ประธานาธิบดีโซมาเลีย
ประธานาธิบดี แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย | |
---|---|
Madaxaweynaha Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliyeed | |
ตราประจำตำแหน่ง | |
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลโซมาเลีย | |
จวน | วิลลาโซมาเลีย |
ที่ว่าการ | โมกาดิชู |
ผู้แต่งตั้ง | รัฐสภากลางโซมาเลีย |
วาระ | 4 ปี, ดำรงตำแหน่งซ้ำครั้งเดียว |
ตราสารจัดตั้ง | รัฐธรรมนูญโซมาเลีย |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 |
คนแรก | เอเดน อับดุลลาห์ ออสมัน ดาร์ |
เงินตอบแทน | 120,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[2] |
เว็บไซต์ | villasomalia |
ประธานาธิบดีโซมาเลีย (โซมาลี: Madaxaweynaha Soomaaliya) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย หน้าที่ดำเนินงานทั่วไป ป้องกันและรักษาความมั่งคงของชาติ รักษาอธิปไตยของประเทศ และรักษาความสงบภายในประเทศ
ประวัติ
[แก้]การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2503 หลังโซมาเลียได้รับเอกราชจากอิตาลีและรวมตัวกับบริติชโซมาลีแลนด์[3] โดยมีการเลือกตั้งมาจนถึงสมัยประธานาธิบดีอับดิราชิด อาลี เชอมาร์กีถูกลอบสังหาร และมีการรัฐประหารเกิดขึ้นไซอัด บาร์รีใชัระบอบสังคมนิยมในการปกครองประเทศ[4][5] แต่ต่อมาก็ถูกปลดโดยคองเกรสสหโซมาลี และเกิดสงครามกลางเมืองโซมาเลีย ประธานาธิบดีในสมัยนั้นจึงมาจากการแต่งตั้งและไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างกลุ่มต่าง ๆ อำนาจของประธานาธิบดีมีเพียงพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงโมกาดิชูเท่านั้น[6][7] ต่อมามีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดสันติภาพในประเทศโซมาเลีย จึงได้จัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติขึ้น รัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติได้แต่งตั้งประธานาธิบดีแต่ก็ยังคงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศ เนื่องจากรัฐบาลมิได้ตั้งอยู่ในประเทศ ประเทศโซมาเลียในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพศาลอิสลาม,[8] จากนั้นจึงได้มีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน ในยุคนี้ประธานาธิบดีจะมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภากลางโซมาเลียและเริ่มมีอำนาจในการปกครองเพราะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพสหภาพแอฟริกา[9] และรัฐบาลได้กลับมาตั้งที่ทำการที่กรุงโมกาดิชูอีกครั้ง ปัจจุบันหลังจากยุบรัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน และจัดตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย ประเทศก็เริ่มมีประธานาธิบดีและรัฐบาลถาวรเข้ามาบริหารประเทศ[10]
อำนาจหน้าที่
[แก้]ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ ข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โดยได้รับการยินยอมจากรัฐสภากลางโซมาเลีย[11][12] และประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพโซมาเลีย[13]
การเลือกตั้ง
[แก้]ปัจจุบันประธานาธิบดีโซมาเลียจะมาจากการเลือกตั้งในรัฐสภากลางโซมาเลียซึ่งมาจากการแต่งตั้ง[14] เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเลือกตั้งได้ โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากสมาชิกรัฐสภากลางโซมาเลียจะได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งมีวาระ 4 ปี[15] การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่ยุคการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ของไซอัด บาร์รี โซมาเลียก็ไม่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชนมาอย่างยาวนานเนื่องจากสถานการณ์การสู้รบอย่างหนักและขาดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพในการปกครองประเทศ[16] ประธานาธิบดีส่วนใหญ่จึงมาจากการเลือกตั้งโดยรัฐสภาที่มาจากการแต่งตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปในโซมาเลียครั้งสุดท้ายจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยพรรคสังคมนิยมปฏิวัติโซมาลีชนะการเลือกตั้งและสถาปนาระบอบสังคมนิยมในการปกครองประเทศ จากนั้นประเทศโซมาเลียจึงไม่มีการเลือกตั้งจากประชาชนอีก[17]
ที่พำนัก
[แก้]ประธานาธิบดีจะทำงานและพำนักที่วิลลาโซมาเลียซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโมกาดิชู[18] เป็นสถานที่ที่ได้รับการคุ้มกันโดยกำลังทหารอย่างแน่นหนาและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดในโซมาเลีย[19]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mohamud, Ali (15 May 2022). "Somalia's new president elected by 327 people". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2022. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
- ↑ "Salaries for sitting African presidents". Daily Monitor. 27 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2020. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
- ↑ "Somali leaders back new constitution". BBC. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "Somalia adopts a constitution, amidst insecurity". Garowe Online. 1 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
- ↑ "Somalia's newly-endorsed constitution widely hailed". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "Garowe Online". Garowe Online. 2012-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
- ↑ "Second Garowe Conference Concludes". SomaliaReport. 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
- ↑ Ahmed, Muddassar (8 August 2012). "Somalia rising after two decades of civil war and unrest". Al Arabiya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
- ↑ "Somali parliament to elect new president". Al Jazeera English. 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
- ↑ Is Somalia ready for real democracy? เก็บถาวร 2015-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Al Jazeera, 3 August 2012
- ↑ "Garowe Online". Garowe Online. 2012-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
- ↑ "Garowe Online". Garowe Online. 2012-08-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.
- ↑ "Somali leaders back new constitution". BBC. 1 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "Somalia: Sheikh Sharif vs Newcomer Sheikh Mahamoud in Final Round of Presidential Elections". Garowe Online. 10 September. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Somalia Federal Parliament elects Hassan Sheikh Mohamud as President". Garowe Online. 10 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
- ↑ Mohamed, Mahmoud (17 August 2012). "Profiles of Somalia's top presidential candidates". Sabahi. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
- ↑ "Somalia: Electoral Commission releases criteria for candidates running for President". Garowe Online. 1 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.
- ↑ "Somalia President, H.E. Hassan Sheikh Mohamud hosted dinner at Villa Somalia". Warsheekh. 7 September 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ "Somalia president visits Mogadishu after Ethiopian victory". Garowe Online. 8 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-19. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.