ข้ามไปเนื้อหา

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ
พระสัมพันธวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติพ.ศ. 2315
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2395
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
พระมารดาพระชายาทองอยู่

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ (พ.ศ. 2315 — พ.ศ. 2395) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่

พระประวัติ

[แก้]

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2315[1] เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับเจ้าครอกทองอยู่ เดิมมีพระนามว่า หม่อมเจ้ากระจับ ต่อมาใน พ.ศ. 2329 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้ากระจับ

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ มีพระโสทรภราดา และพระโสทรภคินี 5 พระองค์ คือ

  1. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระนามเดิม ปาน) ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์
  2. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระนามเดิม บัว)
  3. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (พระนามเดิม แตง) ต้นราชสกุลเสนีวงศ์
  4. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์
  5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล

ภายหลังจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ทิวงคต พระองค์เจ้ากระจับ ทรงสร้างพระพุทธฉายจำลองขึ้นในวัดอมรินทรารามวรวิหาร มีลักษณะเป็นภูเขามีความสูง 3 วา 2 ศอก กว้างโดยรอบ 19 วา[2] เพื่อเป็นพระราชกุศลอุทิศถวายพระบิดา

หลังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขทิวงคต พระราชวังหลังแบ่งเป็น 4 วัง วังเดิม อันเป็นพระราชมณเฑียรของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนั้น พระชายาทองอยู่ประทับปกครองเชื้อวงศ์ของกรมพระราชวังหลังอยู่กับพระองค์เจ้ากระจับ และพระองค์เจ้าจงกล[3] เมื่อพระชายาทองอยู่สิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้ากระจับทรงปกครองเจ้านายวังหลังมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ครั้งเมื่อพระองค์เจ้ากระจับสิ้นพระชนม์ เชื้อสายเจ้านายวังหลังไม่มีความสามารถรักษาพระราชวังบวรสถานพิมุขไว้ได้จึงได้ปล่อยให้รกร้างผุพังไป

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2395 สิริพระชันษา 80 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดอมรินทราราม[1]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  2. "วัดอมรินทรารามวรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  3. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังเก่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 178 หน้า. หน้า 15. ISBN 978-616-508-214-3