ข้ามไปเนื้อหา

บุคลากรในงานภาพยนตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุคลากรในงานภาพยนตร์ (Film Crew) คือบุคลากรที่ทำงานในการผลิตภาพยนตร์ มีด้วยกันหลากหลายตำแหน่ง อาจสามารถจำแนกได้ทั้ง ก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต แต่บางตำแหน่งก็อาจจะไม่ตายตัว บางตำแหน่งต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดก็มี หรือบางตำแหน่งอาจมีปลีกย่อยลงไปได้อีก โดยมีดังต่อไปนี้

ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์

[แก้]
  • ผู้กำกับ (Director) เป็นผู้ที่ควบคุมกองถ่าย
  • ผู้เขียนบท (Screenwriter)
  • ผู้ประพันธ์ (Author) เจ้าของงานประพันธ์ต้นฉบับที่นำมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์

ทีมงานในกระบวณการผลิต

[แก้]

ฝ่ายบริการจัดการ

[แก้]
  • ผู้อำนวยการสร้างและควบคุมการผลิต (Producer)
  • ผู้อำนวยการดูการสร้าง (Associate Producer) เป็นคนที่คอยมาตรวจดูการสร้าง
  • ผู้จัดการกองถ่าย (Production Manager) เป็นผู้ที่คอยควบคุมและคอยดูแลในกองถ่าย
  • ฝ่ายบัญชีกองถ่าย (Production Accountant) ผู้อำนวยการงบประมาณในกองถ่าย

นักแสดง

[แก้]
  • นักแสดงชาย (Actor)
  • นักแสดงหญิง (Actress)
  • นักแสดงสมทบชาย (Support Actor)
  • นักแสดงสมทบหญิง (Support Actress)
  • นักแสดงประกอบฉาก (Background / Ambient)
  • นักแสดงแทนฉากเสี่ยงภัย (Stunt Man)

ผู้ช่วยผู้กำกับ

[แก้]
  • ผู้ช่วยผู้กำกับหนึ่ง (First Assistant Director หรือ 1st AD)
  • ผู้ช่วยผู้กำกับสอง (Second Assistant Director หรือ 2nd AD)
  • ผู้ช่วยผู้กำกับสาม (Third Assistant Director หรือ 3rd AD)
  • ผู้ดูแลความต่อเนื่อง (Continuity) คอยดูแลความต่อเนื่องของการแสดงในแต่ละช็อต
  • ผู้ดูแลความต่อเนื่องของบท (Script Supervisor)

