ฟีซะบีลิลลาฮ์
ประโยค ฟีซะบีลิลลาฮ์ (فِي سَبِيلِ ٱللَّٰهِ) เป็นคำอุทานภาษาอาหรับที่แปลว่า "ด้วยเหตุของอัลลอฮ์" หรือที่เหมาะสมกว่าคือ "ในหนทางของอัลลอฮ์"[1] และถูกตีความเป็น "ผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์"[2]
ประโยคนี้ - ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งซะกาต - พบในอัลกุรอานเป็นจำนวนหลายครั้ง เช่น ในซูเราะฮ์ที่ 9, โองการที่ 60:
แท้จริงทาน (ซะกาต) ทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ[3]
รายงานจากซัยยิด อะบุล อะลา เมาดูดีย์ นักวิชาการมุสลิมช่วงต้นส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ฟีซะบีลิลลาฮ์ คือญิฮาด[4]เช่น นักวิชาการในศตวรรษที่ 14 อิบน์ กะษีร[5] อย่างไรก็ตาม เมาดูดีย์ยังกล่าวอีกว่า นักวิชาการช่วงต้นเข้าใจผิดในการจำกัดญิฮาดว่าเป็นการอธิบายถึงการต่อสู้ที่สงบสุข และไม่เกี่ยวกับการทหารเท่านั้น[4] มุฮัมมัด ชะฟีอ์ ดิยูบันดี แปลมันเป็นสาเหตุทางศาสนาที่สามารถรวมญิฮาดทางทหารหรือทำพร้อมกับหน้าที่ทางศาสนาอื่น ๆ เช่น ฮัจญ์[6] นักวิชาการหัวก้าวหน้า ญาวีด อะฮ์มัด ฆอมิดี กล่าวไว้โดยกว้างว่าเป็น "การทำงานรับใช้ศาสนา"[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lane, p. 1301, s.v. سبل: "in the way meaning cause, of God, or religion; or in the doing of anything , or all, that God has commanded, or of the works whereby one pursues the way that leads to advancement in the favour of God "
- ↑ Jonsson, David J. (May 2006). Islamic Economics and the Final Jihad. ISBN 9781597819800.
- ↑ Ibn Kathir. "Tafsir Ibn Kathir (English): Surah Al Tawbah". Quran 4 U. Tafsir. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ 4.0 4.1 Maududi, Syed Abul Ala. Tafhim al-Qur'an.
- ↑ Tafsīr Ibn Kathir, Surah Tawba.
- ↑ Shafi, Muhammad. Ma'ariful Qur'an. p. 413.
- ↑ Ghamidi, Javed Ahmed. Al-Bayan.