มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์
ก่อตั้ง | 2019 |
---|---|
ประเภท | การประกวดความงาม |
ที่ตั้ง | |
สมาชิก | มิสเตอร์โกลบอลทีน |
ภาษาทางการ | ไทย |
องค์กรแม่ | เฟสบุ๊คมิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์ |
มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์ (อังกฤษ: Mister Global teen Thailand) เป็นการประกวดความงามชายในประเทศไทย เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีน เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)ได้มีการจัดตั้งการประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีนขึ้น ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการจัดประกวด แต่มีการแต่งตั้งตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์โกลบอลทีน[1][2]
ประวัติ
[แก้]มิสเตอร์โกลบอลทีน เป็นเวทีประกวดวัยรุ่นชาย (อายุระหว่าง 15-19 ปี) ที่พัฒนาและดำเนินการโดยคุณประดิษฐ์ ประดิษฐนันท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการสร้าง เวทีน้องชาย (Brotherhood) ให้เป็นเวทีคู่ขนานไปกับเวที มิสเตอร์โกลบอล (มิสเตอร์โกลบอล: ที่มีอายุระหว่าง 19-27 ปี) มิสเตอร์โกลบอล ในปัจจุบันเป็นเวทีการประกวด "สัญชาติไทยเพียงเวทีเดียว" ที่ติดอันดับแกรนด์สแลม (แกรนด์สแลม แรงกิ้ง) ซึ่งจัดอันดับโดยเว็บไซต์ "โกลบอล บิวตี้" โดย 5 เวทีการประกวดหนุ่มหล่อที่ดีที่สุดในโลกในปัจจุบัน ได้แก่ เวทีการประกวด มิสเตอร์เวิลด์ (สหราชอาณาจักร) / แมนฮันต์อินเตอร์เนชันแนล (สิงคโปร์) / มิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล (สิงคโปร์) / มิสเตอร์โกลบอล (ไทย) และ มิสเตอร์ซูปราเนชันแนล (ปานามา)
มิสเตอร์โกลบอลทีน (Mister Global Teen - Mr.GT) เกิดขึ้นในสังคม ด้วยความเชื่อมัน ศรัทธาและแรงบันดาลใจ ว่า วัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันไม่เพียงแต่จะมีบุคลิกภาพ-หน้าตาดีเท่านั้น หากแต่สังคมควรเปิดพื้นที่ให้เขาได้พัฒนาความคิด พัฒนาสุขภาวะและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กัน
การประกวดเวที มิสเตอร์โกลบอลทีน เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2558 ณ ประเทศไทย ภายใต้แนวคิด "Promote Creative Accomplishment, Healthy Living and Community Involvement for teens globally" ในครั้งแรกนี้ มีตัวแทนวัยรุ่นจาก 8 ประเทศเดินทางมาเข้าร่วมการประกวด ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมาร์ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา และประเทศไทย ในครั้งนั้น Mr. Daham Dias จากประเทศศรีลังกา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มิสเตอร์โกลบอลทีน 2015 เป็นคนแรก
ประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2559-2561 เป็นเวลาของความโศกเศร้าและการไว้อาลัยต่อการสววรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะผู้ดำเนินงานได้พิจารณางดจัดการประกวด และได้คัดเลือก Mr. Joaquin Rudolfo Rosallosa (ประเทศฟิลิปปินส์) ให้ดำรงตำแหน่ง Mr.GT ประจำปี 2016 และในปลายปี พ.ศ. 2560 Mr. Mein Reilly Artero จากประเทศกวม ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง มิสเตอร์โกลบอลทีน ประจำปี 2017-18
การประกวด มิสเตอร์โกลบอลทีนไทยแลนด์ 2019 (Mr.GTT: 2019) ที่จะจัดขึ้นในปีนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะดำเนินการค้นหา "ตัวแทนคนรุ่นใหม่ของประเทศไทย" เข้าร่วมการประกวดระดับนานาชาติ มิสเตอร์โกลบอลทีน 2019: รอบชิงชนะเลิศระดับโลก ซึ่งคาดว่าจะมีตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท จินตามยปัญญา จำกัด โดย นายพิชญ์ไกร ไชยเดช ผู้ได้รับการแต่งตั้งจาก Mister Global Organization ให้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ทำหน้าที่ National Director (Thailand) ในครั้งนี้
ภายใต้แนวคิดหลัก " Teens Exemplifying Leadership, Anti-Bullying , Healthy Living and Community Involvement for teens globally ”
วัตถุประสงค์ การคัดเลือก"ตัวแทนประเทศไทย"
- เพื่อค้นหาและแต่งตั้ง “ตัวแทนเยาวชนไทย” เข้าร่วมการประกวดระดับนานาชาติกับตัวแทนจากประเทศต่างๆ ในการประกวด Mister Global Teen (World Final ) ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (ประเทศพม่า) ระหว่างวันที่ 20 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
- เพื่อรณรงค์ “ต่อต้านการกลั่นแกล้งและทำร้าย” (Anti-Bullying) ให้แพร่กระจายออกไปสู่ "วัยรุ่น" ทั่วประเทศ
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยเกิดสำนึก เห็นคุณค่าและความสำคัญของ “ความเป็นไทย” สร้างความภาคภูมิใจใน “อัตลักษณ์แห่งชาติไทย”
- เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้ เยาวชนชายไทยที่มีความพร้อมทั้ง ความสามารถ ทัศนคติ รูปร่างหน้าตา และ อัตลักษณ์ความเป็นไทย ได้มีโอกาสนำเสนอ และเผยแพร่ “ศิลปะ วัฒนธรรมไทย” ในเวทีระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
- เพื่อสร้างการประกวด"ประจำชาติ" ที่จะถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี ของประเทศไทย
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วการ "คัดเลือก"
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย
- เพศชายโดยกำเนิด
- บุคลิกภาพ รูปร่าง หน้าตา ดี (Smart) มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 170 เซนติเมตร
- อายุระหว่าง 15 - 19 ปี (เกิดระหว่าง พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547)
- สถานะภาพโสดและต้องไม่เคยจดทะเบียนสมรสหรือผ่านพิธีทางศาสนาหรือพิธีการ ใดๆ มาก่อ
- ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมและประวัติเสื่อมเสียอันจะนำมาสู่การทำลายภาพลักษณ์ของกองประกวด
- สุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ
- เป็นผู้มีภาวะผู้นำ (Leadership) รักวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย (Cultural Identity) มีจิตอาสาเพื่อสังคม (Social Volunteer) มี “อัตลักษณ์”ที่แสดงออกถึงความเป็นไทย
- ได้รับอนุญาตจาก บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองให้เข้าร่วมการประกวด
รายนามผู้ได้รับตำแหน่งมิสเตอร์โกลบอลไทยแลนด์
[แก้]ปี | ผู้ดำรงตำแหน่ง | จังหวัด | สถานที่จัดประกวด | จังหวัดเจ้าภาพ | ผู้เข้าประกวด |
---|---|---|---|---|---|
2562 (2019) | ริสกี สิทธิศักดิ์ | ภูเก็ต | หอประชุมพนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี | เพชรบุรี | 11 |
รองชนะเลิศ
[แก้]ปี | รองอันดับ 1 | รองอันดับ 2 | รองอันดับ 3 | รองอันดับ 4 |
2019 | เตชิต ปัญญนราพร | สมพล บวบทอง | วราวุฒิ เชื้ออินทร์ | ฮัยเดิร คาร ปาทาน |
เรียงลำดับจังหวัดของผู้ชนะ
[แก้]จังหวัด | จำนวน | ปีที่ชนะ |
เพชรบุรี | 2019 |
ผลงานการประกวดระดับนานาชาติ
[แก้]สัญลักษณ์สี
- : ชนะเลิศ
- : รองชนะเลิศหรืออันดับ 5/6
- : เข้ารอบสุดท้ายหรือรอบรองชนะเลิศ
- : รางวัลพิเศษหรือเข้ารอบสุดท้ายรางวัลพิเศษ
มิสเตอร์โกลบอลทีน
[แก้]ปี | ผู้ดำรงตำแหน่ง | จังหวัด | ตำแหน่งในการประกวด | รางวัลพิเศษ |
---|---|---|---|---|
2019 | เตชิต ปัญญนราพร | เพชรบุรี | ||
2018 | กิตติกร สิทธิยศ | น่าน | ไม่ผ่านเข้ารอบ | |
2016 | พิชญ์พล หนูนวล | นครศรีธรรมราช | ไม่ได้เข้าร่วมการประกวด | |
จิรวัฒน์ ชื่นตา | เชียงใหม่ | ไม่ได้เข้าร่วมการประกวด | ||
2015 | กัณน์ โมกขะสมิต | ราชบุรี | ไม่ผ่านเข้ารอบ | เบสท์คอนจีเนียลิตี |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "MISTER GLOBAL TEEN 2016 - The Contestants". misterology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Mister Global Teen 2015". missosology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)