ปลาขี้ตัง
ปลาขี้ตัง | |
---|---|
(Scatophagus argus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลากะพง Perciformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะกรับ Scatophagidae |
สกุล: | ปลาขี้ตัง Scatophagus Cuvier in Cuvier and Valenciennes, 1831 |
ชนิดต้นแบบ | |
Chaetodon argus Linnaeus, 1766[1] | |
ชนิด | |
ดูข้อความ | |
ชื่อพ้อง[1] | |
ปลาขี้ตัง หรือ ปลาตะกรับ (อังกฤษ: Scats) เป็นปลาน้ำเค็มสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Scatophagus (/สะ-แคท-โท-ฟา-กัส/)
มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) คือ รูปร่างกลมและแบนข้างมาก แต่จะงอยปากไม่ยื่นยาว ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งแหลมคม รวมถึงก้านครีบก้น ซึ่งก้านครีบดังกล่าวมีสารพิษ ที่อาจตำหรือแทงถูกมือของผู้ที่จับต้องได้ แต่ทว่าก็ก่อให้เกิดพิษน้อยมาก[2]
ชนิด
[แก้]- Scatophagus argus (Linnaeus, 1766) – ปลาตะกรับ, ปลาเสือดาว
- Scatophagus tetracanthus (Lacépède, 1802) – ปลาตะกรับแอฟริกัน, ปลาตะกรับลาย
ชนิดที่สูญพันธุ์
[แก้]ฟอสซิล Eoscatophagus frontalis Tyler & Sorbini, 1999[4] (ชื่อพ้อง Scatophagus frontalis Agassiz, 1839) มีชีวิตในสมัยอีโอซีนตอนกลางที่อิตาลีตอนเหนือ ในชั้นหินมอนเตโบลคาที่มีต้นกำเนิดจากชั้นตะกอนดั้งเดิมของเทธีส[5][6]
คุณลักษณะ
[แก้]เป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้รากไม้หรือกองหิน สามารถรับประทานได้และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[7] [8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Eschmeyer, William N.; Fricke, Ron & van der Laan, Richard (บ.ก.). "Genera in the family Scatophagidae". Catalog of Fishes. California Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021.
- ↑ "ปลาทะเลที่มีพิษ ในน่านน้ำไทย". ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2021). Species of Scatophagus in FishBase. June 2021 version.
- ↑ Tyler, J.C. & Sorbini, C. 1999. Phylogeny of the fossil and recent genera of fishes of the family Scatophagidae (Squamipinnes). Boll. Mus. Civ. Stor. Nat. Verona 23
- pages 353–393
- ↑ L. Agassiz. 1842. Recherches Sur Les Poissons Fossiles. Tome IV (livr. 14). Imprimerie de Petitpierre, Neuchâtel 205-291 (French)
- ↑ Karl Albert Frickhinger: Fossilien Atlas Fische, Mergus-Verlag, Melle, 1999, ISBN 3-88244-018-X
- ↑ สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล. สารานุกรมปลาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทเอม ซัพพลาย, 2540. 170 หน้า. หน้า 156-157. ISBN 9748990028
- ↑ ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาทะเล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สารคดี, 2551. 192 หน้า. หน้า 164. ISBN 978-974-484-261-9
- ↑ Gisha SivanK. Venketesvaran, C.K. Radhakrishnan (15 September 2007). "Biological and biochemical properties of Scatophagus argus venom". Toxicon. Elsevier Ltd. 50 (4): 563–571. doi:10.1016/j.toxicon.2007.05.002. PMID 17599379.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Scatophagus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Scatophagus ที่วิกิสปีชีส์
- Parenti, Paolo (February 2004). "Family Scatophagidae Bleeker 1876" (PDF). Annotated Checklists of Fishes (36). ISSN 1545-150X.