ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Goldenstar imperial/กฎของทิงเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราประจำตระกูลของ เคานต์แห่งแฟลนเดอร์ส เป็นตัวอย่างยุคแรกๆ ของระบบตราประจำตระกูลหรือมุทราศาสตร์ ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปอย่างน้อยถึงปี 1224 ตราสัญลักษณ์ส่วนใหญ่ในยุคแรกๆ ของการผูกตราสัญลักษณ์ใช้เพียงสีเดียวและโลหะเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งทำให้ผู้ผูกตราสัญลักษณ์ในยุคหลังเริ่มพิจารณาว่ามีกฎเกณฑ์ที่ไม่ได้ประกาศไว้เกี่ยวกับการใช้สีหรือไม่

บัญญัติทิงเจอร์ (อังกฤษ: Rule of tincture) หรือ บัญญัติสีแห่งมุทราศาสตร์ เป็นหลักปรัชญาการออกแบบที่มักพบในระเบียบการผูก ตราประจำตระกูล โดยมีกฎสำคัญที่เป็นหัวใจของกฎนี้คือ "ไม่ควรนำโลหะมาทาบนโลหะ หรือสีมาทาบนสี" [1] ขนสัตว์ที่ใช้สำหรับตราสัญลักษณ์ เช่น ขนเออร์มิน, ขนกระรอก และ ขนสัตว์ ที่ถูกอธิบายว่า "เหมาะสมตามหลักมุทราศาสตร์" ส่วนใหญ่มักจะได้รับการยกเว้นจากบัญญัตินี้ ซึ่งโดยรวมแล้วหลักการและหัวใจสำคัญที่สามารถยืนยันได้ถึงการใช้งานบัญญัตินี้ คือ การผูกตราสัญลักษณ์แบบใดก็ตาม ควรคำนึงถึงการมองเห็นจากระยะไกลเป็นสำคัญ ทำให้กฎนี้ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวอย่างชัดเจน อีกทั้งมุทราศาสตร์ในแต่ละแขนงยังมีรูปแบบการวางตราสัญลักษณ์, การวางสี ตลอดจนรูปแบบวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้น้ำหนักของการบังคับใช้กฎดังกล่าวไม่ได้มีความเข้มงวดมากนัก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้บัญญัตินี้ ปรากฏครั้งแรกในเอกสาร Argentaye ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับตราประจำตระกูลที่มีอายุย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1410, Liber Armorum มีอายุในช่วงประมาณ ค.ศ. 1440 และ Blason des Couleurs ที่มีอายุในช่วง ค.ศ. 1440 – 1450 โดยเอกสารข้างต้นนอกจากกล่าวถึงหลักการอื่นๆ ที่เป็นหลักในการผูกตราประจำตระกูลแล้ว ยังมีการกล่าวถึงบัญญัติทิงเจอร์อยู่ด้วย โดยบัญญัตินี้เป็นเพียงการคาดเดาของนักมุทราศาสตร์เท่านั้น ข้อความก่อนหน้านี้ อาทิเช่น สาส์น De Heraudie ในปี ค.ศ. 1340 ไม่ได้กล่าวถึงบัญญัติดังกล่าวเลย แม้กระทั่งในส่วนของเนื้อหาที่กล่าวถึงทิศทางของตราที่ละเมิดกฎดังกล่าวไม่มีการบันทึกไว้อย่างที่ควรจะเป็น

แม้กระทั่งนักเขียนคนอื่นๆ ในศตวรรษที่ 14 เช่น บาร์โตโลและโยฮันเนส เดอ โบโด ออเรโอ ก็ไม่ได้กล่าวถึงกฎนี้เช่นกัน [2] สมมติฐานสมัยใหม่ได้โต้แย้งว่า การทาสีทับสีและฝังโลหะ ด้วยหลักการที่มีอยู่ในช่วงต้นยุคกลางนั้น ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ทฤษฎีที่แนะนำว่าการใช้งานที่ง่ายที่สุดก็คือ การทาสีเดียวทับบนโล่โลหะ โดยหลักการและข้อกำหนดดังกล่าวที่เกิดขึ้นในยุคกลางได้ถูกตีความอย่างผิดๆ เรื่อยมา กระทั่งในสามศตวรรษต่อมา หลักการดังกล่าวได้ถูกตั้งชื่อตามหลักการที่เกิดขึ้นว่า บัญญัติทิงเจอร์

