พวงชูชีพ
พวงชูชีพ[a] หรือ ห่วงชูชีพ (อังกฤษ: Lifebuoy) เป็นทุ่นช่วยชีวิตที่ออกแบบมาเพื่อใช้โยนให้กับบุคคลที่อยู่ในน้ำเพื่อช่วยให้ลอยตัวได้และป้องกันการจมน้ำ[1] พวงชูชีพสมัยใหม่บางชิ้นมีการติดตั้งไฟอย่างน้อยหนึ่งดวงเพื่อช่วยเหลือในการกู้ภัยในเวลากลางคืนโดยทำงานเมื่อสัมผัสกับน้ำทะเล
ชื่ออื่น
[แก้]ชื่อเรียกอื่นๆ ของ "พวงชูชีพ" ในภาษาอังกฤษได้แก่:
- life preserver
- life ring,[2]
- lifering
- lifesaver
- ring buoy
- donut
- safety wheel
- Perry buoy
- Kisbee ring[3]
คำอธิบาย
[แก้]พวงชูชีพมักเป็นอุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลรูปวงแหวนหรือเกือกม้า พร้อมด้วยสายโยงเพื่อให้สามารถดึงผู้บาดเจ็บเข้ามาหาผู้ช่วยเหลือได้ โดยถูกติดตั้งอยู่บนเรือ และติดตั้งอยู่ริมแหล่งน้ำและสระว่ายน้ำ โดยมีโทษสำหรับผู้ที่ก่อกวนอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ด้วยโทษปรับ (ในสหราชอาณาจักรโทษปรับสูงสุดคือ 5,000 ปอนด์) หรือจำคุก
ในสหรัฐ พวงชูชีพที่ได้รับการรับรองจากหน่วยยามฝั่งถือเป็นอุปกรณ์ลอยน้ำประเภทที่ 4 ต้องมี PFD ประเภท IV ซึ่งสหรัฐกำหนดให้มีอุปกรณ์ลอยน้ำส่วนบุคคลประเภท IV อย่างน้อยหนึ่งรายการในเรือทุกลำที่มีความยาว 26 ฟุตขึ้นไป[4]
ในสหราชอาณาจักร สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำพิจารณาว่าพวงชูชีพไม่เหมาะสมในการใช้ในสระว่ายน้ำ เนื่องจากการโยนพวงชูชีพลงในสระน้ำที่เต็มไปด้วยผู้คนอาจทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้ใช้สระว่ายน้ำคนอื่น ๆ บาดเจ็บได้ โดยในสถานที่เหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์อื่น เช่น ทุ่นตอปิโด[5] (Torpedo buoy) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ลากต่ำที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตลากจูงไปยังผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายได้
เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้เคยร่างแนวคิดเกี่ยวกับวงล้อนิรภัย เช่นเดียวกับรองเท้าลอยน้ำ และไม้ทรงตัวสำหรับการเดินบนน้ำ[6]
ในประเทศไทย กรมเจ้าท่าซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลการสัญจรทางน้ำได้ให้ความหมายของ lifebuoy เป็นคำว่า พวงชูชีพ[7] โดยระเบียบได้กำหนดไว้ว่าในท่าเทียบเรือ จะต้องติดตั้งพวงชูชีพอย่างน้อย 4 พวง พร้อมเชือกผูกไว้กับพวงชูชีพที่มีความยาวอย่างน้อย 25 เมตร ติดตั้งในจุดที่สามารถใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุ[8]
-
การออกแบบของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ร่างวงล้อนิรภัย
-
การศึกษาเกี่ยวกับพวงชูชีพครั้งแรก มีภาพประกอบใน Acta Eruditorum, ค.ศ. 1691
ระเบียงภาพ
[แก้]-
พวงชูชีพเชิงพาณิชย์บนเรือ USCGC Eagle
-
ภาชนะบรรจุพวงชูชีพแบบมีเชือกซ่อน
-
ภาชนะบรรจุพวงชูชีพ ในเมืองนิวพอร์ตบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย
-
ภาชนะบรรจุพวงชูชีพ ริมแม่น้ำเทมส์
-
พวงชูชีพในรูปแบบเก่า
-
พวงชูชีพในไอร์แลนด์
-
พวงชูชีพบนชายหาด
-
พวงชูชีพที่ ทุตจูเนียมี ของท่าเรือ ซาริสโต ใน ลิเปรี, คาเรเลียเหนือ, ฟินแลนด์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตามความหมายและการใช้งานของกรมเจ้าท่า
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Kisbee Ring". สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "Boat Life Rings, Ring Buoys". สืบค้นเมื่อ 20 February 2023.
- ↑ "The Kisbee Ring". สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "46 CFR 25.25-5 Life Preservers and Other Lifesaving Equipment".
- ↑ The Lifeguard. IQL UK Ltd. ISBN 1905008120.
- ↑ Wallace, Robert (1972) [1966]. The World of Leonardo: 1452–1519. New York: Time-Life Books. pp. 106–07.
- ↑ คู่มือเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ Guide for Safe Travels by Waterways (PDF). กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม.
- ↑ "สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขากาญจนบุรี เตือนให้ระมัดระวังในการเดินเรือและใช้เรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566". www.prd.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lifebuoys