พระเจ้าจินฮึงแห่งซิลลา
พระเจ้าจินฮึงแห่งซิลลา | |
---|---|
พระราชาแห่งชิลลา | |
พระราชาลำดับที่ 24 แห่ง ชิลลา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1083 - พ.ศ. 1119 |
ก่อนหน้า | พ็อบฮึง |
ถัดไป | จินจี |
ประสูติ | พ.ศ. 1069 |
สวรรคต | พ.ศ. 1119 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ชิลลา |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้าจินฮึงแห่งซิลลา | |
---|---|
ฮันกึล | 진흥왕 |
ฮันจา | 王眞兴 |
อักษรโรมันฉบับปรับปรุง | Jinheung wang |
พระเจ้าจินฮึงแห่งซิลลา (เกาหลี: 진흥왕, ค. ค.ศ. 540 – ค.ศ. 576) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 24 แห่ง ชิลลา[1] หนึ่งใน สามก๊กแห่งเกาหลี เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของชิลลาและเป็นผู้ขยายดินแดนของให้ชิลลากว้างใหญ่ขึ้นและได้ทำสงครามกับพระเจ้าซอง กษัตริย์ที่ 26 ของแพคเจ ที่สมรภูมิเหนือแม่น้ำฮัน พระองค์ชนะการต่อสู้นี้และขยายอาณาเขตของชิลลาอย่างกว้างขวาง
ครองราชย์
[แก้]พระเจ้าจินฮึงแห่งซิลลาครองราชย์ตั้งแต่อายุยังน้อยสืบต่อจาก พระเจ้าพ็อบฮึง (Beopheung ค.ศ.514-540) ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 7 พรรษาซึ่งยังเด็กเกินไปปกครองอาณาจักรในเวลานั้นพระราชมารดาของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการต่อมาพระองค์ได้แสดงอำนาจของกษัตริย์ที่แท้จริงของชิลลาโดยการแต่งตั้งคนชื่อ คิม ซึบู เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 541 ในขณะที่พระองค์ใช้สันติภาพเป็นนโยบายของพระองค์กับอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยท่านเป็นพันธมิตรกับแพคเจเพื่อให้สามารถโจมตีอาณาจักรทางเหนือคือโคกูรยอจากผลของนโยบายนี้ใช้พันธมิตรโจมตีในศึกที่แม่น้ำ Han ชัยชนะจึงตกเป็นของอาณาจักรแพคเจและอาณาจักรชิลลา ซึ่งทั้งสองมีข้อตกลงที่แยกดินแดนให้เท่าเทียมกัน
กษัตริย์องค์ที่ 26 แห่งแพคแจภายหลังจากถูกซิลลาและโคกูรยอโจมตีพ่ายแพ้ระหว่างเดินทางกลับถูกจับโดยหน่วยลาดตระเวนของชิลลาและถูกสังหารพร้อมกับบรรดาผู้ที่ติดตามพระองค์พระเจ้าจินฮึงพัฒนาบ้านเมืองเป็นเวลาเจ็ดปี ก่อนที่จะส่ง แม่ทัพ Kim Isabu เพื่อพิชิต Daegaya ในปี ค.ศ. 561 พระเจ้าจินฮึงมีรับสั่งให้สร้างเมืองในพื้นที่ใหม่ของเขาและจัดตั้งจังหวัดขึ้นในอาณาจักรซึ่งเป็นดีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมในอาณาจักรของเขาใน ค.ศ. 576 ก่อตั้ง Hwarang และพวกเขาจะมามีบทบาทอย่างมากในรวมกันของสามก๊กของเกาหลีและสวรรคตในปีเดียวกันนั้นเอง
ความหวังที่ต้องการรวมพระราชอาณาจักรของพระองค์เพื่อก่อตั้งเกาหลี เพื่อเป็นการรวมชาติ ทำให้ทุกวันนี้พระองค์ได้รับการจดจำในฐานะหนึ่งในผู้ปกครองสูงสุดของชิลลาและเกาหลี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Il-yeon: Samguk Yusa: Legends and History of the Three Kingdoms of Ancient Korea, translated by Tae-Hung Ha and Grafton K. Mintz. Book One, page 52. Silk Pagoda (2006). ISBN 1-59654-348-5