พิธีสารนักมวย
พิธีสารสุดท้ายว่าด้วยการระงับความวุ่นวายระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี บริเตนใหญ่ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สเปน สหรัฐ กับจีน ค.ศ. 1900 | |
---|---|
ประเภท | พิธีสาร |
วันลงนาม | 7 กันยายน 1901 |
ที่ลงนาม | กรุงปักกิ่ง |
ผู้ลงนาม | • ราชวงศ์ชิง
|
พิธีสารนักมวย (อังกฤษ: Boxer Protocol) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในโลกตะวันตกว่า พิธีสารสุดท้ายว่าด้วยการระงับความวุ่นวายระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี บริเตนใหญ่ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สเปน สหรัฐ กับจีน ค.ศ. 1900 (Austria-Hungary, Belgium, France, Germany, Great Britain, Italy, Japan, Netherland, Russia, Spain, United States and China—Final Protocol for the Settlement of the Disturbances of 1900) และชื่ออย่างเป็นทางการในประเทศจีนว่า พิธีสารซินโฉ่ว (จีน: 辛丑条约; พินอิน: xīn chǒu tiáo yuē) เป็นพิธีสารซึ่งลงลายมือชื่อกัน ณ วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 ระหว่างจักรวรรดิชิง ในสมัยพระพันปีฉือสี่ ฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรแปดชาติ (ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ) เบลเยียม สเปน และเนเธอร์แลนด์ อีกฝ่ายหนึ่ง ภายหลังกองทัพฝ่ายพันธมิตรแปดชาติปราบกบฏนักมวยในประเทศจีนได้สำเร็จ ประเทศจีนถือว่า พิธีสารนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสนธิสัญญาเอารัดเอาเปรียบ (unequal treaties)
พระพันปีฉือสี่มีพระราชเสาวนีย์ตั้งเจ้าชายชิง ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดี (Prime Minister) และหลี่ หงจาง ซึ่งเป็นราชครู (Grand Tutor) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการลงลายมือชื่อในพิธีสารนี้สำหรับจักรวรรดิชิง ส่วนฝ่ายพันธมิตรแปดชาติและพวกนั้นมี Bernardo de Cólogan y Cólogan และ Alfons Mumm von Schwarzenstein ลงลายมือชื่อในนามของสเปน เออร์เนสต์ แซโทว (Ernest Satow) ในนามของบริเตนใหญ่ และ โคะมุระ จุตะโร (Komura Jutarō) ในนามของญี่ปุ่น ตามลำดับ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-05.
- พิธีสารนักมวย
- พิธีสาร
- ค่าปฏิกรรม
- สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- สนธิสัญญาสันติภาพ
- สนธิสัญญาไม่เสมอภาค
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิเยอรมัน
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรอิตาลี
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิรัสเซีย
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1801–1922)
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเบลเยียม
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสเปน
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเนเธอร์แลนด์
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิจีน
- สนธิสัญญาสันติภาพเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
- ซูสีไทเฮา
- บทความเกี่ยวกับ การเมืองการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์