บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | SET:BAM |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการเงิน เงินทุนและหลักทรัพย์ |
ก่อตั้ง | 7 มกราคม พ.ศ. 2542 |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | ทองอุไร ลิ้มปิติ (ประธานกรรมการ) บรรยง วิเศษมงคลชัย (ประธานคณะกรรมการบริหาร) |
รายได้ | 12,256.87 ล้านบาท (2563)[1] |
สินทรัพย์ | 115,789.67 ล้านบาท (2563)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 37,066.12 ล้านบาท (2563)[1] |
อันดับความน่าเชื่อถือ | Fitch: BBB+(tha)[2] TRIS: A- |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (อักษรย่อ: BAM) เป็นบริษัทมหาชนประกอบธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) [3] จัดตั้งขึ้นตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของกระทรวงการคลัง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) (BBC) ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบกิจการเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542
จากนั้น 20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โอนขายสินทรัพย์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (AMC) อันประกอบด้วย เงินลงทุนในลูกหนี้ ทรัพย์รอการขาย และเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ทั้งหมด รวมถึงโอนพนักงานให้แก่บริษัทฯ บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้วโดยใช้ชื่อว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558[4]และได้เป็นบริษัทจดทะเบียนเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา
รายนามประธานกรรมการ
[แก้]- นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ (พ.ศ. 2542-2545)
- นายเริงชัย มะระกานนท์ (พ.ศ. 2545-2549)
- พลเอก ไพศาล กตัญญู (พ.ศ. 2549-2552)
- พลเอก สุเทพ สีวะรา (พ.ศ. 2552-2555)
- พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ (พ.ศ. 2555-2557)
- พลตำรวจเอก ชัยยง กีรติขจร (พ.ศ. 2557-2560)
- นางทองอุไร ลิ้มปิติ (พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน)
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
[แก้]- ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[5]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน | 1,480,000,000 | 45.79% |
2 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 119,175,692 | 3.69% |
3 | GIC PRIVATE LIMITED | 50,676,400 | 1.57% |
4 | กองทุนเปิด กรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล | 37,557,400 | 1.16% |
5 | กองทุนเปิด เค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล | 35,081,300 | 1.09% |
6 | กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 | 27,603,600 | 0.85% |
7 | กองทุนเปิด เค หุ้นระยะยาวปันผล | 23,258,700 | 0.72% |
8 | บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) | 22,077,700 | 0.68% |
9 | นาย สุวัฒน์ นิยมเสถียร | 21,820,000 | 0.68% |
10 | THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED | 18,582,200 | 0.57% |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ เก็บถาวร 2021-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ อันดับเครดิต เก็บถาวร 2021-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ "สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ประวัติความเป็นมา" (PDF). บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[ลิงก์เสีย] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย