บิชเคก
บิชเคก Бишкек (คีร์กีซ) | |
---|---|
เมืองหลวง | |
การถอดเสียงภาษาคีร์กีซ | |
• ISO 9 | biškek |
• BGN/PCGN | bishkek |
• ALA-LC | bishkek |
จัตุรัสอะลา-โต (Ала-тоо аянты) | |
พิกัด: 42°52′29″N 74°36′44″E / 42.87472°N 74.61222°E | |
ประเทศ | คีร์กีซสถาน |
จังหวัด | บิชเคก[1] (แต่เป็นเมืองหลักของจังหวัดชึยด้วย) |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1825 |
อำเภอ[2] | |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | บักตึยเบก กูดัยเบร์กีนอฟ (Бактыбек Кудайбергенов) |
พื้นที่[3] | |
• ทั้งหมด | 169.9 ตร.กม. (65.6 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 800 เมตร (2,600 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2020)[4] | |
• ทั้งหมด | 1,053,915 คน |
• ความหนาแน่น | 6,200 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+6 (KGT) |
Postal code | 720000-720085 |
รหัสพื้นที่ | (+996) 312 |
ทะเบียนพาหนะ | 01 |
HDI (ค.ศ. 2017) | 0.730[5] สูง · อันดับที่ 1 |
เว็บไซต์ | meria |
บิชเคก (คีร์กีซ: Бишкек, Bişkek, بىشکەک, ออกเสียง: [biʃˈkek]) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคีร์กีซสถาน และยังเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดชึยที่อยู่รอบเมือง แม้ว่าเมืองจะไม่ได้อยู่ในฐานะจังหวัดแต่มีฐานะเท่าจังหวัด บิชเคกตั้งอยู่ที่ 42°52′29″N 74°36′44″E / 42.87472°N 74.61222°E มีแม่น้ำชึยไหลผ่าน บิชเคกยังอยู่ในเส้นทางรถไฟสายเตอร์กีสถาน-ไซบีเรีย
ประวัติศาสตร์
[แก้]การปกครองโดยข่านแห่งโกกันด์
[แก้]เดิมทีเป็นบริเวณจุดพักกองคาราวาน (อาจตั้งขึ้นโดยชาวซอกเดีย) บนเส้นทางสายหนึ่งของเส้นทางสายไหมผ่านเทือกเขาเทียนชาน ได้มีการก่อสร้างป้อมปราการขึ้นในปี พ.ศ. 2368 โดยข่านแห่งโกกันด์ ซึ่งลักษณะป้อมก่อสร้างด้วยโคลน ในช่วงสุดท้ายของการปกครองของโกกันด์ ป้อมปราการพิชเพก (Пишпек; Pishpek) อยู่ในอำนาจของผู้นำเผ่า (Атабек; Atabeg) ซึ่งมีสมญานาม ดัตกา (คีร์กีซ: Датка, อักษรโรมัน: Datka)
สมัยการปกครองโดยซาร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2403 จักรวรรดิรัสเซียได้เข้าผนวกพื้นที่ กองกำลังทหารของพันเอก อพอลลอน เอร์เนสโตวิช ซิมเมอร์มาน (รัสเซีย: Аполлон Эрнестович Циммерман) เข้ายึดและรื้อป้อมปราการ พันเอกซิมเมอร์มาน สร้างเมืองขึ้นใหม่บนป้อมที่ถูกทำลายและแต่งตั้งนายพันติตอฟ เป็นหัวหน้ากองทหารรักษาการณ์ รัฐบาลจักรวรรดิรัสเซียได้พัฒนาพื้นที่ใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 เป็นต้นมา ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของชาวนารัสเซียโดยให้ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์เพื่อทำการเกษตร
ยุคสหภาพโซเวียต
[แก้]ในปี พ.ศ. 2469 เมืองนี้ได้สถาปนาเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตนเองคีร์กีซซึ่งตั้งขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น "ฟรุนเซ (Фрунзе)" หลังจากมีฮาอิล ฟรุนเซ ผู้ร่วมงานใกล้ชิดของเลนินที่เกิดในบิชเคกและมีบทบาทสำคัญในระหว่างการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2448 และ 2460 และในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซียช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1920
