ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอาเลกซันโดรส
พระบรมฉายาลักษณ์ในพระเจ้าอาเลกซันโดรส ในคริสต์ศักราช 1917
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเฮเลนส์
ครองราชย์11 มิถุนายน 1917 – 25 ตุลาคม 1920[a]
ก่อนหน้าพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1
ถัดไปกอนสตันดีโนสที่ 1
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ1 สิงหาคม ค.ศ. 1893(1893-08-01)
พระราชวังตาทอย เอเธนส์ ราชอาณาจักรกรีซ
สวรรคต25 ตุลาคม ค.ศ. 1920(1920-10-25) (27 ปี)
เอเธนส์ ราชอาณาจักรกรีซ
ฝังพระศพ29 ตุลาคม 1920
สุสานหลวง พระราชวังตาทอย ประเทศกรีซ
คู่อภิเษกอัสปาซียา มาโนส (สมรส 1919)
พระราชบุตรอเล็กซันดรา สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระราชบิดาพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 แห่งกรีซ
พระราชมารดาเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย

พระเจ้าอาเลกซันโดรส (กรีก: Ἀλέξανδρος, Aléxandros; 1 สิงหาคม ค.ศ. 1893 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1920)[a] เป็นพระมหากษัตริย์กรีซ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1917 จนกระทั่งสวรรคตในสามปีต่อมาเมื่อพระชนมายุ 27 พรรษา จากการถูกลิงกัด

พระเจ้าอาเลกซันโดรสเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1 พระราชสมภพในพระราชวังฤดูร้อนในเขตชานเมืองเอเธนส์ พระองค์สืบราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 1917 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์สละราชสมบัติเนื่องจากขัดแย้งกับอีเลฟเทริออส เวนิเซลอส เขาผลักดันให้พระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1และพระราชโอรสพระองค์โตเจ้าชายเยออร์ยีโอส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซต้องถูกเนรเทศ[1] พระองค์ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองที่แท้จริง และถูกจำกัดพื้นที่ในพระราชวังของพระองค์เองเอง เวนิเซลอสในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนของ Entente ถึงแม้ว่าสถานะของจักรพรรดิจะลดลงอาเลกซันโดรสสนับสนุนกองกำลังกรีกระหว่างสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน และบัลแกเรีย[2] ภายใต้รัชสมัยของพระองค์อาณาเขตของกรีซเพิ่มมากขึ้นตามชัยชนะของ Entente และพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและระยะแรกของสงครามกรีก-ตุรกี (1919–1922)

พระเจ้าอาเลกซันโดรสอภิเษกสมรสกับอัสปาซียา มาโนส ในปี ค.ศ. 1919 กระตุ้นให้เกิดเรื่องอื้อฉาวที่สำคัญที่ทำให้ทั้งสองพระองค์ออกจากกรีซเป็นเวลาหลายเดือน ไม่นานหลังจากที่กลับไปกรีซกับพระมเหสี อาเลกซันโดรสทรงถูกกัดโดยลิงบาร์บารีในประเทศและเสด็จสวรรคตจากพระโรคพระโลหิตเป็นพิษ[3] การสวรรคตอย่างกะทันหันของกษัตริย์ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการอยู่รอดของสถาบันพระมหากษัตริย์และทำให้การปกครองในระบอบการปกครองของ Venizelist ล้มเหลว หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งทั่วไปและการลงประชามติพระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1ได้รับการเชิญเสด็จนิวัติกลับมาครองสิริราชสมบัติ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 วันที่ในบทความนี้อยู่ในปฏิทินกริกอเรียนรูปแบบใหม่ ปฏิทินจูเลียนแบบเก่าถูกใช้ในกรีซตลอดพระชนม์ชีพของพระเจ้าอาเลกซันโดรส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Diesbach, p. 225.
  2. Van der Kiste, p. 132.
  3. Montgomery-Massingberd, pp. 327, 536, 544.