พระนางภัทรา
ภัทรา | |
---|---|
ชายาท้าวกุเวร เทพนารีแห่งทิศเหนือ โค ความมั่งมี และทรัพย์สิน | |
ส่วนหนึ่งของ เทพีผู้รักษาอัฐโลกบาล | |
จิตรกรรมเจ้าแม่ภัทรา (กลาง) พร้อมด้วยท้าวกุเวร (ขวา) เข้าถวายพระพรนางสตีเทวี (ซ้าย) ศิลปะแบบประเพณีอินเดียปัจจุบัน | |
ชื่ออื่น | กุเวรี กุเวรศักติ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ศักติท้าวกุเวร พระเทวี เทพีอัฐโลกบาล เทพมารดร นิกายศักติ อาทิปราศักติ |
ที่ประทับ | กุเวรโลกและเทวสภา |
มนตร์ | เทวีภัทรามนตร์ |
พาหนะ | พังพอน ม้า |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ท้าวกุเวร พระกฤษณะ |
บุตร - ธิดา | คันธมาทน์ (ในรามายณะ) พระนลกุวร พระมณีภัทร |
ภัทรา (Sanskrit: भद्रा ) ในศาสนาฮินดูหมายถึงพระเทพีองค์หนึ่งอันมีหลายอิสริยยศเกียรติยศหลายฐานะ — ได้แก่ชายาแห่งท้าวกุเวร บุตรีพระจันทร์ และชายาแห่งพระกฤษณะอันเป็นเชษฐาของพระพลเทพและ พระนางสุภัทรา[1] และโยคินีสหายอัศวินสตรี (อัษฏะนายิกา) ของทุรคา[2][3][4]
ภัทรา หรือ นามคำไวพจน์ของนางอื่น ๆ เช่น ยักษี, ชหวี (Chhavi), ริทธิ, มโนหระ[5], นันธี[6], สหเทวี [7] และกุเวรี เป็นเทพีแห่งศิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล และคืออิตถีพละภริยาของท้าวกุเวร ในเทพปกรณัมพราหมณ์ ฮินดูกล่าวว่า นางคือบุตรีแห่งพญาอสูรนามว่า มูระ โดยมีบุตรสามองค์ คือ พระนลกุวร พระมณีภัทร และมยุราช และบุตรี คือ นางมีนากษี (Minakshi) ต่อมานางได้เสด็จไปประทับสถิตย์ ณ นครอลกาปุรี (Alkapuri) พร้อมด้วยภัสดาของนาง หลังจากราวณะทำการรัฐประหารชิงราชสมบัติพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครลงกา (ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา)[8][9][10][11]
บางในเทพปกรณัม เช่น มหาภารตะ นางภัทราคือบุตรีของพระจันทร์ (หรือ พระอาทิตย์) และได้เสกสมรสกับพระฤๅษีอุฒัฑยะ และพระพิรุณอันทรงปารถนาด้วยจิตปฏิพัทธ์ต่อนางนั้นได้ชิงตัวนางไปจากอาศรมของพระฤๅษีภัสดาของนาง และมิยอมคืนนางแด่พระฤๅษีนารอด อันเป็นทูตมาเจรจานำพานางกลับคืนแด่ภัสดาของนาง พระฤๅษีอุฒัฑยะจึงสำแดงฤทธานุภาพด้วยการบันดาลให้น้ำแลมหาสมุทรทั้งหลายในอาณัติของพระพิรุณแห้งเหือดไปเป็นการอบรมเพื่อการสำนึกของความผิดอันได้ปฏิบัติลงไป แลอธิษฐานอาญาสิทธิ์ว่า
"สรัสวดีจงหายไปในทะเลทราย และให้ดินแดนนี้ซึ่งถูกชาวประชาทิ้งร้าง กลายเป็นมลทิน"
"เมื่อแผ่นดินแห้งผากแล้ว พระวรุณาก็ยอมจำนนต่อพระฤๅษีอุฒัฑยะและนำภัทราถวายคืนมาแด่พระฤๅษีภัสดาของนาง และพระฤๅษีอุฒัฑยะจึงคืนน้ำแลมหาสมุทรทั้งหลายในอาณัติของพระพิรุณอันแห้งเหือดไปกลับคืนมาดังเดิม"[12]
นางเป็นหนึ่งในอัษฏะภริยา ชายาทั้งเแปดนางของพระกฤษณะ ตามเทพปกรณัมในคัมภีร์ภควัตปุราณะ นามของนางปรากฏในคัมภีร์เทพปกรณัมนี้ในฐานะชายาองค์ที่แปดของพระกฤษณะ ระบุว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ (ไม่ขนาน) (มารดาของนางเป็นขนิษฐาของปิตุลา) คัมภีร์เทพปกรณัมวิษณุปุราณะและหริวังศะกล่าวว่านางเป็นบุตรีของธริชตะเกตุ หรือ ราชธิดาแห่งแคว้นโกศล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 75. OCLC 500185831.
- ↑ 1) Bangala Bhasar Abhidhaan ( Dictionary of the Bengali Language) Shishu Sahitya Samsad Pvt Ltd. 32A, APC Road, Kolakata – 700009, Volume 1, p.151. (ed. 1994)
- ↑ Manorama Year Book (Bengali edition) Malyala Manorama Pvt. Ltd., 32A, APC Road, Kolkata- 700 009 (ed.2012), p.153
- ↑ "(12) Eight Companions of the Mother »". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-27.
- ↑ Brahmavaivarta Purana Brahma Khanda (Khanda I) Chapter 5 Verse 62, English translation by Shantilal Nagar Parimal Publications Link: https://archive.org/details/brahma-vaivarta-purana-all-four-kandas-english-translation
- ↑ Devdutt Pattanaik's 7 SECRETS OF THE GODDESS, Chapter 5. Lakshmi's Secret Page 180
- ↑ Padma Purana Srishti Khanda First Canto Chapter 5.Verse 15, English translation by Motilal Bansaridas Publications Book 1 Page 41, Link: https://archive.org/details/PadmaPuranaVol05BhumiAndPatalaKhandaPages15651937ENGMotilalBanarsidass1990_201901/Padma-Purana%20Vol-01%20-%20Srshti-Khanda%20-%20pages%201-423%20ENG%20Motilal%20Banarsidass%201988
- ↑ Daniélou, Alain (1964). "Kubera, the Lord of Riches". The myths and gods of India. Inner Traditions / Bear & Company. pp. 135–7.
- ↑ Wilkins, W. J. (1990). Hindu Mythology, Vedic and Puranic. Sacred texts archive. pp. 388–93. ISBN 1-4021-9308-4.
- ↑ Knapp, Stephen (2005). The Heart of Hinduism: The Eastern Path to Freedom, Empowerment and Illumination. iUniverse. pp. 192–3. ISBN 0-595-79779-2.
- ↑ "Puranic encyclopaedia : A comprehensive dictionary with special reference to the epic and Puranic literature". 1975.
- ↑ Dalal, Roshen (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books India. ISBN 978-0-14-341421-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าแม่ภัทรา