ยุคเอกราช
[แก้]ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สถานการณ์เป็นไปด้วยความวุ่นวาย ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 มีการประกาศภาวะฉุกเฉินหลังจากการจลาจลทางชาติพันธุ์อย่างรุนแรงทางตอนใต้ของคีร์กีซสถานซึ่งคุกคามว่าจะแพร่ลามไปยังเมืองหลวง เมืองนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบิชเคกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และคีร์กีซสถานได้รับเอกราชในปีต่อมาในช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก่อนที่จะได้รับเอกราช ประชากรส่วนใหญ่ของบิชเคกเป็นคนเชื้อชาติรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2547 ชาวรัสเซียมีประมาณ 20% ของประชากรในเมือง และมีประมาณ 7–8% ในปี 2554[6]
ปัจจุบันบิชเคกเป็นเมืองยุคใหม่ที่มีร้านอาหารและร้านกาแฟมากมาย มีรถจากยุโรปและญี่ปุ่นมือสองและรถมินิบัสมือสองจำนวนมากที่จอดอยู่บนถนน อย่างไรก็ตามถนนและทางเท้าตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมไม่ได้รับการบูรณะตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ในขณะเดียวกันบิชเคกยังคงรักษาความรู้สึกแบบอดีตโซเวียตไว้ด้วยอาคารและสวนสมัยโซเวียตที่มีจำนวนมากกว่าสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่
บิชเคกยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศโดยมีธนาคารพาณิชย์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองนี้ทั้งหมด 21 แห่ง ในช่วงยุคโซเวียตเมืองนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ปิดตัวลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 หรือปัจจุบันดำเนินการในระดับที่ลดลงมาก แหล่งการจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของบิชเคกในปัจจุบันคือตลาดเปิดดอร์ดอยบาซาร์ (คีร์กีซ: Дордой Базары, อักษรโรมัน: Dordoy Bazaar) ซึ่งมีการขายสินค้าจีนจำนวนมากที่มีการนำเข้ามายังกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของบิชเคก | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 19.2 (66.6) |
25.3 (77.5) |
30.5 (86.9) |
34.7 (94.5) |
35.6 (96.1) |
40.9 (105.6) |
42.8 (109) |
39.5 (103.1) |
36.8 (98.2) |
34.1 (93.4) |
27.9 (82.2) |
23.3 (73.9) |
42.8 (109) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 3.2 (37.8) |
4.9 (40.8) |
11.2 (52.2) |
18.5 (65.3) |
23.6 (74.5) |
29.0 (84.2) |
31.7 (89.1) |
30.9 (87.6) |
25.5 (77.9) |
17.8 (64) |
11.0 (51.8) |
5.0 (41) |
17.7 (63.9) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -2.6 (27.3) |
-0.8 (30.6) |
5.3 (41.5) |
12.3 (54.1) |
17.4 (63.3) |
22.4 (72.3) |
24.9 (76.8) |
23.8 (74.8) |
18.5 (65.3) |
11.0 (51.8) |
4.7 (40.5) |
-0.9 (30.4) |
11.3 (52.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −7.1 (19.2) |
−5.2 (22.6) |
0.4 (32.7) |
6.4 (43.5) |
11.1 (52) |
15.6 (60.1) |
17.9 (64.2) |
16.4 (61.5) |
11.3 (52.3) |
5.0 (41) |
−0.1 (31.8) |
−5.1 (22.8) |
5.6 (42.1) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −31.9 (-25.4) |
−34.0 (-29) |
