ข้ามไปเนื้อหา

ปลากา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลากา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
Cypriniformes
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
Cyprinidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยปลาเลียหิน
Labeoninae
สกุล: สกุลลาเบโอ
Labeo
(Bleeker, 1850)
สปีชีส์: Labeo chrysophekadion
ชื่อทวินาม
Labeo chrysophekadion
(Bleeker, 1850)
ชื่อพ้อง
  • Chrysophekadion polyporos (Bleeker, 1853)
  • Morulius chrysophekadion (Bleeker, 1850)
  • Morulius pectoralis (Sauvage, 1878)
  • Rohita chrysophekadion Bleeker, 1850
  • Rohita cyanomelas Bleeker, 1852
  • Rohita koilogeneion Bleeker, 1857
  • Rohita pectoralis Sauvage, 1878
  • Rohita polyporos Bleeker, 1853
  • Rohita sima Sauvage, 1878

ปลากา[2] หรือ ปลากาดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Labeo chrysophekadion) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร[2]

ปลากามักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้

บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลาตัวอื่น[3]

ปลากายังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "ปลาเพี้ย" ในภาษาเหนือ, "ปลาอีตู๋" หรือ "ปลาอีก่ำ" ในภาษาอีสาน เป็นต้น ปัจจุบันปลากาเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vidthayanon, C. (2012). "Labeo chrysophekadion". The IUCN Red List of Threatened Species: 2012: e.T180648A1647393. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180648A1647393.en.
  2. 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 109.
  3. หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]