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 บัญญัติทิงเจอร์ได้เริ่มแพร่หลายในหลายประเทศ และได้รับความนิยมอย่างมากในบริเตนใหญ่และฝรั่งเศส [2] ในยุควิกตอเรีย บัญญัติสีถูกพิจารณาให้เป็นกฎหมายตราประจำตระกูลโดยพฤตินัย ในอังกฤษ แต่การยึดมั่นตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเคร่งครัดกลับพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากมุทราศาสตร์ในยุคหลังมีความซับซ้อนมากขึ้น นักมุทราศาสตร์ในสมัยวิกตอเรียได้คิดค้นข้อยกเว้นทางเทคนิคหลายประการสำหรับบัญญัติทิงเจอร์ในช่วงเวลานี้ โดยการอนุญาตเหล่านี้ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ในฐานะ "ข้อยกเว้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย" สำหรับบัญญัติดังกล่าว

ในสังคมยุคใหม่ บัญญัติสีนี้ได้รับการนำมาใช้โดยหน่วยงานด้านตราสัญลักษณ์ เช่น สำนักมุทราศาสตร์แห่งอังกฤษ หรือ College of Arms และสังคมแทบทุกแห่ง

กฎการใช้และข้อยกเว้น

[แก้]

ผู้สนับสนุนบัญญัติทิงเจอร์บางราย ได้โต้แย้งว่าหน้าที่หลักของ ตราประจำตระกูล คือการให้จดจำได้ง่าย และ ผิวตรา บางอย่างจะแยกแยะได้ยากหากวางไว้ด้านบนหรือทับกัน ทำให้นักวิจารณ์ได้มีการโต้แย้งว่า ข้อยกเว้นมีจำนวนมากเกินไปจนกฎเกณฑ์แทบไม่มีความหมายเลย [2] กฎของการย้อมสีตามที่ Humphrey Llwyd ได้อธิบายไว้ในปี ค.ศ. 1568 ระบุว่า "ไม่ควรทาโลหะบนโลหะ หรือทาสีบนสี" โลหะที่ใช้ในตราสัญลักษณ์คือ สี Or (สีทอง) และสีเงิน ส่วนสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง คราบต่างๆ ถือเป็นสีตามจุดประสงค์ของกฎ

อย่างไรก็ตาม บัญญัติทิงเจอร์เป็นบัญญัติที่กล่าวถึงการบังคับใช้สีในมุทราศาสตร์เป็นสำคัญ จึงไม่ได้รวมถึงการบังคับใช้กับสัญลักษณ์ประเภท ขนสัตว์ เช่น ขนของตัวเออร์มิน, ขนกระรอก หรือกับสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องหรือแทนสัญลักษณ์ทางธรรมชาติ ตลอดจน เครื่องหมาย "ที่เหมาะสมบางประการ" [3] บัญญัติทิงเจอร์จะไม่สามารถใช้ได้เมื่อสัญลักษณ์ประกอบด้วยทั้งสีและโลหะ อีกทั้งสามารถวางบนผิวตราที่เป็นสีหรือโลหะก็ได้ [4]

คำอธิบายเกี่ยวกับสี ตราสัญลักษณ์พร้อมชื่อสามัญ

การแบ่งโล่ แบบเรียบง่าย คือ การแบ่งสีเป็นช่องที่แยกออกจากกันโดยไม่ใช่อยู่ทับซ้อนกัน ดังนั้นบัญญัติทิงเจอร์จึงไม่สามารถใช้ได้ในกรณีนี้ พื้นที่ช่องต่างๆ ภายในโล่หรือลวดลายที่มีสีและสีโลหะ อาจมีการวางสัญลักษณ์ที่เป็นสีหรือสีโลหะไว้บนนั้น [5] ในทำนองเดียวกัน การที่มีสัญลักษณ์หรือมีลวดลายของสีและโลหะสามารถวางบนพื้นที่โล่ที่เป็นสีหรือโลหะก็ได้ Boutell [6]

การสร้างเส้นขนแบ่งช่องโล่ (fimbriation) ซึ่งคือการตีเส้นระหว่างช่องภายในโล่ใหญ่ด้วยขอบบางๆ มักใช้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดที่ถือเป็นการละเมิดต่อกฎดังกล่าว โดยมุทราศาสตร์แต่ละแขนงจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น แขนงฝรั่งเศส เรียกว่า ดิวิเซ่ (dimise), แขนงอังกฤษเรียกว่า ฟิเลต์ (fillet) เป็นต้น

นอกจากนี้ ข้อยกเว้นในการบังคับใช้บัญญัติทิงเจอร์บางประการ นอกจากจะไม่ได้เหมารวมถึงการบังคับใช้สัญลักษณ์ทางธรรมชาติแล้ว ยังรวมถึงกรงเล็บ เขา กีบ และลิ้นของสัตว์ ด้วย

ฟ็อกซ์-เดวีส์ เขียนว่า "สิงโตและสัตว์อื่นๆ มักจะมีการเพิ่มส่วนลิ้นและกรงเล็บที่มีสีที่ต่างจากสัตว์ตัวนั้น หากตัวมันเองไม่ได้เป็นสีแดง ลิ้นและกรงเล็บของมันมักจะถูกแทนด้วยสีนั้นๆ เว้นแต่สิงโตจะอยู่บนพื้นสีแดง ลิ้นและกรงเล็บของมันจะถูกแทนด้วยสีฟ้า ซึ่งหมายถึง 'เพิ่มสิ่งหนึ่งและเบาสิ่งหนึ่ง' หากมีสีนั้น สีนั้นจะต้องเป็นอีกแบบ" [4] [7] นอกจากนี้ ฟ็อกซ์-เดวีส์ เขียนว่า "ความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงินนั้นชัดเจน ฉะนั้น ป้ายสีขาวบนสิงโตสีทองนั้นไม่ถือเป็นโลหะบนโลหะ" เช่นเดียวกับสีขาวบนเงินหรือสีเหลืองบนออร์ (สีทอง) เมื่อตราสัญลักษณ์เป็นเช่นนี้ แม้ว่าเงินและ Or มักจะถูกแทนด้วยสีขาวและสีเหลืองตามลำดับในตราสัญลักษณ์ [4]

การละเมิดอีกประการหนึ่งที่มักไม่มีการบังคับใช้อย่างชัดเจนคือ ภูเขาสีเขียว บน พื้นอาเซอร์ (สีน้ำเงิน) ซึ่งแทนถึงท้องฟ้า และรวมถึงสัญลักษณ์บางอย่าง เช่น ทะเล คลื่น หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันก็ถือเป็นข้อยกเว้น อาทิ ตราแผ่นดินของฮังการี ยังปรากฏรูปสามเหลี่ยมสีเขียวด้วย ในกรณีนี้ พื้นจะเป็นสีกลูส์ (สีแดง) ตามหลักบัญญัติทิงเจอร์จึงไม่ควรใช้สัญลักษณ์ภูเขาสีเวิร์ธ (สีเขียว) นี้ แต่กลับมีการใช้ภูเขาสามยอดสีเขียว ซึ่งขัดต่อบัญญัติดังกล่าวอย่างที่ควจะเป็น

อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งจากบางฝ่ายว่าการวางสัญลักษณ์ดังกล่าวในแนวตั้งหรือแนวนอนนั้นเริ่มจากฐานของโล่แทนที่จะเป็นพื้นที่สีบนโล่ ซึ่งทำให้กฎดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้ได้

เครื่องหมายภายในโล่ เครื่องหมายแสดงความแตกต่าง สัญลักษณ์ทางกายภาพของมนุษย์ หรือ กายวิภาค ก็ได้รับการยกเว้นจากกฎเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน ตามที่ฟ็อกซ์-เดวีส์กล่าว กฎของทิงเจอร์นั้นไม่ได้นำไปใช้กับตราสัญลักษณ์หรือตัวรองรับ ยกเว้นในกรณีที่ตราสัญลักษณ์หรือประคองข้างนั้นถูกวางเป็นตราภายในโล่จำนวนหนึ่งชิ้นหรือมากกว่า [8]

