นาล็อกโซน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Narcan, Evzio |
ชื่ออื่น | 17-allyl- 4,5α-epoxy- 3,14-dihydroxymorphinan- 6-one |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | รับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 2% (Oral, 90% absorption but high first-pass metabolism) |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 2 นาที (IV), 5 นาที (IM)[1] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 1–1.5 ชั่วโมง |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 30 to 60 min[1] |
การขับออก | ปัสสาวะ, ท่อน้ำดี |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.006.697 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C19H21NO4 |
มวลต่อโมล | 327.380 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
นาล็อกโซน (Naloxone) หรือชื่อทางการค้าคือ นาร์คัน (Narcan) เป็นยาต้านโอปิออยด์[1] ใช้รักษาอาการที่เกิดจากการรับสารโอปิออยด์เกินขนาด ทั้งนี้ อาจมีการใส่นาล็อกโซนในเม็ดเดียวกันกับยาประเภทโอปิออยด์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเสพติดโอปิออยด์ การใช้นาล็อกโซนโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะออกฤทธิภายใน 2 นาที, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะออกฤทธิใน 5 นาที นอกจากนี้ยังสามารถรับยาได้โดยการสูดดมละออง[3] เมื่อรับนาล็อกโซนแล้วจะออกฤทธิไปราวครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง[4] โดยส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับนาล็อกโซนหลายครั้งเนื่องจากโอปิออยด์มีฤทธิที่แรงกว่า[1]
การใช้นาล็อกโซนในผู้ที่เสพติดโอปิออยด์ อาจทำให้เกิดอาการจากการขาดยา ซึ่งรวมถึง กระสับกระส่าย, อยู่ไม่สุข, คลื่นไส้, อาเจียน, ชีพจรเต้นเร็ว และเหงื่อออก เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องให้รับนาล็อกโซนในปริมาณที่น้อยๆแต่บ่อยๆแทน ยานี้ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ[1] ยานี้ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์[5]
นาล็อกโซนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1961 และได้รับการรับรองให้เป็นยาต้านโอปิออยด์ในค.ศ. 1971[6] นาล็อกโซนได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก[7] ปัจจุบันมีวางจำหน่ายเป็นยาสามัญ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Naloxone Hydrochloride". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Jan 2, 2015.
- ↑ Melissa Davey (29 January 2016). "Selling opioid overdose antidote Naloxone over counter 'will save lives'". The Guardian.
- ↑ Roberts, James R. (2014). Roberts and Hedges' clinical procedures in emergency medicine (6 ed.). London: Elsevier Health Sciences. p. 476. ISBN 9781455748594.
- ↑ Bosack, Robert (2015). Anesthesia Complications in the Dental Office. John Wiley & Sons. p. 191. ISBN 9781118828625.
- ↑ "Prescribing medicines in pregnancy database". Australian Government. 3 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ Yardley, William (14 December 2013). "Jack Fishman Dies at 83; Saved Many From Overdose". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-07-06.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.