ข้ามไปเนื้อหา

พรรคเอกภาพดยัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรรคเอกภาพดยัก (Dayak Unity Party ภาษาอินโดนีเซีย: Partai Persatuan Dayak, PPD) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซียซึ่งเป็นตัวแทนของชาวดยัก เป็นพรรคการเมืองไม่กี่พรรคที่ก่อตั้งในเวลาเดียวกันที่เน้นชนกลุ่มน้อย[1][2] โอวาอัง โอราย หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคเป็นหนึ่งในรัฐบาลชุดแรกของกาลีมันตันตะวันออก และเป็นหัวหน้าพรรคด้วย[2][3]

ยุคแรก

[แก้]

เมื่อ 30ตุลาคม พ.ศ. 2488 สมาคมกิจกรรมดยักได้จดทะเบียนในปูตุสซีเบา ผู้ก่อตั้งหลายคนมีอาชีพเป็นครู ผู้นำพรรคคือ เอฟ ซี ปาลาอุนโซกา มีอาชีพเป็นครูเช่นกัน อีก 1 ปีต่อมา พรรคได้พัฒนาเป็นพรรคเอกภาพดยัก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 องค์กรบริหารเนเธอร์แลนด์อีสต์อินดีสได้เลือกสมาชิกนี้ 7 คน เข้าร่วมในสภากาลีมันตันตะวันตกซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 40 คน และครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารกาลีมันตันตะวันตกมาจากพรรคเอกภาพดยัก[4]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2498

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมื่อ พ.ศ. 2498 พรรคเอกภาพดยักได้คะแนน 0.4% และได้ 1 ที่นั่งจากกาลีมันตันตะวันตก[5][6] การเลือกตั้งระดับจังหวัดในปีเดียวกันพรรคนี้ได้ 9 ที่นั่ง[2]

คว่ำบาตร

[แก้]

ใน พ.ศ. 2502 ซูการ์โนได้ประกาศคว่ำบาตรพรรคการเมืองที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย พรรคเอกภาพดยักได้สลายตัวไป หลังถูกคว่ำบาตร โอรายเข้าร่วมกับพรรคอินโดนีเซียหรือปาร์ตินโด สมาชิกอื่นๆของพรรคเข้าเป็นสมาชิกพรรคคาทอลิก[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bertrand, Jacques. Nationalism and Ethnic Conflict in Indonesia. Cambridge Asia-Pacific studies. Cambridge, UK: Cambridge University Press, 2004. pp. 52-53
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Erb, Maribeth, and Priyambudi Sulistiyanto. Deepening Democracy in Indonesia?: Direct Elections for Local Leaders (Pilkada). Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2009. p. 348
  3. 3.0 3.1 Peluso, Nancy Lee, and Michael Watts. Violent Environments. Ithaca: Cornell University Press, 2001. pp. 99-100
  4. Davidson, Jamie Seth. From Rebellion to Riots: Collective Violence on Indonesian Borneo. New perspectives in Southeast Asian studies. Madison, Wis: University of Wisconsin Press, 2008. pp. 37-40
  5. Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 435
  6. Young, Crawford. The Politics of Cultural Pluralism. Madison, Wis: Univ. of Wisconsin P., 1976. p. 352