ข้ามไปเนื้อหา

ผู้หลบหนีเปลือย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทรยศพระคริสต์ โดยมีทหารไล่ตามจับมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร โดยอันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ (ประมาณ ค.ศ. 1522)

ผู้หลบหนีเปลือย (อังกฤษ: naked fugitive หรือ naked runaway) หรือ ชายหนุ่มเปลือย (อังกฤษ: naked youth) เป็นบุคคลไม่ปรากฏชื่อซึ่งถูกกล่าวถึงสั้น ๆ ในพระวรสารนักบุญมาระโก ภายหลังจากเหตุการณ์การจับกุมพระเยซูในสวนเกทเสมนีและการหลบหนีของสาวกทั้งหมดของพระองค์:

มีชายหนุ่มคนหนึ่งนุ่งห่มเพียงแค่ผ้าป่านผืนหนึ่งตามพระองค์ไป คนเหล่านั้นก็จับชายหนุ่มคนนั้น แต่เขาสลัดผ้าป่านผืนนั้นทิ้งแล้วเปลือยกายหนีไป[1]

บันทึกคู่ขนานในพระวรสารในสารบบอื่น ๆ ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้เลย

การสวมผ้าป่าน (กรีก: σινδόνα, sindona) ผืนเดียวถือว่าไม่สุภาพหรือผิดธรรมดา และยังมีบันทึกโบราณหลายแหล่งที่ระบุว่าเสื้อผ้าเช่นนี้หลุดออกได้ง่ายมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน[2]

การระบุตัวตน

[แก้]

ตั้งแต่สมัยโบราณมา มีหลายคนที่คาดเดาถึงตัวตนของชายหนุ่มผู้นี้ โดยเสนอว่าอาจเป็น:

วรรคในภายหลังของพระวรสารนักบุญมาระโกที่ว่า "เมื่อพวกนางเข้าไปในอุโมงค์ ก็เห็นชายหนุ่มคนหนึ่งใส่เสื้อคลุมยาวสีขาวนั่งอยู่ทางขวามือ"[9] มักถูกนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องราวผู้หลบหนีเปลือยนี้โดยผู้ที่อ่านในเชิงเปรียบเทียบ (แห่ง "สำนักสัญลักษณ์นิยม" โดยคำที่เรียกโดยโฮเวิร์ด เอ็ม. แจ็กสัน[10])

มีการคาดเดาว่าผู้หลบหนีเปลือยอาจมีต้นกำเนิดมาจากเรื่องเล่าพระทรมานที่อาจมีก่อนที่พระวรสารนักบุญมาระโกจะถูกเขียนขึ้น ในเอกสารยุคต้น ๆ เช่นนี้ การปิดบังชื่อของผู้หลบหนีอาจเพื่อปกป้องบุคคลนี้จากการข่มเหงของทางการ[11]: Note 8 [2]: 184 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน [1]
  2. 2.0 2.1 Bauckham, Richard (2017). Jesus and the Eyewitnesses: The Gospels as Eyewitness Testimony. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-1-4674-4680-8.
  3. Epiphanius of Salamis, Panarion 78.13.2
  4. Ambrose, Exp. Ps. 36 60.
  5. Chrysologus, Peter (2005). "Sermon 78". Selected Sermons. CUA Press. pp. 31–. ISBN 978-0-8132-0110-8.
  6. Allen, Rupert (2008). "Mark 14,51-52 and Coptic Hagiography" (PDF). Biblica. 89 (2): 265–268. JSTOR 42614826. Allen studies the origins of this theory and finds it first mentioned in a 13th-century manuscript.
  7. Haren, M. J. (1998). "The naked young man: a historian's hypothesis on Mark 14,51-52". Biblica. 79 (4): 525–531. JSTOR 42614166.
  8. Waetjen, Herman (1965). "The Ending of Mark and the Gospel's Shift in Eschatology". Annual of the Swedish Theological Institute.
  9. มาระโก 16:5
  10. Jackson, Howard M. (1997). "Why the Youth Shed His Cloak and Fled Naked: The Meaning and Purpose of Mark 14:51-52". Journal of Biblical Literature. 116 (2): 273–289. doi:10.2307/3266224. JSTOR 3266224.
  11. Cook, Michael J. (1978). Mark's Treatment of the Jewish Leaders. Brill. p. 54. ISBN 90-04-05785-4.