−21.8 (-7.2) |
−12.3 (9.9) |
−5.5 (22.1) |
2.4 (36.3) |
7.4 (45.3) |
5.1 (41.2) |
−2.8 (27) |
−11.2 (11.8) |
−32.2 (-26) |
−29.1 (-20.4) |
−34.0 (−29) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 26 (1.02) |
34 (1.34) |
55 (2.17) |
67 (2.64) |
61 (2.4) |
34 (1.34) |
21 (0.83) |
13 (0.51) |
19 (0.75) |
45 (1.77) |
42 (1.65) |
35 (1.38) |
452 (17.8) |
ความชื้นร้อยละ | 75 | 75 | 71 | 63 | 60 | 50 | 46 | 45 | 48 | 62 | 70 | 75 | 62 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 6.2 | 6.4 | 8.5 | 8.8 | 7.9 | 4.4 | 3.2 | 2.2 | 2.7 | 5.8 | 6.5 | 5.6 | 68.2 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 136.4 | 130.0 | 151.9 | 195.0 | 260.4 | 306.0 | 331.7 | 316.2 | 264.0 | 195.3 | 144.0 | 114.7 | 2,545.6 |
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net,[7] World Meteorological Organization (precipitation days only)[8] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun only)[9] |
ประชากร
[แก้]บิชเคกเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในคีร์กีซสถาน ประชากรโดยประมาณในปี ค.ศ. 2019 คือ 1,012,500 คน[10] จากช่วงเวลาการก่อตั้งเมืองจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ชาวรัสเซียและชนชาติอื่น ๆ ที่มีเชื้อสายยุโรป (ชาวยูเครน, ชาวเยอรมัน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมือง จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2513 กลุ่มชาติพันธุ์คีร์กีซมีเพียง 12.3% ในขณะที่ชาวยุโรปเป็นประชากรมากกว่า 80% ของเมืองฟรุนเซ ตอนนี้บิชเคกเป็นเมืองที่มีชาวคีร์กีซอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยมีชาวคีร์กีซประมาณ 66% ของประชากรในขณะที่ชาวยุโรปคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 20% ของประชากร อย่างไรก็ตามยังมีการใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาหลักในขณะที่ภาษาคีร์กีซมีผู้ใช้ลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่[11]
ปี | ประชากร |
---|---|
1876 | 182 |
1882 | 2,135 |
1893 | 4,857 |
1897 | 6,615 |
1902 | 9,656 |
1907 | 13,752 |
1913 | 20,102 |
1926 | 36,610 |
1939 | 92,783 |
1970 | 430,618 |
1982 | 616,312 |
1999 | 762,300 |
2008 | 822,100 |
2009 | 832,500 |
2010 | 846,500 |
2011 | 859,800 |
2012 | 874,400 |
2020 | 1,053,915 |
Source:[12][13][14][15][16][17][18][19][20] |
สิ่งแวดล้อม
[แก้]คุณภาพอากาศ
[แก้]การปล่อยมลพิษทางอากาศของบิชเคก มีค่าประมาณ 14,400 ตัน[21] ซึ่งมากกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตใจกลางเมือง
เศรษฐกิจ
[แก้]บิชเคก ใช้สกุลเงินคีร์กีซสถาน มีชื่อเรียกว่า ซอมคีร์กีซสถาน 47 ซอม เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจของบิชเคก ยังต้องพึ่งพาเกษตรกรรม ถนนในบิชเคกมักจะมีตลาดเรียงรายอยู่เสมอ ในใจกลางเมืองเป็นแหล่งของธนาคาร ร้านค้า ตลาด และศูนย์การค้า
กีฬา
[แก้]บิชเคก เป็นที่ตั้งของสปาร์ตัก สเตเดียม ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ [22]
การศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเอเชียกลาง
