ข้ามไปเนื้อหา

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
อาชีพนักนิติศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
มีชื่อเสียงจากหัวหน้าคณะนิติราษฎร์

ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักกฎหมายชาวไทย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] [2] และเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาอื่นอีกหลายแห่ง[3][4] มีชื่อเสียงจากการร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์[5] แต่เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วย จึงมีการต่อต้านวรเจตน์กับเพื่อนหลายครั้ง คราวร้ายแรงที่สุด มีผู้ทำร้ายร่างกายเขาจนบาดเจ็บ[6]

มติชนออนไลน์ ให้วรเจตน์กับเพื่อนคณะนิติราษฎร์เป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 ในสาขาวิชาการ[7] และสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้เขาเป็นศาสตราจารย์ในเดือนสิงหาคม 2557[8]

ประวัติ

[แก้]

วรเจตน์เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องสี่คน[9] บิดาเป็นอดีตนายสถานีรถไฟบ้านม้า[9] เขาสนใจศึกษาการเมืองการปกครอง ด้วยตนเองมาตั้งแต่เด็ก จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์[9]

วรเจตน์จบการศึกษาชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[10] จากนั้นเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหอวังในกรุงเทพมหานคร[10] ระหว่างนั้น เขานั่งรถไฟไปโรงเรียนและกลับบ้านที่พระนครศรีอยุธยาทุกวัน โดยลงที่สถานีบางเขนแล้วต่อรถประจำทางไปยังโรงเรียน ต่อมา สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[9], นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2533[10] และรับทุนมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (University of Göttingen) ประเทศเยอรมนี ด้วยคะแนนสูงสุดของรุ่น[10] และปริญญาเอก Doctor der Rechte (Summa cum Laude) จาก มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน

วรเจตน์ชื่นชอบนวนิยายจีน เช่น มังกรหยก, ฤทธิ์มีดสั้น[9]

การทำงาน

[แก้]
  • รองประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2531)[11]
  • นิติกร สำนักงานกฎหมาย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)[11]
  • รองศาสตราจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[12]
  • ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชากฎหมายมหาชน สังกัดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2556 [13] [14]
  • หัวหน้าหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[15]
  • รองผู้อำนวยการ โครงการอบรมประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[16]
  • อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[3]
  • อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [4]
  • ผู้บรรยายวิชากฎหมายปกครอง สำนักฝึกอบรมกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา [17]

การถูกทำร้ายร่างกาย

[แก้]

เหตุการณ์

[แก้]

ในระยะหลัง วรเจตน์มีบทบาทแสดงความคิดเห็นทางกฎหมายต่อการเมืองในเชิงวิพากษ์ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจของบุคคลบางกลุ่ม วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 เวลาประมาณ 15:40 นาฬิกา มีชายสองคนเข้าทำร้ายร่างกายเขาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์[18] วรเจตน์ว่า ตนขับรถยนต์เก๋งเข้าไปจอดในคณะเพื่อเตรียมสอนในเวลาเย็น เมื่อลงจากรถ มีชายสองคนเดินปรี่เข้ามาจากด้านหลัง คนหนึ่งตะโกนว่า "กูรอมึงมานานแล้ว" และชกเข้าที่หน้าขวาเขาไม่ยั้ง จนแว่นตาที่เขาสวมอยู่กระเด็นตกพื้นเลนส์แตกเสียหาย เขาได้แต่ใช้มือปัดป้อง และเห็นหน้าชายทั้งสองไม่ชัด เนื่องจากสายตาสั้น เวลานั้น มีชายสองคนวิ่งเข้ามาช่วย ทราบภายหลังว่า เป็นเพื่อนอาจารย์ แต่ก็ถูกผู้ก่อเหตุทั้งคู่ผลักล้มลง จากนั้น คนทั้งสองวิ่งไปขึ้นจักรยานยนต์ แล้วพากันขับหลบหนีไป ระหว่างนั้นตะโกนไล่หลังว่า "ถ้ามึงอยากรู้ว่ากูเป็นใคร ให้ไปดูกล้องวงจรปิดดู เดี๋ยวก็รู้ว่ากูเอง"[18] ต่อมา เขาได้รับการนำส่งโรงพยาบาลธนบุรี แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แพทย์ตรวจแล้วแถลงว่า มีบาดแผลฟกช้ำ และรอยขีดข่วนทั่วใบหน้าขวา ตั้งแต่โหนกแก้ม กรามขวา ไปจนถึงหน้าผาก กับทั้งมีเลือดไหลออกจากจมูก[18]

การดำเนินคดี

[แก้]

ในวันนั้นเอง พลตำรวจโท วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และพลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมทั้งพนักงานสอบสวน เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่า กล้องวงจรปิดบันทึกภาพชายคู่ผู้ก่อเหตุและทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนีไว้ได้ชัดเจน[18] พลตำรวจตรี วิชัย ว่า พวกตนได้รับมอบหมายจากพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้รับผิดชอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะประชาชนให้ความสนใจ เวลานี้ ทราบตัวชายสองคนดังกล่าวแล้ว และจะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด[18] จากนั้น จึงนำกำลังไปจับกุมผู้ต้องสงสัยที่บ้านพักแต่ไม่พบ[6]

สุธน เข็มเพ็ชร์ พนักงานรักษาความปลอดภัยของคณะ และแม่บ้านของคณะ ว่า จำหน้าคนร้ายได้อย่างแม่นยำ เพราะเคยร่วมงานเผาหุ่นวรเจตน์ประท้วงที่หน้าคณะเมื่อเดือนก่อน[19] และปิยบุตร แสงกนกกุล เพื่อนอาจารย์ของวรเจตน์ ว่า ก่อนหน้านี้ วรเจตน์ และสมาชิกคนอื่น ๆ ของคณะนิติราษฎร์ เคยรับทั้งโทรศัพท์และจดหมายข่มขู่ ซ้ำยังมีคนแปลกหน้าบุกมาหา ถึงคณะหลายครั้งด้วย แต่คาดไม่ถึงว่า จะเกิดเหตุร้ายขึ้นจริง[20]

รุ่งขึ้น เวลา 11:30 นาฬิกา มีพี่น้องฝาแฝดเข้าแสดงตัวที่สถานีตำรวจชนะสงครามว่า เป็นผู้กระทำความ โดยแจ้งว่า คนหนึ่งชื่อ สุพจน์ ศิลารัตน์ อีกคนชื่อ สุพัฒน์ ทั้งสองอายุ 30 ปีเท่ากัน อาศัยอยู่และประกอบอาชีพค้าขายที่บ้านเลขที่ 12/382 หมู่ 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ทั้งคู่ให้การภาคเสธว่า ทำไปเพราะไม่เห็นด้วยที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่มิได้เตรียมการมา ในวันเกิดเหตุ ตั้งใจจะไปสักการะพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงแวะไปก่อเหตุเสียก่อน[21] ตำรวจสอบสวนแล้วเชื่อว่า เป็นบุคคลเดียวกับในภาพจากกล้องวงจรปิด แต่ไม่เชื่อว่า มิได้เตรียมการมา พันตำรวจโท ณัฐกร คุ้มทรัพย์ รองผู้กำกับการฝ่ายสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจชนะสงคราม ซึ่งร่วมเป็นพนักงานสอบสวน กล่าวว่า "จากพฤติกรรมเข้าใจว่า น่าจะติดตามความเคลื่อนไหวของนายวรเจตน์มานานพอสมควร ถึงรู้ว่า ขับรถยี่ห้ออะไร ทะเบียนอะไร และจอดบริเวณไหนของมหาวิทยาลัย"[21] จากนั้น ตำรวจแถลงข่าวว่า แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 296 ประกอบมาตรา 289 และ 83[6][21][22]

พลตำรวจโท วินัย ยังกล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้งสองมีประวัติกระทำความผิดลักษณะเดียวกันในหลายท้องที่[6] นอกจากนี้ ขณะที่นักข่าวขอสัมภาษณ์ สุพัฒน์ตอบว่า "อยากเตะนักข่าว"[6][21]

ต่อมาวันที่ 8 มีนาคม 2555 เวลาเช้า พนักงานอัยการฟ้องผู้ต้องหาทั้งสองเป็นจำเลยต่อศาลแขวงดุสิต ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งคู่ตามประมวลกฎหมายอาญาข้างต้น และสุพจน์ จำเลยที่ 1 เคยกระทำความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1336/2553 ของศาลอาญา ซึ่งศาลอาญาพิพากษาจำคุกเจ็ดเดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้ จึงขอให้นับโทษดังกล่าวต่อจากโทษในคดีนี้ด้วย[23][24] จำเลยทั้งสอง ให้การรับสารภาพ[24]

