ปลาทิลาเพีย
ปลาทิลาเพีย[2] (อังกฤษ: Tilapia, /tɪˈlɑːpiə/ tih-LAH-pee-ə) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดจำนวนมากนับร้อยชนิด จำพวกปลาหมอสี ในเผ่าปลาทิลาเพีย (โดยสกุลที่สำคัญ ได้แก่ Oreochromis,[3] Sarotherodon[4] และ Tilapia)[5] พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริกา โดยเป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เช่น หนอง, บึง, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, เขื่อนกักเก็บน้ำต่าง ๆ มีประโยชน์เป็นปลาเศรษฐกิจสำหรับการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน
|
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ คำว่า Tilapia เป็นรูปภาษาละตินของคำว่า thiape ในภาษาสวานา แปลว่า "ปลา"[6] และกลายมาเป็นชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1840 โดยแอนดรูว์ สมิท นักสัตววิทยาชาวสกอต และใช้เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดหลายชนิดมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งมีการจำแนกออกเป็นสกุลใหม่ ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[2] แต่ปัจจุบัน ได้มีการจำแนกใหม่จนเหลือเพียงแค่ 4 ชนิด โดยการวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอในปี ค.ศ. 2013[7]
ปัจจุบัน ปลาทิลาเพียเป็นปลาเศรษฐกิจน้ำจืดที่มีความสำคัญมากระดับโลก มีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เช่น ปลานิล (Oreochromis niloticus) ในประเทศไทย ที่ถูกนำเข้ามาเมื่อปี ค.ศ. 1965 จนได้มีการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายจากชนิดพันธุ์ดั้งเดิม เช่น ปลานิลจิตรลดา, ปลานิลแดง, ปลาทับทิม หรือปลานิลซูเปอร์เมล นับเป็นปลาน้ำจืดลำดับต้น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศ[8]การเพาะพันธุ์ปลานิลในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกสถิติในปี ค.ศ. 1974 นับจากนั้นมา ปลานิลหน้าฟาร์มได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 107,000 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท ปลานิลยังเป็นปลาน้ำจืดเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพสูงกว่าปลาชนิดอื่น ในปี ค.ศ. 2006 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า ประเทศไทยสามารถผลิตปลานิลได้เป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองลงมาจากประเทศจีน, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย[9]
และบางชนิดได้ถูกนำเข้ามาในฐานะปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอบัตเตอร์ (Heterotilapia buttikoferi)[10] และด้วยความที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย จึงกลายมาเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศต่าง ๆ[11] ในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย[11] รวมถึงประเทศไทย[8]
เนื้อปลาทิลาเพียมีประโยชน์ทางโภชนาการ มีสารอาหารประเภทโอเมกา3 ในสัดส่วนที่น้อยกว่าโอเมกา6 และในทางการแพทย์
ทั้งเกล็ดและหนังปลาทิลาเพียยังนำมาประยุกต์ใช้รักษาแผลผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟไหม้หรือไฟลวกได้ดีอีกด้วย โดยมีการทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศบราซิล โดยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 2 ปี[12]
ในเคนยา ได้มีการใช้ปลาทิลาเพียในการกินลูกน้ำเพื่อการควบคุมและกำจัดยุงซึ่งเป็นพาหนะของโรคมาเลเรีย[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fisheries and Aquaculture Department Statistics UN Food and Agriculture Department
- ↑ 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 160. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ "Oreochromis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. 16 August.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน (help) - ↑ "Sarotherodon". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. 16 August.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน (help) - ↑ "Tilapia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. 16 August.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน (help) - ↑ Chapman, Frank A. (July 1992). "Culture of Hybrid Tilapia: A Reference Profile". Circular 1051. University of Florida, Institute of Food and Agricultural Sciences. สืบค้นเมื่อ 2007-08-17.
- ↑ Dunz, A.R., and Schliewen, U.K. (2013). Molecular phylogeny and revised classification of the haplotilapiine cichlid fishes formerly referred to as “Tilapia”. Molecular Phylogenetics and Evolution, online 29 March 2013. doi:10.1016/j.ympev.2013.03.015
- ↑ 8.0 8.1 ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 116 หน้า. หน้า 100. ISBN 9744726555
- ↑ หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ, ในหลวงผู้ทรงงานหนักตลอดการครองราชย์ 70 ปี โดย ทีมเศรษฐกิจ. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21356: วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก
- ↑ "Keeping Tilapia in Aquariums". Tilapia. AC Tropical Fish. 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-19.
- ↑ 11.0 11.1 "Tilapia". Department of Agriculture, Fisheries and Forestry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-30.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "ตะลึง! แพทย์บราซิลใช้หนังปลานิล รักษาคนไข้ไฟไหม้ ทดลองใช้กับคนไข้แล้วกว่า 50 คน". เวอร์จินเรดิโอ. 2016-12-29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-28.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Petr, T (2000). "Interactions between fish and aquatic macrophytes in inland waters. A review". FAO Fisheries Technical Papers. 396.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Logan, Cheryl A.; Alter, S. Elizabeth; Haupt, Alison J.; Tomalty, Katharine; Palumbi, Stephen R. (2008). "An impediment to consumer choice: Overfished species are sold as Pacific red snapper". Biological Conservation. 141 (6): 1591–1599. doi:10.1016/j.biocon.2008.04.007. ISSN 0006-3207.
- FAO Fishery Information, Data and Statistics Service (1993). "Aquaculture production (1985-1991)". FAO Fisheries Circular. Food and Agriculture Organization of the United Nations. 815: 20–21.
- Trewavas, Ethelwynn (1983). Tilapiine fish of the genera Sarotherodon, Oreochromis and Danakilia. London: British Museum (Natural History). ISBN 0-565-00878-1.
- McCrary, Jeffrey K; Castro, Mark; McKaye, Kenneth R. (2005). "Mercury in Fish From Two Nicarguan Lakes: A Recommendation for Increased Monitoring of Fish for International Commerce" (PDF). Environmental Pollution. pp. 513–518. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 2016-06-30.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)