ข้ามไปเนื้อหา

รีวโนซูเกะ อากูตางาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รีวโนซูเกะ อากูตางาวะ
ชื่อท้องถิ่น
芥川 龍之介
เกิดรีวโนซูเกะ นีฮาระ (新原 龍之介)
1 มีนาคม ค.ศ. 1892(1892-03-01)
เคียวบาชิ โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต24 กรกฎาคม ค.ศ. 1927(1927-07-24) (35 ปี)
โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
อาชีพนักเขียน
ภาษาญี่ปุ่น
จบจากมหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว
แนวเรื่องสั้น
แนวร่วมในทางวรรณคดีนวยุคนิยม[1]
ผลงานที่สำคัญ
คู่สมรสฟูมิ อากูตางาวะ
บุตร3 (รวมยาซูชิ อากูตางาวะ)
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ芥川 龍之介
ฮิรางานะあくたがわ りゅうのすけ
การถอดเสียง
โรมาจิAkutagawa Ryūnosuke

รีวโนซูเกะ อากูตางาวะ (ญี่ปุ่น: 芥川 龍之介โรมาจิAkutagawa Ryūnosuke) หรือชื่อศิลปินว่า โชโกโด ชูจิง (ญี่ปุ่น: 澄江堂主人โรมาจิChōkōdō Shujin;[2] 1 มีนาคม ค.ศ. 1892 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1927) เป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่นที่ดำเนินการในช่วงยุคไทโชของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็น "บิดาแห่งเรื่องสั้นญี่ปุ่น" และรางวัลอากูตางาวะ รางวัลวรรณกรรมชั้นนำของญี่ปุ่น ตั้งชื่อตามเขา[3] เขาฆ่าตัวตายขณะอายุ 35 ปีด้วยการกินบาร์บิทอลเกินขนาด[4]

รีวโนซูเกะ อากูตางาวะก็สร้างผลงานไว้มากมายประมาณ 140 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้นและนิยายขนาดสั้น (รวมถึงเรื่อง ราโชมอน (Rashomon) ค.ศ. 1915 อันมีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อมานำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อก้องโดยอากิระ คูโรซาวะ) แต่ไม่มีผลงานที่เป็นนวนิยายเรื่องยาว มารดาของรีวโนซูเกะวิกลจริตและเสียชีวิตขณะที่เขายังเล็ก ลุงผู้เป็นเจ้าของนามสกุลที่เขาใช้รับเขาไปเลี้ยง เขาเข้าศึกษาด้านวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว และจบการศึกษาในปี 1916 เขาแต่งงานสองปีหลังจากนั้น มีบุตรชายสามคนและทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ต่อมาได้เดินทางไปประเทศจีนและรัสเซีย กล่าวกันว่างานเขียนของรีวโนซูเกะ อากูตางาวะเป็นการนำประเพณีและตำนานของเอเชียมาตีความใหม่ได้อย่างมีชั้นเชิงยอดเยี่ยม โดดเด่นด้วยการผสมผสานอย่างล้ำลึกกับความคิดตะวันตกและเทคนิคทางวรรณกรรม

ผลงาน

[แก้]
  • 老年 (โรเน็น) ค.ศ. 1914
  • 羅生門 (ราโชมอน) (ประตูผี) - Rashōmon ค.ศ. 1915
  • 鼻 (ฮานะ) - The Nose ค.ศ. 1916
  • 芋粥 (อิโมะกายุ) - Yam Gruel ค.ศ. 1916
  • 煙草と悪魔 (โทบะโกะโทะอาคุมะ) ค.ศ. 1916
  • 戯作三昧 (เกสะคุซันมาอิ) ค.ศ. 1917
  • 蜘蛛の糸 (คุโมะโนะอิโตะ) - The Spider’s Thread ค.ศ. 1918
  • 地獄変 (จิโกะคุเฮ็น) - Hell Screen ค.ศ. 1918
  • 邪宗門 (จาชูมอน) ค.ศ. 1918
  • 魔術 (มาจุทซึ) ค.ศ. 1919
  • 南京の基督 (นันคินโนะคิริซุโตะ) - Christ in Nanking ค.ศ. 1920
  • 杜子春 (โทชิชุน) - Tu Tze-chun ค.ศ. 1920
  • アグニの神 (อะงุนิโนะคามิ) ค.ศ. 1920
  • 藪の中 (ยาบุโนนากะ) - In a Grove ค.ศ. 1921
  • トロッコ (โทโรคโคะ) ค.ศ. 1922
  • 玄鶴山房 (เกนคะคุซันโบ) ค.ศ. 1927
  • 侏儒の言葉 (ชูจูโนะโคโตบะ) ค.ศ. 1927
  • 文芸的な、あまりに文芸的な (บันเกเตะกินะ, อะมะรินิบันเกเตะกินะ) ค.ศ. 1927
  • 河童 (คัปปะ) - Kappa ค.ศ. 1927
  • 歯車 (ฮะงะรุมะ) - Cogwheel ค.ศ. 1927
  • 或る阿呆の一生 (อะรุอะโฮโนะอิโช) - A Fool's Life ค.ศ. 1927
  • 西方の人 (เซโฮโนะฮิโตะ) - The Man of the West ค.ศ. 1927

ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย

[แก้]
  • เรื่องสั้น สามมุมมอง หนึ่งความเป็นจริง ที่มาของ ราโชมอน
  • ท่านหญิงแห่งโระคุโนะมิยะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Akutagawa Ryunosuke and the Taisho Modernists". aboutjapan.japansociety.org. About Japan. สืบค้นเมื่อ 8 June 2019.
  2. 戸部原, 文三 (2015). 一冊で名作がわかる 芥川龍之介(KKロングセラーズ). PHP研究所. ISBN 978-4-8454-0785-9.
  3. Jewel, Mark. "Japanese Literary Awards" "Jlit Net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.. Retrieved 2014-06-25.
  4. Books: Misanthrope from Japon Monday, Time Magazine. Dec. 29, 1952

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]