หนึ่งใน armes à enquérir ที่น่าอับอายที่สุด และมักกล่าวกันอย่างผิดๆ ว่าเป็นเพียงตัวอย่างเดียว ก็คือ ตำแหน่งตราสัญลักษณ์ที่เชื่อกันว่าเป็นของราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม ตำนานเล่าว่า กอดฟรีย์แห่งบูยง เลือก ไม้กางเขนสีเงินที่อยู่ระหว่างไม้กางเขนทองคำสี่อัน

กฎการใช้สีนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวดในบริเตนใหญ่และฝรั่งเศส จนถึงขนาดที่ว่า ตราอาร์มที่ละเมิดกฎนี้จะเรียกว่า armes fausses หรือ armes à enquérir ในทำนองเดียวกัน ในตราประจำตระกูลของอิตาลี การละเมิดจะถูกเรียกว่า per inchiesta [9] การละเมิดกฎใดๆ ก็ตาม ถือเป็นการตั้งคำถามว่า ตำแหน่งตราประจำตระกูลมารวมถึงการละเมิดกฎทิงเจอร์ได้อย่างไร [2]

ตัวอย่างของตราอาร์มที่ละเมิดกฎ "สีทับสี" คือ ตราอาร์มของ แอลเบเนีย ที่มีนก อินทรีสองหัว สีดำอยู่บนพื้นสีแดง อย่างไรก็ตาม นักมุทราศาสตร์บางคนในแขนงมุทราศาสตร์ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ถือว่าสีดำมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งโลหะและสี [10] ไม่ใช่เป็นสีเฉพาะอย่างในยุโรปตะวันตก ดังนั้นการผสมสีดำกับสีอื่นๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก

กฎนี้มักถูกละเมิดจากการวาง ช่องแบ่งสี ซึ่งทำให้นักมุทราศาสตร์บางคนตั้งคำถามว่ากฎนี้ควรใช้กับช่องแบ่งสีหรือไม่ หรือแม้กระทั่งพิจารณาว่าช่องแบ่งสี เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งหรือไม่ มากกว่าที่จะเป็นหน่วยแบ่งสี การละเมิดเหล่านี้มักเกิดขึ้นในกรณีของ ตราประจำตระกูล และ สัญลักษณ์ทางภูมิทัศน์อื่นๆ อาทิ ตราประจำเมืองของฝรั่งเศส ซึ่งมีช่องแบ่งสี ตราแห่งแฟรงก์ วางอยู่บ่อยครั้ง (เช่น "Azure, three fleurs-de-lys or หรือ ลิลลี่สีทองสามดอกบนพื้นสีน้ำเงิน" ในสมัยโบราณ "Azure, semée-de-lys or") มักละเมิดกฎนี้เมื่อพื้นเป็นสี

ตราประจำตระกูลที่ปรากฏบนผ้าทอที่มีชื่อเสียงเรื่อง The Lady and the Unicorn (ปารีส ราวปี ค.ศ. 1500) [11] ได้ระบุโดยนักมุทราศาสตร์จนถึงปัจจุบันว่าเป็นสายที่สืบทอดจากแขนงอื่นๆ ที่เก่าแก่กว่าและช่องแบ่งสีของตระกูล Le Viste คือ Jean IV Le Viste แต่เครื่องหมายนี้ละเมิดกฎเกณฑ์ของตราประจำตระกูลฝรั่งเศสอย่างโจ่งแจ้ง การศึกษาใหม่เกี่ยวกับผ้าทอพรมผืนนี้ชี้ให้เห็นถึงความน่าจะเป็นที่ทายาทอย่างแอนตวนที่ 2 เลอ วิสต์ จะเข้ามาแทรกแซงในฐานะผู้สนับสนุนผ้าทอพรมผืนนี้ และชี้ให้เห็นว่าการซ้อนทับสีที่ไม่ถูกต้องอาจเป็นเพียง ความแตกต่าง เท่านั้น [12]

ในตราประจำตระกูลของฝรั่งเศส คำว่า cousu ("เย็บ") มักปรากฏในตราสัญลักษณ์ซึ่งใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎ แม้ว่าจะใช้คำนี้กันทั่วไป แต่บางครั้งก็มีการแยกแยะระหว่าง cousu ซึ่งเป็นสีทับสี และ soudé ("บัดกรี หรือ ผสม") ซึ่งเป็นการวางโลหะบนโลหะ แม้ว่าคำนี้จะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปแล้วก็ตาม

แกลเลอรี่

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Humphrey Llwyd, 1568
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "The Rule of Tinctures". อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Heraldica" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Fox-Davies, p. 86.
  4. 4.0 4.1 4.2 Fox-Davies, Arthur Charles (1909). A Complete Guide to Heraldry. T. C. & E. C. Jack. London. pp. 71, 86, 173. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. "Ortenburger Wappenbuch". สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
  6. Boutell, p. 43.
  7. Clark, Hugh and J. R. Planché (1866). An Introduction to Heraldry. With nearly one thousand illustrations; including the arms of about five hundred different families. Eighteenth Edition. Bell & Daldy. London. pp. 32–34.
  8. Fox-Davies, p. 87.
  9. Mendola, Louis. "Distinguishing Characteristics of Medieval Italian Heraldry". Regalis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  10. William Dwight Whitney & Benjamin Eli Smith (eds.) The Century Dictionary and Cyclopedia, revised ed., volume VIII (New York: The Century Co.) page 6345.
  11. Musée national du Moyen Âge (former Musée de Cluny), Paris
  12. Carmen Decu Teodorescu, "La tenture de la Dame à la licorne : nouvelle lecture des armoiries", in Bulletin Monumental n° 168-4, 2010, pp. 355–367, Société française d'Archéologie. While underscoring the weakness of the arguments in favour of the name Jean IV Le Viste, a new reading of the documentary sources appears to lend credence to Decu Teodorescu's hypothesis in favour of Antoine II Le Viste as a sponsor of the Lady and the Unicorn.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • บาลโฟร์ พอล เจมส์ (2436) อาวุธปืนธรรมดาที่อยู่ในทะเบียนสาธารณะของอาวุธปืนและส่วนประกอบทั้งหมดในสกอตแลนด์ วิลเลียม กรีน แอนด์ ซันส์
  • Boutell, Charles และ AC Fox-Davies (2003) ตราสัญลักษณ์ของอังกฤษ สำนักพิมพ์ เคสซิงเจอร์ISBN 0-7661-4917-Xหมายเลข ISBN 0-7661-4917-X .
  • ฟ็อกซ์-เดวีส์, อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ และเกรแฮม จอห์นสตัน (1978) คู่มือเกี่ยวกับตราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ นิวยอร์ก: โบนันซ่า บุ๊คส์.ISBN 0-517-26643-1หมายเลข ISBN 0-517-26643-1 .
  • ไฮม์, บรูโน่ เบอร์นาร์ด (1994). หรือและอาร์เจนต์ เจอร์ราร์ดส ครอส, สหราชอาณาจักร: ฟาน ดูเรนISBN 0-905715-24-1หมายเลข ISBN 0-905715-24-1 .
  • ลอยด์แห่งเดนบีห์ ฮัมฟรีย์ (ค.ศ. 1568) ดอสบาร์ธ อาร์โฟว์
  • นอยเบคเกอร์, ออทท์ฟรีด (1997). ตราสัญลักษณ์: แหล่งที่มา สัญลักษณ์ และความหมาย ลอนดอน: Tiger Books InternationalISBN 1-85501-908-6หมายเลข ISBN 1-85501-908-6 .
  • สแปเนอร์, ฟิลิป เจคอบ (1690) อินซิกเนียม เธียเรีย แฟรงค์เฟิร์ต บันทึกของหอสมุดรัฐสภา
  • วูดค็อก, โทมัส และจอห์น มาร์ติน โรบินสัน (1988) คู่มือด้านตราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อ็อกซ์ฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดISBN 0-19-211658-4หมายเลข ISBN 0-19-211658-4 .

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]