ทีมกล้อง ไฟ และกริ๊ป

[แก้]
  • ผู้กำกับภาพ (Director of Photography เรียกโดยย่อว่า DOP หรือ DP)
    • ผู้กำกับภาพ มีหน้าที่ตีความบทภาพยนตร์ร่วมกับผู้กำกับภาพยนตร์เพื่อออกแบบแนวทางการถ่ายภาพที่สามารถสื่อสารเนื้อหาของภาพยนตร์ได้อย่างมีสุนทรียะ โดยผู้กำกับภาพยังมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของทีมกล้อง ไฟและกริ๊บให้สามารถทำงานได้ตามแผนการทำงานที่วางไว้ รวมถึงมีส่วนร่วมในการควบคุมกระบวนการหลังการถ่ายทำ โดยเฉพาะในขั้นตอนการล้างฟิล์มภาพยนตร์และกระบวนการปรับสีภาพยนตร์ ให้ผลลัพท์ของการถ่ายภาพยนตร์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์และบรรยากาศของการถ่ายภาพได้เหมาะสมกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ
  • ช่างภาพ (Camera Operator)
    • ช่างภาพ มีหน้าที่ควบคุมกล้องถ่ายภาพยนตร์ให้ได้ภาพตามที่ผู้กำกับภาพได้ออกแบบไว้ ช่างภาพในการถ่ายทำหนึ่งฉากสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งคนได้ ตามจำนวนของกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่ใช้ถ่ายทำในฉากนั้นๆ ช่างภาพบางส่วนอาจเป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญการถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์พิเศษ เช่น ช่างภาพถ่ายภาพยนตร์ทางอากาศ (Arial Camera Operator ช่างภาพถ่ายภาพยนตร์ใต้นำ (Under Water Camera Operator) หรือ ช่างภาพสเตดิแคม (Stedicam Operator) เป็นต้น ในบางกรณีผู้กำกับภาพอาจเป็นผู้ถ่ายภาพเองในฐานะช่างภาพด้วย
  • ช่างภาพสเตดิแคม (Stedicam Operator)
  • โฟกัสพูลเลอร์ หรือ ผู้ปรับชัดระยะของเลนส์ (Focus Puller)
    • โฟกัสพูลเลอร์ หรือ ผู้ปรับชัดระยะถ่าย มีหน้าที่ช่วยปรับระยะชัด (Focus Distant) ของเลนส์ให้ตรงกับตำแหน่งการยืนของตัวแสดงหรือตามที่ผู้กำกับภาพและช่างภาพนั้นต้องการ ผ่านอุปกรณ์ปรับความชัดของกล้องถ่ายภาพยนตร์ (Follow Focus) เพื่อรักษาความคมชัดของการถ่ายภาพให้อยู่ที่จุดสำคัญของภาพตลอดเวลา ผู้ทำตำแหน่งโฟกัสพูลเลอร์โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำตำแหน่ง ผู้ช่วยช่างภาพหนึ่ง รวมในคนเดียวกัน
  • ผู้ช่วยช่างภาพหนึ่ง First Assistant Camera (1st AC)
    • ผู้ช่วยช่างภาพหนึ่ง มีหน้าที่ ตรวจสอบและดูแลให้กล้องถ่ายภาพยนตร์พร้อมทำงานตลอดเวลาในระหว่างการถ่ายทำ มีหน้าที่เปลี่ยนเลนส์ถ่ายภาพยนตร์และติดตั้งอุปกรณ์เสริมของกล้องถ่ายภาพยนตร์ ตามความต้องการของช่างภาพและผู้กำกับภาพ เพื่อให้กล้องถ่ายภาพยนตร์สามารถถ่ายภาพยนตร์ได้ตามที่ออกแบบภาพไว้ รวมถึงคอบกำกับดูและผู้ช่วยช่างภาพสองที่ทำงานร่วมกันให้ช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้ช่วยช่างภาพสอง Second Assistant Camera (2nd AC)
  • ผู้ดูแลระบบจอภาพ (VDO Man,VT Operator,Monitor Vilage Operator)
  • ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ดิจิทัล Digital Imaging Technician (DIT)
  • ผู้จัดการข้อมูลภาพ (Data Wrangler)
  • หัวหน้าแผนกกริป (Key Grip)
  • รองหัวหน้าแผนกกริป (Best Boy Grip)
  • ผู้เข็นดอลลี่ (Dolly Grip)
    • ฐานเลื่อนใต้กล้อง อาจรวมถึงเครนด้วย
  • กริป (Grip)
  • ผู้จัดแสง Gaffer
    • เป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการจัดแสงไฟให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับภาพต้องการ
  • รองหัวหน้าแผนกจัดแสง (Best Boy Electrician)
  • ทีมจัดแสง (Electrician)
  • ผู้ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Genarator Operator)

ทีมศิลปกรรมและเทคนิคพิเศษ

[แก้]
  • ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ Art Director
    • มีหน้าที่ดูแลและตกแต่งฉาก
  • ผู้ดูแลอุปกรณ์ประกอบฉาก Prop Master
  • ช่างไม้และทาสีฉาก (Unit Carpenter/Painter)
  • ผู้ดูแลอุปกรณ์ยึดจับ Rigger ผู้ดูแลเครื่องมือขนาดใหญ่

ทีมบันทึกเสียงในสถานที่การถ่ายทำ

[แก้]
  • ผู้บันทึกเสียง (Location Sound Recordist)
  • คนถือไมค์บูม (Boom Operator)

ทีมเครื่องแต่งกายและแต่งหน้านักแสดง

[แก้]
  • ผู้ออกแบบเสื้อผ้า (Costume Designer)
  • ผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย (Wardrobe Supervisor)
  • ช่างแต่งหน้า (Make-Up Artist)
  • ผู้ออกแบบทรงผม (Hair Stylist)

ทีมดูแลสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร

[แก้]
  • ผู้จัดหาสถานที่ถ่ายทำาภาพยนตร์ (Location maneger)
  • Police Liasion : ผู้ติดต่อประสานงาน คอยประสานงานระหว่างกองถ่ายและบุคคลภายนอก

ตำแหน่งอื่นๆ

[แก้]
  • ผู้บันทึกภาพนิ่ง Stills Photographer

ในกองบางกองอาจจะมีปลีกย่อยลงไปอีก หรือมีน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดในกองถ่าย

ทีมงานในกระบวนการหลังการผลิต (Post Production crew)

[แก้]
  • ผู้ลำดับภาพ Editor
  • ผู้ออกแบบเสียง Sound Designer
  • ผู้ช่วยวิศวกรเสียง Assistant Sound Engineer : (ส่วนมากจะต้องช่วยถือไมค์บูม)
  • ผู้ปรับสีภาพ Colorist

ทีมงานในขั้นตอนการเผยแพร่ภาพยนตร์

[แก้]
  • Publicity Director : บรรณาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์

อ้างอิง

[แก้]