ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศศรีลังกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศศรีลังกาทั้งสิ้น 8 แหล่ง [1]

ที่ตั้ง

[แก้]
ที่ตั้งแหล่งมรดกโลกในประเทสศรีลังกา ()

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
ha (acre)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
นครโบราณโปโลนนรุวะ  ศรีลังกา
7°54′57″N 81°0′2″E / 7.91583°N 81.00056°E / 7.91583; 81.00056 (Ancient City of Polonnaruwa)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (vi)
2525/1982 อดีตราชธานีของอาณาจักรโปโลนนรุวะในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 โดดเด่นในเรื่องสถาปัตยกรรมที่อิงตามความเชื่อศาสนาพุทธ [2]
นครโบราณสีคิริยะ  ศรีลังกา
7°57′0″N 80°45′0″E / 7.95000°N 80.75000°E / 7.95000; 80.75000 (Ancient City of Sigiriya)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (iv)
2525/1982 ป้อมปราการที่สร้างขึ้นบนยอดหินขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยปราสาทอันเป็นที่ประทับของพระเจ้ากัสสปะบนยอดหิน และอุทยานที่มีระบบชลประทานบริเวณฐานหิน ซึ่งก่อสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 [3]
นครศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ  ศรีลังกา
8°20′0″N 80°23′0″E / 8.33333°N 80.38333°E / 8.33333; 80.38333 (Sacred City of Anuradhapura)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (vi)
2525/1982 อดีตราชธานีของอาณาจักรอนุราธปุระนับตั้งแต่ 437 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและแหล่งแสวงบุญศาสนามานับศตวรรษจากหลักฐานวัดพุทธโบราณ และสถูปเจดีย์ต่าง ๆ [4]
เมืองเก่ากอลล์และป้อมปราการ  ศรีลังกา
6°1′17″N 80°13′7″E / 6.02139°N 80.21861°E / 6.02139; 80.21861 (Old Town of Galle and its Fortifications)
วัฒนธรรม:
(iv)
2531/1988 เขตเมืองเก่าซึ่งตั้งอยู่ในป้อมปราการที่สร้างขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายในเมืองมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรปที่ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดีซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ [5]
นครศักดิ์สิทธิ์กัณฏิ  ศรีลังกา
7°17′37″N 80°38′25″E / 7.29361°N 80.64028°E / 7.29361; 80.64028 (Sacred City of Kandy)
วัฒนธรรม:
(iv) (vi)
2531/1988 อดีตราชธานีของอาณาจักรกัณฏิ ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขึ้นชื่อด้านสถาปัตยกรรมภายในวังโบราณและวัดพระเขี้ยวแก้วอันเป็นที่ประดิษฐสถานพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า รวมไปถึงวัดพุทธโบราณอีกหลายแห่ง [6]
เขตสงวนป่าสิงหราชะ  ศรีลังกา
6°25′N 80°30′E / 6.417°N 80.500°E / 6.417; 80.500 (Sinharaja Forest Reserve)
ธรรมชาติ:
(ix) (x)
2531/1988 เขตอนุรักษ์ป่าดิบชื้นที่อุดมไปด้วยพืชที่มีมาตั้งแต่ 600 ล้านปี เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการทางชีววิทยาและธรณีวิทยา และภายในเขตอนุรักษ์ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผีเสื้อ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิด [7]
วัดทองแห่งดัมบุลลา  ศรีลังกา
7°51′24″N 80°38′57″E / 7.85667°N 80.64917°E / 7.85667; 80.64917 (Golden Temple of Dambulla)
วัฒนธรรม:
(i) (vi)
2534/1991 กลุ่มถ้ำวัดพุทธอันเป็นหลักฐานการเข้ามาของศาสนาพุทธในศรีลังกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 ภายในมีทั้งจิตรกรรมและประติมากรรมที่เกี่ยวของกับพระโคตมพุทธเจ้าและพุทธประวัติ โดยมีพระพุทธรูปอยู่รวม 153 องค์, กษัตริย์แห่งศรีลังกาสามองค์ และเทพเทวาในพุทธศาสนามากมาย รวมถึงพระวิษณุและพระคเณศ และมีเรื่องราวจากพุทธประวัติซึ่งรวมถึงตอนปราบมารและการแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [8]
ที่สูงตอนกลางของศรีลังกา  ศรีลังกา
7°27′9″N 80°48′8″E / 7.45250°N 80.80222°E / 7.45250; 80.80222 (Central Highlands of Sri Lanka)
ธรรมชาติ:
ix) (x)
2553/2010 ผืนป่าฝนภูเขาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของศรีลังกา ประกอบด้วย 1) เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าศรีบาดา 2) อุทยานแห่งชาติฮอร์ตันเพลนส์ 3) เทือกเขานักเคิลส์ พื้นที่แห่งนี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งอุดมความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิด รวมถึงค่างหน้าสีม่วง เสือดาวศรีลังกา สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำนวนมาก [9]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

[แก้]

ประเทศศรีลังกามีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 3 แห่ง[1]

  • เสรุวิลามังคลาราชมหาวิหาร (2549/2006)
  • Seruwila to Sri Pada (Sacred Foot Print Shrine), Ancient pilgrim route along the Mahaweli river in Sri Lanka (2553/2010)
  • Ancient Ariyakara Viharaya in the Rajagala Archaeological Reserve (2563/2020)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Sri Lanka". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  2. "Ancient City of Polonnaruwa". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  3. "Ancient City of Sigiriya". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  4. "Sacred City of Anuradhapura". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  5. "Old Town of Galle and its Fortifications". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  6. "Sacred City of Kandy". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  7. "Sinharaja Forest Reserve". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  8. "Golden Temple of Dambulla". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  9. "Central Highlands of Sri Lanka". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.