ข้ามไปเนื้อหา

ชินโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลัทธิชินโต)
โทริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต

ชินโต (ญี่ปุ่น: 神道โรมาจิshintō) เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน (ญี่ปุ่น: โรมาจิshin, kami) หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต (ญี่ปุ่น: โรมาจิtō, do) หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า (ญี่ปุ่น: かみのみちโรมาจิkami no michi) ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" (ญี่ปุ่น: 八百万神 (やおよろずのかみ)โรมาจิYaoyorozu no Kami) เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย[1]

ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธและลัทธิขงจื๊อกับลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลังศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ยูดาห์ ได้เริ่มให้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ (ญี่ปุ่น: 古事記โรมาจิKojiki) และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ (ญี่ปุ่น: 日本書紀โรมาจิNihon Shoki) ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ (ญี่ปุ่น: 大和民族โรมาจิYamato-minzoku) และอิสึโมะ (ญี่ปุ่น: 出雲โรมาจิIzumo) ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า (ญี่ปุ่น: โรมาจิkami) ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (ญี่ปุ่น: おみくじโรมาจิOmikuji) (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 初詣โรมาจิHatsumōde) ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต

ตำนานเทพชินโต

[แก้]
ภาพวาดของอิซะนะงิและอิซะนะมิ
เกาะญี่ปุ่นเกิดขึ้นตามตำนานอิซะนะงิและอิซะนะมิ

ตำนานเทพนิยายของชินโตจะถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิมันเป็นรูปเขียนของเหตุการณ์ที่นำไปสู่และรวมถึงการสร้างของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีคำแปลหลายเรื่องที่อยู่กับรูปแบบของความซับซ้อน

  • อิซะนะงิ - (ชาย) และ อิซะนะมิ(หญิง) โดยทั้งหมดถูกเรียกว่าพระเจ้ามากมายและขอให้ช่วยกันเพื่อสร้างที่ดินใหม่ซึ่งจะเป็นญี่ปุ่น
  • พวกเขาได้รับหอกกับที่พวกเขากวนน้ำและเมื่อน้ำออกจากปลายไหลไปทั่ว, เกาะถูกสร้างขึ้นในความว่างเปล่าอันยิ่งใหญ่
  • พวกเขาอาศัยอยู่บนเกาะนี้และได้สร้างพระราชวังและภายในมีเสาขนาดใหญ่
  • เมื่อพวกเขาประสงค์ที่จะแบกลูกหลานของพวกเขาทำพิธีบูชาเสาแต่ละปัดเศษเป็นชายและหญิงซ้ายไปขวา, หญิงทักทายชายแรก
  • พวกเขา 2 คน (เกาะ) ที่เปิดออกอย่างรุนแรงและพวกเขาโยนพวกเขาออก พวกเขาได้ตัดสินใจที่พิธีทางศาสนาได้ทำไม่ถูกต้องครั้งแรก
  • พวกเขาซ้ำพิธีทางศาสนา แต่ตามกฎหมายที่ถูกต้องของธรรมชาติทั้งชายพูดก่อน
  • พวกเขาก็ให้เกิด 8 หมู่เกาะที่สมบูรณ์แบบของหมู่เกาะญี่ปุ่น
  • หลังจากที่เกาะที่พวกเขาให้กำเนิดอื่น ๆ คามิ,อิซะนะมิ ตายและ อิซะนะงิ พยายามทำให้เธอฟื้น
  • ความพยายามของเขาที่จะปฏิเสธกฎหมายของชีวิตและความตายมีผลไม่ดี

เกาะญี่ปุ่นจะได้รับการพิจารณาเป็นสวรรค์ของพวกเขาถูกสร้างขึ้นโดยตรงจากพระเจ้าสำหรับประชาชนชาวญี่ปุ่นและสร้างเป็นอาณาจักรญี่ปุ่น ชินโตเป็นพื้นฐานการเชื่อมต่อระหว่างอำนาจและความงามของธรรมชาติ และชาวญี่ปุ่น มันคือการประกาศของเส้นทางไปสู่ความเข้าใจสถาบันของอำนาจศักดิ์สิทธิ์

ประวัติ

[แก้]

คำว่า "ชินโต" นี้ มาซาฮารุ อนาซากิ (Masaharu Anasaki. 1963 : 19 - 23) ได้อธิบายว่า มาจากอักษรจีนสองตัว คือ "เชน" (Shen) ซึ่งแปลว่า "เทพทั้งหลาย" ส่วน "เต๋า" (Tao) แปลว่า "ทาง" รวมความแล้ว แปลว่า "วิถีทางแห่งเทพทั้งหลาย" เพราะชาวญี่ปุ่นบูชาเทพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน เทพเหล่านี้เป็นเทพที่มีอยู่ในธรรมชาติ และการที่จะเข้าถึงองค์เทพได้นั้น จะต้องเข้าถึงธรรมชาติชินโตจึงสอนให้บุคคลเคารพในธรรมชาติเพื่อที่จะเข้าใจความเป็นชินโตให้มากขึ้น เราจะต้องศึกษาเทพนิยายและตำนานธรรมของคนญี่ปุ่นซึ่งมีมานานก่อนศตวรรษที่ 6 อันเป็นเรื่องราวที่แสดงถึงชาติกำเนิดของคนญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อกันว่าสืบสายเลือดมาจากเทพทั้งหลายทั้งปวง เทพเหล่านี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "คามิ" (Kami) แต่นักศาสนาบางท่านได้สันนิษฐานว่า คามิ คือ มานา (mana) คามิจะเป็นมานาหรือไม่ ยากที่จะระบุลงไปได้ เพราะแม้แต่นักศาสนาของญี่ปุ่นที่ชื่อ โมโตโอริ โนรินางะ (Motoori Norinaga) ยังไม่ยอมที่จะอธิบายกามิให้มากไปกว่าความหมายซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไป ชินโต (「神道」, shintō, 神道?) เป็นศาสนาตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น และเคยเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ชินโตเป็นศาสนาที่บูชา เทพเจ้า หรือที่เรียกว่า คามิ ( 神(かみ)) และจิตวิญญาณในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซุซะโนะโอะ เทพเจ้าแห่งทะเลและพายุในศาสนาชินโต คำว่าชินโต มาจากภาษาญี่ปุ่นสองคำในอักษรคันจิ คำว่า "ชิน" (神) ที่แปลว่า พระเจ้า และ "โต" (道) ที่หมายถึงวิถีชีวิต ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอะมิกุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต

ชินโตในระยะแรกไม่มีการสร้างศาลเจ้า จนกระทั่งศตวรรษที่3-4 ในศตวรรษที่4 เมื่อรัฐบาลยะมะโตะรวบรวมญี่ปุ่นจัดตั้งเป็นประเทศได้แล้ว ทำให้ชินโตถูกแบ่งเป็น 2ระดับคือ อะมะทสึ-คะมิ(Amatsu-kami) และ คคุทสึ-คะมิ(Koukutsu-kami)คำสอนอันแรกของชินโตที่ปรากฏขึ้นในกลางสมัยเฮอัน คือ ฮนจิสุยจะขุ(Honjisuijaku) ที่ได้ผนวกคำสอนของนิกายเทนได(Tendai) และ นิกายชินเง็น(Shingen)เข้าไว้ด้วยกัน รวมคำสอนของพระพุทธเจ้ากับเทพเจ้าที่มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน มาแยกเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าเป็นหลักและเทพเจ้าสำคัญเป็นรอง โดยกล่าวว่าเทพเจ้าต่างๆในญี่ปุ่นล้วนเป็นปางหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาโปรดนั่นเองในสมัยใหม่กลุ่มนิกายเช่น อิเสะ(Ise) โยะชิดะ(yoshida) ฟุคโค(Fukko) ได้สร้างทฤษฎีที่เน้นความเป็นอิสระของชินโต เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิได้มีการทำให้คำสอนกับพิธีกรรมของศาลเจ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดถือพิธีกรรมของพระราชวงศ์เป็นหลัก นักบวชของชินโตมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ส่วนประชาชนทุกคนถือเป็นสาวกกลายเป็น คกคะชินโต(Kokka Shintou)หรือชินโตที่เป็นของรัฐ หลังสงครามโลก ชินโตแต่ละนิกายได้ถูกบัญญัติให้เป็นศาสนาถูกต้องตาม กฎหมาย จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงวัฒนธรรมของญี่ปุ่น สำรวจโดยอาสาสมัครของศาลเจ้าชินโตในปี ค.ศ.1994

