in South Korea, Namdaemun gate set to reopen". ArtNews/AFP.
  23. Kim Yon-se (12 February 2008). "Donation for Gate Restoration Proposed". The Korea Times.
  24. "Seoul Landmark Restorations to Be Completed This Year". The Chosun Ilbo. 4 January 2012. สืบค้นเมื่อ 23 April 2012.
  25. Lee, Min-Sun (4 January 2013). "The South Gate Will Stay Closed a Little Longer". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 8 January 2013.
  26. "Veil lifted". Korea JoongAng Daily. 15 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2013. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  27. "Finishing touches". The Korea Times. 17 February 2013. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  28. Lee, Min-Sun (4 January 2013). "The South Gate Will Stay Closed a Little Longer". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 8 January 2013.
  29. "Sungnyemun to open to great fanfare after more than five years of renovation". The Korea Herald. 30 April 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2013.
  30. "Recovering Sungnyemun celebration congratulatory address". .The Blue House. 1 May 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2013.[ลิงก์เสีย]
  31. Cha, Frances (9 May 2013). "South Korea's No. 1 national treasure reopens after five years". CNN Travel. สืบค้นเมื่อ 27 May 2013.
  32. Jaeyeon Woo (12 November 2013). "President Orders Probe into Restoration of National Treasure". Wall Street Journal / Korea Realtime.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sungnyemun