ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี
မဟာဓမ္မရာဇာဓိပတိ
พระมหากษัตริย์พม่า
ครองราชย์14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1733 – 22 มีนาคม ค.ศ. 1752
ราชาภิเษก8 มกราคม ค.ศ. 1735
ก่อนหน้าพระเจ้าตะนินกันเหว่
ต่อไปพระเจ้าอลองพญา
พระราชสมภพป. 29 มีนาคม ค.ศ. 1714
วันพฤหัสบดี ป. ขึ้น 15 ค่ำ ปลายเดือน Tagu 1075 ME
อังวะ
สวรรคต13 ตุลาคม ค.ศ. 1754[1] (40 พรรษา)
วันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน Thadingyut 1116 ME
ใกล้พะโค
ชายามหาชานินทร์ธิบดีเทวี
มหาราชธิบดีเทวี
มหาธิบดีเทวี
พระนามเต็ม
Mahādhammarājadhipati หรือพระมหาธรรมราชาธิบดี
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้าตะนินกันเหว่
พระราชมารดาThiri Maha Mingala Dewi[2] หรือพระนางสิริมหามงคลเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี (พม่า: မဟာ ဓမ္မရာဇာ ဓိပတိ, ออกเสียง: [məhà dəma̰jàzà dḭpədḭ]) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2276 ถึง พ.ศ. 2295 เมื่อพระองค์ครองราชย์ราชอาณาจักรก็เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว และความด้อยประสบการณ์ของพระองค์ทำให้อาณาจักรเสื่อมลงอย่างรวดเร็วที่สุดในช่วงปลายราชวงศ์ตองอู และทำให้เกิดการล่มสลายของอาณาจักรในช่วงรัชสมัย 18 ปีในรัชกาลของพระองค์[3]

บันทึกของเลตเว นอระธา (Letwe Nawrahta) ข้าราชสำนักคนสำคัญ กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญเกี่ยวกับการเจรจาการทูตระหว่างราชสำนักอังวะกับอยุธยา ไว้ว่ามีการส่งของบรรณาการเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับราชสำนักอยุธยา และเหตุการณ์ที่ทำให้เมืองอังวะเสื่อมลง เนื่องจากเกิดสงครามจากการรุกรานโดยชาวมอญ กระทั่งเกิดทุพภิกขภัย ราชสำนักพม่าจึงพ่ายแพ้แก่พวกมอญ ในสงครามครั้งนั้นได้เข้าทำลายเมืองอังวะ เผาพระราชวัง พระคลัง ฉางหลวงให้เป็นเถ้าธุลีและมีการขนย้ายข้าวของเครื่องใช้ลงไปเมืองหงสาวดีโดยการล่องแม่น้ำ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน Thadingyut = 13 ตุลาคม [ตามปฎิทินเก่า: 2 ตุลาคม] 1733
  2. Hmannan Vol. 3 2003: 364
  3. Htin Aung 1967: 152–156
  4. ชัยวัฒน์ ปะสุนะ, 2562: 164.[1] เก็บถาวร 2021-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

บรรณานุกรม

[แก้]
  • ชัยวัฒน์ ปะสุนะ, "สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในจดหมายเหตุพม่า," วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562).
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Royal Historians of Burma (c. 1680). U Hla Tin (Hla Thamein) (บ.ก.). Zatadawbon Yazawin (1960 ed.). Historical Research Directorate of the Union of Burma.
  • Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
ก่อนหน้า พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี ถัดไป
พระเจ้าทนินกันเว พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 2)

(พ.ศ. 2276 - พ.ศ. 2295)
พระเจ้าอลองพญา