ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2025
รายละเอียดการแข่งขัน | |
---|---|
ประเทศเจ้าภาพ | ประเทศจีน |
วันที่ | 12 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม |
ทีม | 16 (จาก 1 สมาพันธ์) |
สถานที่ | TBD |
การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ประจำปี 2025 (อังกฤษ: 2025 AFC U-20 Asian Cup) จะเป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ครั้งที่ 42 (รวมถึงการแข่งขันชิงแชมป์เยาวชนเอเชียและชิงแชมป์ รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ครั้งก่อน ๆ) ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์นานาชาติที่จัดขึ้นทุก ๆ สองปีโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) สำหรับทีมชาติชายรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีของทวีปเอเชีย
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 เอเอฟซีประกาศว่า ประเทศจีน จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน[1]
จะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม ทีม 4 อันดับแรกของการแข่งขันจะผ่านเข้ารอบฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2025 ที่ประเทศชิลีในฐานะตัวแทนของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
อุซเบกิสถาน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศในปัจจุบัน โดยได้แชมป์ใน2023
รอบคัดเลือก
[แก้]ทีมที่เข้ารอบ
[แก้]ทั้งหมด 16 ทีมนับรวมเจ้าภาพ จีน จะได้ผ่านเข้ารอบสำหรับรอบสุดท้าย
ทีม | เข้ารอบในฐานะ | จำนวนครั้ง ที่ได้เข้าร่วม |
ผลงานที่ดีที่สุดครั้งที่ผ่านมา |
---|---|---|---|
จีน | เจ้าภาพ | 20 | ชนะเลิศ (1985) |
ซีเรีย | Group A winners | 12 | ชนะเลิศ (1994) |
อุซเบกิสถาน | Group B winners | 9 | ชนะเลิศ (2023) |
เกาหลีใต้ | Group C winners | 40 | ชนะเลิศ (1959, 1960, 1963, 1978, 1980, 1982, 1990, 1996, 1998, 2002, 2004, 2012) |
ซาอุดีอาระเบีย | Group D winners | 15 | ชนะเลิศ (1986, 1992, 2018) |
เกาหลีเหนือ | Group E winners | 14 | ชนะเลิศ (1976, 2006, 2010) |
อินโดนีเซีย | Group F winners | 20 | ชนะเลิศ (1961) |
อิหร่าน | Group G winners | 22 | ชนะเลิศ (1973, 1974, 1975, 1976) |
อิรัก | Group H winners | 19 | ชนะเลิศ (1975, 1977, 1978, 1988, 2000) |
ญี่ปุ่น | Group I winners | 39 | ชนะเลิศ (2016) |
กาตาร์ | Group J winners | 16 | ชนะเลิศ (2014) |
เยเมน | อันดับที่ 1 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | 8 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1975) |
คีร์กีซสถาน | อันดับที่ 2 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | 3 | รอบแบ่งกลุ่ม (2006, 2023) |
ออสเตรเลีย | อันดับที่ 3 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | 9 | รองชนะเลิศ (2010) |
ไทย | อันดับที่ 4 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | 34 | ชนะเลิศ (1962, 1969) |
จอร์แดน | อันดับที่ 5 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | 9 | อันดับที่สี่ (2006) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pivotal reforms approved by AFC Competitions Committee". Asian Football Association. 24 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2024.