ที่มา

[แก้]

ศาสนาชินโต เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อญี่ปุ่นติดต่อกับจีนได้รับพระพุทธศาสนาและศาสนาขงจื้อเข้ามาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของตนจึงเรียกรวมว่าชิน - เต๋า หรือ ชินโต แปลว่าทางแห่งเทพเจ้าภาษาญี่ปุ่นเรียก คามิ - โน - มิชิ บ่อเกิดของศาสนาชินโตมาจากประเพณีบูชาบรรพบุรุษ และการครองชีวิตโดยปฏิบัติตามการนำทางของเทพเจ้า เกี่ยวกับเทพนิยายลึกลับซับซ้อน ในนิทานและพงศาวดารของญี่ปุ่น

ศาสดา

[แก้]
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระองค์ที่ 126

ศาสนาชินโตไม่มีศาสดา แต่มีจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ที่สืบสายเลือดมาจากเทพ เป็นประมุขของศาสนา ก่อตั้งจัดอยู่ในประเภท หลักธรรมสำคัญ เทวนิยม บูชาเทพเจ้า เชื่อถือเวทมนตร์ คาถา บูชา ธรรมชาติ บรรพบุรุษ

จุดมุ่งหมายสูงสุด

[แก้]

ในศาสนาเทวนิยมส่วนมากสอนว่า จุดหมายปลาย ทางของชีวิต คือ พระเจ้า แต่ชินโตแม้จะกล่าวว่า วิญญาณเป็นอมตะ คนตายเท่ากับการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ ชินโตก็มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณตามโอกาส

ศาสนาชินโตในปัจจุบัน

[แก้]

ฐานะปัจจุบัน ประเทศให้ทันสมัยอย่างประเทศตะวันตก ได้ ชินโต เป็นศาสนาของชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะนอก ประเทศญี่ปุ่นผู้นับถือส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่นที่ไปตั้งรกรากในประเทศนั้น ๆ เช่น ที่ ไปนมัสการไม่น้อยกว่าปีละ 80 ล้านคนในช่วง ฮาวาย บราซิล และ ออสเตรเลีย เป็นต้น

เนื่องจากญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสัมพันธมิตรจึงประกาศยุบศาสนาชินโต แห่งรัฐเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2488 แต่เรียวหะ ชินโต หรือ ชินโตของราษฎรเนื่องจากไม่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสงครามและราชการจึงยังคง ดำเนินประกอบพิธีกรรมได้ตามศรัทธา

เนื่องจากญี่ปุ่น ต้องการปรับปรุง พัฒนาประเทศให้ทันสมัยอย่างประเทศตะวันตก ได้ละทิ้งชินโต อันเป็นรากเหง้า แห่งวัฒนธรรมในอดีตของตนเสีย แต่ศาลเทพเจ้าก็ยังมีผู้คนเข้าไปนมัสการไม่น้อยกว่าปีละ 80 ล้านคนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาชินโตประมาณ ๓.๒ ล้านคน ปี ๑๙๕๗ มีผู้นับถือศาสนาชินโต มีผู้นับถือศาสนาชินโตในญี่ปุ่น ๗๙ ล้านคน

ศาลเจ้าชินโต

[แก้]
ศาลเจ้าชินโตในญี่ปุ่น
ศาลเจ้าอิซูโมะ - ไฮเด็งและฮนเด็ง หนึ่งในศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
ไฮเด็งของศาลเจ้าใหญ่สึบากิ หนึ่งในศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
ประตูทางเข้าหลัก ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ หนึ่งในศาลเจ้าชินโตที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น

อันดับแรกของการสักการบูชาเทพเจ้าหรือคามิสามารถปฏิบัติได้ที่ศาลเจ้าสาธาณะหรือศาลเจ้าเล็กๆไว้ที่บ้านหรือที่เรียกว่า คามิดานะ ศาลเจ้าสาธารณะเป็นสิ่งปลูกสร้างไว้เพื่อทำพิธีบูชาสำหรับคามิ จำนวนที่น้อยลงของศาลเจ้านี้ยังมีสถานที่ธรรมชาติที่เรียกว่า โมริ ส่วนที่พบมากที่สุดของโมริเป็นสวนศักดิ์สิทธิ์ของต้นไม้หรือภูเขาหรือน้ำตก ศาลเจ้าทั้งหมดจะเปิดให้ประชาชนเข้ามาทำพิธีบางครั้งหรือตลอดทั้งปี

