วนิดา พึ่งสุนทร
วนิดา พึ่งสุนทร | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2480 (อายุ 87 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักเขียน สถาปนิก |
วนิดา พึ่งสุนทร อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) สถาปนิกหญิงของชาติ
ประวัติ
[แก้]อาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทร (แม่นิด) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาศิลปบัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) จากมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2505 และเริ่มเป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้นได้ศึกษาในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (สถาปัตยกรรมไทย) จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2519 ในปี พ.ศ. 2527 ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2528 เป็นประธานกรรมการร่างหลักสูตร สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2537
อาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทรเกษียณอายุราชการในตำแหน่งอาจารย์ระดับ 7 ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม ในปี พ.ศ. 2541
ผลงานที่สำคัญของอาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทร ได้แก่
- หอพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
- พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา (ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ)
- วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย
- พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสนและห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี วัดจันเสน จังหวัดนครสวรรค์
- พิพิธภัณฑ์บ้านวัดม่วง จังหวัดราชบุรี
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมและพระตำหนักสมเด็จพระสังฆราชฯ
- วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง) จังหวัดกำแพงเพชร
- เมรุลอยเพื่อพระราชทานเพลิงพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
- สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
- และสถาปัตยกรรมแบบประเพณีอื่น ๆ อีกมากมาย
เกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]- 2540: ประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น สำนักนายกรัฐมนตรี
- 2542: ศิลปินดีเด่น กรุงเทพมหานคร สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
- 2546: ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี)
- 2546: นักศึกษาเก่ายอดเยี่ยม มหาวิทยาลัยศิลปากร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[1]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[2]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๖, ๙ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖๘๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๖๑, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำประกาศเกียรติคุณ ศิลปินแห่งชาติ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์
- สถาปนิกชาวไทย
- อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา