ข้ามไปเนื้อหา

มวลสารระหว่างดาวเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มวลสารระหว่างดาวเคราะห์ (อังกฤษ: interplanetary medium) คือมวลสารต่าง ๆ เช่น ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นฝุ่นคอสมิกชนิดหนึ่งที่แผ่กระจายอยู่ทั่วย่านอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะหรือในระบบดาวเคราะห์อื่น ๆ มีการเฝ้าศึกษาฝุ่นเหล่านี้มาหลายปีแล้วเพื่อทำความเข้าใจถึงธรรมชาติ ต้นกำเนิด และความสัมพันธ์ของมันกับวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ

สำหรับในระบบสุริยะ ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์เหล่านี้ทำให้แสงอาทิตย์เกิดการกระเจิง เรียกกันว่า "แสงจักรราศี" ซึ่งจะเกิดขึ้นในแนวสุริยวิถี นอกจากนี้มันยังแผ่รังสีความร้อนออกมาที่ครอบคลุมไปทั่วท้องฟ้ายามราตรีในช่วงคลื่นประมาณ 5-50 ไมโครเมตร ฝุ่นที่ทำให้เกิดการแผ่รังสีอินฟราเรดบริเวณใกล้เส้นทางโคจรของโลกจะมีขนาดโดยประมาณ 10-100 ไมโครเมตร มวลรวมทั้งหมดของฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์มีประมาณเท่ากับมวลของดาวเคราะห์น้อยที่มีรัศมีประมาณ 15 กิโลเมตร (ที่ความหนาแน่นราว 2.5 กรัม/ลบ.ซม.)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]