ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง
ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง เป็นเครื่องมือที่ใช้ยิงลำน้ำความเร็วสูง มักใช้ในการดับเพลิง การล้างยานพาหนะขนาดใหญ่ การปราบจลาจล และการทำเหมือง
ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงออกแบบมาใช้ครั้งแรกกับเรือดับเพลิง โดยเรือดับเพลิงลำแรกที่ใช้พบในลอสแองเจลิสในวันที่ 1 สิงหาคม 1919
สำหรับในการปราบจลาจลนั้น รถที่ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงมีใช้ครั้งแรกในประเทศเยอรมนีเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 ในสมัยใหม่ ผู้ควบคุมปืนดังกล่าวไม่ต้องไปเผชิญหน้ากับเหตุจลาจล โดยสามารถควบคุมได้จากในยานพาหนะโดยใช้จอย ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงที่ใช้เพื่อปราบจลาจลนั้นยังมีผลิตอยู่ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร แต่ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศแอฟริกาและเอเชียบางประเทศ
ในเรื่องความปลอดภัย การใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้[1] โดยมีบันทึกผู้เสียชีวิตในประเทศอินโดนีเซีย[2] ซิมบับเว[3] ตุรกี[4] ยูเครน[5] และเกาหลีใต้[6] ปืนดังกล่าวยังผลักผู้ถูกยิงกระแทกพื้นและทำให้เสื้อผ้าฉีกขาด ในปี 2010 ดีทริช วักแนร์ วิศวกรชาวเยอรมัน ถูกปืนฉีดน้ำแรงดันสูงทำให้หนังตาและจอประสาทตาได้รับบาดเจ็บ[7] ทำให้ตาบอดเกือบสนิท[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Anna Feifenbaum (25 February 2014). "White-washing the water cannon: salesmen, scientific experts and human rights abuses". OpenDemocracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ Sue Lloyd-Roberts (27 March 1997). "British arms help Jakarta fight war against its own people oveyr 2". The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
- ↑ "3 feared dead as police crush Zimbabwe protests". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2007.
- ↑ "Substance in water cannons in Gezi Park protests harmful and criminal, experts say - LOCAL". สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
- ↑ "Protester dies of pneumonia, allegedly caused by water cannons". สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
- ↑ "Seoul National University Hospital corrects cause of activist's death". Korea Times. 15 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
- ↑ "Injured Stuttgart 21 protestor could stay blind." The Local. 6 October 2010. Retrieved on 22 March 2014.
- ↑ "Wasserwerfer-Opfer bleibt auf einem Auge blind" [Water cannon victim blinded in one eye] (ภาษาเยอรมัน). 13 ตุลาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2011.
- ↑ "Blinded Stuttgart 21 protestor wants apology". 28 ธันวาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2011.