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติคีร์กีซ อะราแบฟ[23]
- มหาวิทยาลัยมนุษยศาสตร์บิชเคก
- มหาวิทยาลัยนานาชาติอะตาเติร์ก-อะลาโต[24]
- มหาวิทยาลัยนานาชาติคีร์กีซสถาน[25]
- มหาวิทยาลัยคีร์กีซ-รัสเซีย-สโลวานิก[26]
- สถาบันการศึกษาทางการแพทย์แห่งชาติคีร์กีซสถาน
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติคีร์กีซสถาน[27]
- มหาวิทยาลัยเทคนิคคีร์กีซสถาน
- มหาวิทยาลัยคีร์กีซ-รัสเซีย
- มหาวิทยาลัยคีร์กีซ-ตุรกี[28]
- มหาวิทยาลัยคีร์กีซ-อุซเบก
- มหาวิทยาลัยจัดการและออกแบบพลาโต[29]
การคมนาคม
[แก้]ระบบขนส่งสาธารณะ
[แก้]ระบบขนส่งสาธารณะในบิชเคก ประกอบไปด้วย รถโดยสารประจำทาง รถบัสไฟฟ้า รถตู้ และ รถแท็กซี่ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วเมือง
ระบบขนส่งสาธารณะในบิชเคกนั้น ไม่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน
รถโดยสารระยะไกล
[แก้]มีสถานีขนส่งแห่งหลักอยู่ 2 แห่ง สถานีขนส่งตะวันออก ซึ่งเล็กและเก่าแก่กว่า มีจุดหมายปลายทางดังนี้ คานต์, โทกมัก, คีเมน, อิสสิก อะตา และ คอร์เดย์
สถานีขนส่งตะวันตก ซึ่งใหญ่และทันสมัยกว่า มีจุดหมายปลายทางดังนี้ อัลมาเตอ และ คัชการ์
รถไฟ
[แก้]ใน ค.ศ. 2007 มีรถไฟผ่านแต่ละวันค่อนข้างน้อย รถไฟที่นิยมนั่งกันคือสายบิชเคก-มอสโก ใช้เวลาเดินทาง 3 วัน
นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายไกลไปยังไซบีเรีย ผ่านอัลมาเตอและอัสตานา ปลายทางที่เมืองเยกาเทรินเบิร์ก การเดินทางค่อนข้างนาน (ใช้เวลา 2 วัน) เนื่องจากต้องใช้เวลาจอดรับที่สถานีชายแดนมาก และเป็นทางอ้อม (ทางรถไฟต้องอ้อมไปทางตะวันตกกว่า 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ก่อนที่จะเข้าเส้นทางสายหลัก)[30]
อากาศยาน
[แก้]ตัวเมืองเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติมานัส (FRU) ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 25 กิโลเมตร (16 ไมล์) มีแท็กซี่บริการ
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]เมืองพี่น้อง
[แก้]บิชเคกมีข้อตกลงเมืองพี่น้องกับ:[31]
- อัลมาเตอ, คาซัคสถาน (1994)
- อังการา, ตุรกี (1992)[32]
- อาชกาบัต, เติร์กเมนิสถาน (2018)[33]
- โคโลราโดสปริงส์, รัฐโคโลราโด, สหรัฐ (1994)[34]
- โดฮา, กาตาร์ (2014)
- คูมิ, เกาหลีใต้ (1991)
- อิสเมียร์, ตุรกี (1994)
- เคียฟ, ยูเครน (1997)[35]
- เหลียนหฺยวินกั่ง, จีน (2015)[36]
- เมอริเดน, รัฐคอนเนทิคัต, สหรัฐ (2005)
- มินสค์, เบลารุส (2008)
- อัสตานา, คาซัคสถาน (2011)
- กอซวีน, อิหร่าน (2003)
- ซัมซุน, ตุรกี[37]
- เชินเจิ้น, จีน (2016)[38]
- ทาชเคนต์, อุซเบกิสถาน[39]
- เตหะราน, อิหร่าน (1994)
- ทรับซอน, ตุรกี (2014)[40]
- อูฟา, รัสเซีย (2017)
- อุรุมชี, จีน (1993)[41]
- อู่ฮั่น, จีน (2016)
- อิ๋นชวน, จีน (2000)[42]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Law on the Status of Bishkek เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 1994, article 2 (รัสเซีย). Retrieved on 3 August 2009
- ↑ Districts of Bishkek เก็บถาวร 2009-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย). Retrieved on 3 August 2009
- ↑ Statoids. Statoids. Retrieved on 11 March 2012.
