ข้ามไปเนื้อหา

ลี่เจียง

พิกัด: 26°51′19″N 100°13′33″E / 26.8552°N 100.2259°E / 26.8552; 100.2259
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลี่เจียง

丽江市
เมืองเก่าลี่เจียง
เมืองเก่าลี่เจียง
ที่ตั้งของนครลี่เจียงในมณฑลยูนนาน
ที่ตั้งของนครลี่เจียงในมณฑลยูนนาน
ลี่เจียงตั้งอยู่ในประเทศจีน
ลี่เจียง
ลี่เจียง
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด (หน่วยงานบริหารนครลี่เจียง): 26°51′19″N 100°13′33″E / 26.8552°N 100.2259°E / 26.8552; 100.2259
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลยูนนาน
ศูนย์กลางการปกครองเขตกู่เฉิง (古城区)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด20,557 ตร.กม. (7,937 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,264 ตร.กม. (488 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,264 ตร.กม. (488 ตร.ไมล์)
ความสูง2,400 เมตร (7,900 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโนปี 2010)
 • นครระดับจังหวัด1,244,769 คน
 • ความหนาแน่น61 คน/ตร.กม. (160 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง211,151 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล211,151 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์674100
รหัสพื้นที่0888
รหัส ISO 3166CN-YN-07
คำนำหน้าทะเบียนรถ云P
เว็บไซต์lijiang.gov.cn
ลี่เจียง
"ลี่เจียง" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ丽江
อักษรจีนตัวเต็ม麗江
เมืองเก่าลี่เจียง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เมืองเก่าลี่เจียง
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iv) (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2540 (คณะกรรมการสมัยที่ 21)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ลี่เจียง (จีนตัวย่อ: 丽江市; จีนตัวเต็ม: 麗江市; พินอิน: Lìjiāngshì; ลี่เจียงซื่อ หรือ จีนตัวย่อ: 丽江古城; จีนตัวเต็ม: 麗江古城; พินอิน: Lìjiānggǔchéng; ลี่เจียงกู่เฉิง) เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรราว 1,100,000 คน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน (大研, Dàyán)

การปกครอง

[แก้]

พื้นที่ของเมืองลี่เจียงประกอบด้วยไปด้วยเขต 1 เขต (เขตเมืองเก่า) และ 4 ตำบล รวมทั้งย่านเมืองใหม่ลี่เจียง เมืองเก่าต้าเหยียน เมืองเก่าซูเหอ เมืองเก่าไป๋ซา และบางส่วนของช่องเขาเสือกระโจน

ประวัติ

[แก้]

ย่านเมืองเก่าลี่เจียงมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปได้มากกว่า 800 ปี และเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าตามเส้นทางสาย Tea Horse สายเก่า ย่านเมืองเก่านี้มีชื่อเสียงจากคูคลองและสะพานที่มีอยู่มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"

เมืองเก่าลี่เจียงมีสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากเมืองโบราณอื่นๆของจีน เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งรกรากของชาวน่าซีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ลี่เจียงตั้งอยู่ในภูมิภาคที่ล้อมรอบด้วยเทือกเขาเหิงต้วน ที่คั่นกลางระหว่างที่ราบสูงชิงไห่–ทิเบต และที่ราบสูงยูนนาน–กุ้ยโจว และยังเป็นเมืองขนาดใหญ่เพียงหนึ่งเดียวในเทือกเขาเหิงต้วน ลี่เจียงมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

เมืองลี่เจียงมีพื้นที่ทั้งหมด 20,600 ตารางกิโลเมตร และมีเขตการปกครองครอบคลุมเมืองเก่าลี่เจียง หรือเขตกู่เฉิง (古城区), อำเภอปกครองตนเองชนชาติน่าซี ยฺวี่หลง (玉龙纳西族自治县), อำเภอหย่งเชิ่ง (永胜县), อำเภอหฺวาผิง (华坪县) และอำเภอปกครองตนเองชนชาติอี๋ หนิงล่าง (宁蒗彝族自治县)

ภูมิอากาศ

[แก้]

