ข้ามไปเนื้อหา

รุทรากษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายประคำเม็ดรุทรากษะชนิดห้าหน้า (ปัญจมุขีรุทรากษมาลา) จำนวน 108+1 ลูก

รุทรากษะ (IAST: rudrākṣa, บ้างปริวรรติอักษรเป็นไทยว่า รุทรักษะ) เป็นคำเรียกหินหรือเมล็ดตากแห้งจากพืชสกุล Elaeocarpus โดยเฉพาะสปีซีส์ Elaeocarpus ganitrus[1] (ต้นรุทรักษะ) หินเหล่านี้นำมาใช้เป็นลูกประคำสวดภาวนาในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะในลัทธิไศวะ และในศาสนาพุทธ เมื่อเม็ดสุกได้ที่ ผล รุทรากษะ จะปกคลุมด้วยเนื้อผลไม้สีน้ำเงินที่บางครั้งอาจเรียกว่าเป็นลูกปัดบลูเบอร์รี (blueberry beads)[2]

หินรุทรากษะมีความสัมพันธ์กับพระศิวะ และมักนำมาสวมใส่เพื่อใช้ป้องกันภัยและสำหรับสวดมนตร์เช่นโอม นะมะห์ ศิวายะ ส่วนใหญ่รุทรากษะมีที่มาจากประเทศอินเดีย, อินโดนีเซีย และเนปาล เพื่อนำมาทำเครื่องประดับหรือมาลัย มีมูลค่าเทียบเท่ากับหินกึ่งมีค่า[1] รุทรากษะ อาจมีได้มากถึงยี่สิบเอ็ด "หน้า" (สันสกฤต: मुख, อักษรโรมัน: มุข) หรือคือ กลีบย่อย ซึ่งหมายถึงเส้นร่องแนวตั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนเม็ด ในความเชื่อถือว่าแต่ละหน้าดังกล่าวแทนเทพเจ้าแต่ละองค์[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bhattacharyya, Bharati (2015-10-02). Golden Greens: The Amazing World of Plants (ภาษาอังกฤษ). The Energy and Resources Institute (TERI). pp. 21–25. ISBN 978-81-7993-441-8.
  2. Singh, B; Chopra, A; Ishar, MP; Sharma, A; Raj, T (2010). "Pharmacognostic and antifungal investigations of Elaeocarpus ganitrus (Rudrakasha)". Indian J Pharm Sci. 72 (2): 261–5. doi:10.4103/0250-474X.65021. PMC 2929793. PMID 20838538.
  3. Lochtefeld, James G. (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: N-Z (ภาษาอังกฤษ). Rosen. p. 576. ISBN 978-0-8239-3180-4.
  4. "Official Website of Sadhguru, Isha Foundation | India". isha.sadhguru.org. สืบค้นเมื่อ 2024-03-24.