- ↑ "Population 2019-2020". สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
- ↑ Residential Real Estate Market in Bishkek, Kyrgyzstan: Current Conditions and Prospects เก็บถาวร 21 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Weather and Climate-The Climate of Bishkek" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
- ↑ "World Weather Information Service – Bishkek". World Meteorological Organisation (United Nations). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-12. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
- ↑ "Climatological Normals of Bishkek". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
- ↑ "Kyrgyzstan: Regions, Major Cities, Towns & Urban Settlements - Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ "Ferdinand, S. & Komlósi, F. 2016. The vitality of the Kyrgyz Language in Bishkek". IJORS 5–2, pp. 210–226. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
- ↑ Первая всеобщая перепись населения Российской Империи 1897 г. Наличное население в губерниях, уездах, городах Российской Империи (без Финляндии). Семиреченская область เก็บถาวร 29 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – First General Russian Empire Census of 1897. Population in provinces, districts, towns of Russian Empire (without Finland). Semirech'e Province (Demoscope.ru) (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ Petrov, Vladimir (2005). Пишпек исчезающий 1825–1926 (Pishpek disappearing. 1825–1926). Bishkek.
- ↑ Pisarskoy, Evgeniy; Kurbatov, Valentin (1976). Архитектура Советской Киргизии (Architecture of Soviet Kirghizia.). Moscow: Stroyizdat.
- ↑ Review of Semirech'e Oblast for 1907 (Обзор Семиреченской области за 1907 год). Verniy: Publishing House of Semirech'e Provincial Administration. 1908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
- ↑ Review of Semirech'e Oblast for 1902 (Обзор Семиреченской области за 1902 год). Verniy: Publishing House of Semirech'e Provincial Administration. 1903. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
- ↑ Всесоюзная перепись населения 1926 года : Киргизская АССР. (All-Union Census of 1926: Kyrgyz ASSR). Moscow: CSU SSSR. 1928. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
- ↑ Численность наличного населения городов, поселков городского типа, районов и районных центров СССР по данным переписи на 15 января 1970 года по республикам, краям и областям (кроме РСФСР) เก็บถาวร 9 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Demoscope.ru. Retrieved on 11 March 2012.
- ↑ "Население Кыргызстана | Перепись населения и жилищного фонда Кыргызской Республики 2009". 212.42.101.100:8088. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2012. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
- ↑ "Kyrgyzstan, Capital: Biškek". citypopulation.de.
- ↑ "Анализ загрязнения атмосферы". Nature.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ Corporate Japanese companies to renovate Kyrgyzstan football stadium. The-afc.com (9 November 2007). Retrieved on 11 March 2012.
- ↑ "October 2009+01:35:14". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
- ↑ "International Ataturk Alatoo University". Iaau.edu.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Главная — Международный университет Кыргызстана.|". Iuk.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Кыргызско-Российский Славянский университет имени Б.Н. Ельцина - Главная". Krsu.edu.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Новости КНУ им. Ж.Баласагына". University.kg. 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Kırgızistan-Türkiye Manas Üniversitesi". Manas.kg. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Plato UMD - Home". Umd.edu.kg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Маршрут поезда ????? - ????? на сайте". Poezda.net. สืบค้นเมื่อ 2012-11-21.
- ↑ "Бишкек стал городом-побратимом Уфы". kaktus.media (ภาษารัสเซีย). Kaktus Media. 2017-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Ankaranın Kardeş Şehirleri". ankara.bel.tr (ภาษาตุรกี). Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Kostroma is looking for a twin city in Turkmenistan". orient.tm. Orient. 2020-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Colorado Springs Sister Cities International". coloradosprings.gov. City of Colorado Springs. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Перелік міст, з якими Києвом підписані документи про поріднення, дружбу, співробітництво, партнерство" (PDF). kyivcity.gov.ua (ภาษายูเครน). Kyiv. 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "友好往来". lyg.gov.cn (ภาษาจีน). Lianyungang. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Bişkek, Kırgızistan". samsun.bel.tr (ภาษาตุรกี). Samsun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Sister Cities". sz.gov.cn (ภาษาจีน). Shenzhen. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Ну, здравствуй, брат! Города-побратимы Ташкента". vot.uz (ภาษารัสเซีย). The Voice of Tashkent. 2015-11-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Kardeş Şehirler". trabzon.bel.tr (ภาษาตุรกี). Trabzon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "新疆维吾尔自治区友城介绍". xinjiang.gov.cn (ภาษาจีน). Xinjiang Uygur Autonomous Region. 2012-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "银川市友好城市及交流合作情况". yinchuan.gov.cn (ภาษาจีน). Yinchuan. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.