ถึงแม้ว่าศาลเจ้าสาธารณะมากมายจะมีโครงสร้างที่มีความประณีตทั้งหมดเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบเฉพาะของญี่ปุ่นซึ่งแตกต่างไปตามยุค ด้านหน้าของศาลเจ้าจะมีเสาประตูญี่ปุ่นขนาดใหญ่ซึ่งมีความเด่นเป็นพิเศษ(โทริอิ)[2] ทำจากประตูสลักแบบตั้งสองชิ้นซึ่งแบ่งเป็นช่องธรรมดาและช่องศักดิ์สิทธิ์ ประตูโทริอิมีถึง 20 รูปแบบและเข้ากับฐานโครงสร้างบูชาเทพเจ้าและราชวงศ์ ซึ่งบริเวณหน้าเสาโทริอิจะมีรูปปั้นสิงโตชิสะอยู่เพื่อปกป้องวัดจากความชั่วร้าย

ความเชื่อ

[แก้]

สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์และสิ่งที่บริสุทธิ์

[แก้]
ฮาไรกูชิ(祓串)สำหรับการทำให้บริสุทธิ์
การทำพิธีเซ็ปปุกุตามโคะจิคิ

ชินโตสอนว่าการกระทำของคนเราทุกอย่างจะสร้างชนิดของความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ ที่หนึ่งควรต้องการทำความสะอาดเพื่อความสงบสุขของตัวเองหนึ่งของความคิดและความโชคดีไม่ได้เพราะไม่ถูกต้องในสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์และของตัวเอง กระทำผิดจะเรียกว่า (ญี่ปุ่น: "ไม่บริสุทธิ์"โรมาจิ穢れทับศัพท์: คีกาเระ) ซึ่งแปลว่าไม่บริสุทธิ์ ตรงกันข้ามคำว่า (ญี่ปุ่น: "บริสุทธิ์"โรมาจิ清めทับศัพท์: คิโยเมะ) โดยวันที่ไม่สำคัญจะเรียกว่า"วัน"(คี)และส่วนในช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญจะใช้คำว่า"แสงแดด"ซึ่งอาจมีความหมายว่า สิ่งมี่เป็นมงคลนั่นเอง

ผู้ที่ถูกฆ่าตายโดยปราศจากการแสดงความกตัญญูเพื่อพิธีกรรมสังเวยของพวกเขาจะทำให้อดกลั้นต่อ (ญี่ปุ่น: การเสียใจโรมาจิ怨みทับศัพท์: เทพเจ้าอูรามิ) และกลายเป็นความชั่วร้ายที่มีประสิทธิภาพและอาจจะทำให้เทพเจ้าทรงกริ้วและพยายามที่พยายามแก้แค้น ( aragami ). นอกจากนี้หากใครได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ของศาลเจ้าชินโต ผู้นั้นต้องทำพิธีเพื่อให้วิญญาณบริสุทธิ์

วิถีเพื่อรักษาเกียรติ

[แก้]

ตามหลักวิถีนักรบที่จารึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิ เมื่อตกเป็นเชลยศึกในสงครามหรือกระทำผิดจารีตวิถีนักรบ ก็ต้องมีการรักษาเกียรติเอาไว้โดยการทำเซ็ปปุกุหรือการคว้านท้องฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติของผู้กระทำเอง

ชีวิตหลังความตาย

[แก้]

เป็นเรื่องปกติสำหรับครอบครัวที่จะเข้าร่วมในพิธีสำหรับเด็กที่ศาลเจ้า ยังมี งานศพแบบญี่ปุ่นที่เป็นเวลาแห่งความตาย แต่แนวคิดในด้านของชีวิตภายหลังการมรณะของชินโต อาจจะไม่ได้เปิดมุมคมชัดแบบของพุทธ ในตำนานเก่าของญี่ปุ่นก็มักจะอ้างว่าคนตายไปที่สถานที่ที่เรียกว่า โยมิ (黄泉) ดินแดนใต้พิภพเป็นแผ่นมืดมนกับแม่น้ำแยกชีวิตจากความตาย ซึ่งปกครองโดย อิซะนะมิ เทพมารดรผู้เป็นนายเหนือแห่งดินแดนยมโลก