จากการผสมระหว่างที่ตั้งของเมืองที่ละติจูดต่ำ (ค่อนไปทางเส้นศูนย์สูตร) และ ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมาก จึงมีภูมิอากาศค่อนไปทางแบบที่สูงกึ่งเขตร้อนเล็กน้อยภูมิอากาศ (Köppen Cwb) ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมาก แห้งมาก และมีแดดจัด (มีแสงแดดมากถึง 70%) แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนธันวาคมและมกราคมจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เดือนมกราคมซึ่งเป็นเดือนที่อากาศเย็นที่สุดโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 6.4 ° C (43.5 ° F) ฤดูใบไม้ผลิเริ่มเร็ว อากาศแห้งและมีแดดจัดจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนที่เพิ่มสูงขึ้นและถี่ขึ้นมากในระยะเวลาสั้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน และฝนตกหนาแน่นเช่นนี้จนถึงปลายเดือนกันยายน ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อน มีฝน (มากกว่าแดด) และชื้น เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18.6 ° C (65.5 ° F) ฤดูใบไม้ร่วงจะเห็นปริมาณน้ำฝนลดลงอย่างกะทันหันและกลับมีแดดมาก อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 12.93 ° C (55.3 ° F) ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 980 มม. (38.6 นิ้ว) โดยประมาณ 80% เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ด้วยเปอร์เซ็นต์แสงแดดต่อเดือนตั้งแต่ 32% ในเดือนกรกฎาคมถึง 80% ในเดือนธันวาคม ลี่เจียงมีจำนวนชั่วโมงได้รับแสงอาทิตย์ 2,463 ชั่วโมงต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของลี่เจียง (จากสถิติปี ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 22.6
(72.7)
23.6
(74.5)
26.3
(79.3)
28.9
(84)
30.8
(87.4)
31.8
(89.2)
31.4
(88.5)
28.2
(82.8)
28.7
(83.7)
25.9
(78.6)
23.6
(74.5)
22.8
(73)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.0
(57.2)
15.0
(59)
17.3
(63.1)
20.2
(68.4)
22.9
(73.2)
24.1
(75.4)
23.3
(73.9)
22.9
(73.2)
21.4
(70.5)
20.2
(68.4)
17.1
(62.8)
14.6
(58.3)
19.42
(66.95)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.4
(43.5)
8.0
(46.4)
10.7
(51.3)
13.6
(56.5)
16.6
(61.9)
18.6
(65.5)
18.2
(64.8)
17.5
(63.5)
15.9
(60.6)
13.6
(56.5)
9.5
(49.1)
6.6
(43.9)
12.93
(55.28)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.3
(32.5)
2.5
(36.5)
5.4
(41.7)
8.3
(46.9)
11.3
(52.3)
14.5
(58.1)
14.8
(58.6)
14.0
(57.2)
12.4
(54.3)
8.9
(48)
3.7
(38.7)
0.3
(32.5)
8.03
(46.46)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −6.1
(21)
−5.7
(21.7)
-4.0
(24.8)
0.7
(33.3)
3.5
(38.3)
6.2
(43.2)
8.6
(47.5)
6.6
(43.9)
3.4
(38.1)
1.7
(35.1)
−3.7
(25.3)
−10.3
(13.5)
−10.3
(13.5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 4.0
(0.157)
5.7
(0.224)
14.6
(0.575)
18.2
(0.717)
66.0
(2.598)
165.1
(6.5)
242.3
(9.539)
215.7
(8.492)
165.5
(6.516)
66.3
(2.61)
13.4
(0.528)
3.4
(0.134)
980.2
(38.591)
ความชื้นร้อยละ 45 44 47 51 59 71 80 82 83 72 61 52 62.3
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.9 3.9 6.6 7.9 11.7 20.3 24.2 22.3 20.8 11.5 4.3 1.5 136.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 259.9 229.7 248.4 233.4 225.1 156.7 134.2 155.0 138.8 195.2 226.6 260.3 2,463.3
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration (precipitation days and sunshine 1971–2000)[1][2]


สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • ภูเขาหิมะมังกรหยก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโบราณลี่เจียง เป็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ย 4,000 เมตร เนื่องจากมียอดเขา 13 ยอดเรียงต่อกัน และปกคลุมด้วยหิมะ มีลักษณะคล้ายมังกร จึงถูกเรียกว่า ภูเขาหิมะมังกรหยก
  • สระน้ำมังกรดำ (黑龙潭, Heillongtan) หรือที่รู้จักกันว่า สวนยวี่เฉวียน (玉泉) ตั้งอยู่ในตัวเมืองลี่เจียง ห่างจากตัวเมืองโบราณลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,390 ตารางเมตร สระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นที่ความใสของน้ำที่ใสราวกับมรกต นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีการสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบต และน่าซี ไว้ด้วยกัน
  • โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (长江第一湾, Changjiangdiyiwan) ห่างจากเมืองโบราณลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม
  • ช่องเขาเสือกระโจน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (金沙江, แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องเขาเสือกระโดด”

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น ส่งผลให้พื้นที่หนึ่งในสามของเมืองถูกทำลายลง
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ย่านเมืองเก่าลี่เจียง (ต้าเหยียน ไป๋ซา และซูเหอ) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับภาระหน้าที่ในการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่ามากขึ้น และยังทำให้เมืองนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยี่ยมชมเมืองเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวเมืองเกรงว่ากระแสการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เมืองนี้สูญเสียเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ที่น่าประทับใจไป
  • พ.ศ. 2550 เมืองลี่เจียงของมณฑลยูนนานได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมจีน [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 中国气象数据网 – WeatherBk Data (ภาษาChinese (China)). China Meteorological Administration. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  2. 中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
  3. http://thai.cri.cn/1/2007/04/04/101@95961.htm