ข้อปฏิบัติในการเข้าศาลเจ้าชินโต—โอมาริ

[แก้]
อ่างน้ำศักดิสิทธิ์ไทมิซุ ศาลเจ้าอิตสึกูชิมะ จังหวัดฮิโรชิมะ

ผู้ใดสามารถต้องการเข้าชมศาลเจ้าชินโตที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องนับถือชินโตก็ได้ โดยทั่วไปมีขั้นตอนเบื้องต้นที่ไปที่ศาลเจ้า

  • วิธีการเข้าและน้อมกราบก่อนที่จะเข้า
  • ถ้ามีอ่างล้างมือให้ดำเนินการ ไทมิซุ; ล้างมือซ้ายและขวาของคุณในอ่างน้ำก่อนจากนั้นใช้มือทั้งสองข้างของคุณกวักน้ำแล้วล้างปากของคุณ (ไม่ต้องบ้วนลงอ่างน้ำหรือเครื่องดื่ม) และถ้าเท้าของคุณไม่สะอาดให้ล้างเท้าด้วย วิธีทำคือใช้จวักน้ำไปข้างหลังแล้วล้างให้สะอาดเทน้ำทิ้งให้หมดเมื่อใช้เสร็จห้ามใช้มือล้างเด็ดขาด
  • วิธีการศาล; ถ้ามีกระดิ่ง คุณอาจจะสั่นกระดิ่งก่อนที่จะสวดมนต์ แต่ถ้ามีช่องสำหรับการบริจาคให้บริจาคตามกำลังทรัพย์จากนั้นให้ตบมือสองรอบซึ่งเป็นสัญลักษณ์คันธนูที่มีความเป็นสิริมงคล และยกมือของคุณไหว้สิ่งศักดิสิทธิ์ด้วยหัวใจของคุณที่สำคัญตั้งคำอธิษฐานของคุณ
  • มีการเปลี่ยนแปลงในวิธีการนี้อาจจะไปเยี่ยมชมขั้นพื้นฐานและขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปีและวันหยุดที่นั่นอาจจะเป็นพิธีกรรมอื่น ๆ กับการเยี่ยมเยือน
  • ต้องเคารพด้วยความจริงใจและถ้าเป็นไปได้ควรทำตัวเงียบๆไม่ควรส่งเสียงดัง ไม่ควรสวมรองเท้าเข้าศาลเจ้า

พิธีฮาราอิ

[แก้]

พิธีบริสุทธิ์เป็นพิธีกรรมที่มักจะทำทุกวันที่ศาลเจ้าชินโตและเป็นพิธีของถวายอาหารและตั้งคำอธิษฐานของหลายรูปแบบชินเซน ยกตัวอย่างอาหารบูชาเช่น (อาหารประเภทผลไม้, ปลา, ผัก),ขนมทามากูชิ (Sakaki ต้นไม้), Shio (เกลือ), Gohan (ข้าว), โมชิ และเหล้าสาเก (ไวน์ข้าว) ในวันหยุดและโอกาสพิเศษอื่น ๆ ประตูด้านในศาลเจ้าอาจจะเปิดออกเพื่อให้ผู้ที่นับถือชินโตนำอาหารมาถวาย

ฮาราอิ — พิธีบูชาอาหารแก่เทพเจ้า
เครื่องเซ่นทามากุชิ ถวายที่ศาลเจ้าฮาจิมัง
เครื่องเซ่นชินเซ็นที่ศาลเจ้าซึบากิ
เครื่องเซ่น ขนมโมจิ ชินเซ็นถวายที่ศาลเจ้าเมจิ
การถวายเหล้าสาเกที่ศาลเจ้าอิตสึกูชิมะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 八百万神 kotobank (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.
  2. ไขกระจ่าง! ความแตกต่างของศาลเจ้าชินโตและวัดพุทธในญี่ปุ่น Kiji.life เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]