บ่ายวันเดียวกัน ศาลแขวงดุสิตพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกคนละหกเดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษ ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกคนละสามเดือน ให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญา หมายเลขแดงที่ 1336/2553 ของศาลอาญา รวมเป็นจำคุกจำเลยที่ 1 สิบเดือน และจำคุกจำเลยที่ 2 สามเดือน ไม่รอลงอาญา[24] จำเลยทั้งคู่อุทธรณ์[24] ญาติจำเลยขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ วางประกันคนละ 22,000 บาท ศาลอนุญาต[25]

ปฏิกิริยา

[แก้]

หลังทราบเหตุ สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กตนว่า ขอประณามความรุนแรงทุกประเภท ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้เหตุผล และแม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะรักษาความปลอดภัยดีแล้ว แต่ก็จะวางเวรยามเพิ่มต่อไป[18]

อนึ่ง มีรายงานว่า "บรรดาเพื่อนอาจารย์...และลูกศิษย์ รวมทั้งประชาชนผู้สนับสนุนอาจารย์วรเจตน์ ต่างออกมาประณามการกระทำอันป่าเถื่อนครั้งนี้" และคณะนิติราษฎร์แถลงว่า "บอกได้เลยว่า พวกคุณคิดผิด หากคิดว่าเรากลัว...ขอยืนยัน เราจะสู้ด้วยเหตุผลต่อไป แม้พวกคุณจะใช้กำลัง"[6] ขณะที่ สมยศ เชื้อไทย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "การทำร้ายร่างกายนายวรเจตน์...มิใช่เรื่องการทำร้ายร่างกายบุคคลธรรมดา...แต่ยังเป็นการทำร้ายและทำลายหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของฝ่ายข้างน้อยอย่างร้ายแรง หากสังคมไม่เกิดความสำนึกร่วมที่จะแสวงหาหลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง ความพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว"[21] และสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การกระทำของชายทั้งสองนั้น "ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ แต่จงใจมุ่งให้เกิดความแตกแยก และให้สังคมเกิดความโกลาหลวุ่นวาย ยากต่อการประนีประนอม หรือปรองดองสามัคคีระหว่างคนในสังคม"[26]

ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองออกแถลงการณ์ซึ่งมีเนื้อหาทำนองเดียวกัน กับทั้งวิงวอนให้สังคมใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง มหาวิทยาลัยยังได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย[27]

เย็นวันที่ 1 มีนาคม 2555 มีบุคคลจำนวนมาก เข้าให้กำลังใจแก่วรเจตน์ โดยถือป้ายว่า "คิดต่าง แต่ไม่คิดต่อย" [26]

การรายงานตัวต่อคณะรัฐประหาร

[แก้]

วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 หลังรัฐประหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งเรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งฉบับที่ 5/2557 เพื่อให้วรเจตน์มารายงานตัว แต่ครั้งนั้นเขาไม่ไป และยังมีคำสั่งฉบับที่ 57/2557 เพื่อให้เขาไปรายงานตัวอีกครั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า วรเจตน์มอบหมายให้พัชรินทร์ ภริยา เข้ารายงานตัวแทน และให้เหตุผลว่า เขาป่วย จึงไม่สามารถเข้ารายงานตัวด้วยตนเอง[28]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 สำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่า กำลังทหารตามคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองเข้าควบคุมตัววรเจตน์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังเดินทางกลับจากเขตปกครองพิเศษฮ่องกง บางสำนักรายงานว่า เขาถูกกักตัวอยู่ก่อนแล้วเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ทว่า ในวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการในคณะนิติราษฎร์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กตนว่า "ดร.วรเจตน์ ไม่ได้ถูกควบคุมตัว แต่ตัดสินใจเข้ารายงานตัวด้วยตัวเอง"[29]

เช้าวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ทหารควบคุมวรเจตน์มายังกองบังคับการกองปราบปราม เพื่อให้ตำรวจถามปากคำ และแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง วรเจตน์ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์แก้ผู้สื่อข่าว ครั้นเวลาประมาณ 12:30 นาฬิกา พนักงานสอบสวนกองปราบปรามและทหารนำเขาไปยังศาลทหารกรุงเทพฯ เพื่อขอฝากขังจนถึงวันที่ 27 มิถุนายน ศาลทหารอนุมัติ และให้นำวรเจตน์ไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ครอบครัวของวรเจตน์ยื่นหลักทรัพย์เงินสด 20,000 บาท เพื่อขอประกันตัว ในเวลาประมาณ 16:00 นาฬิกา ศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องขออนุญาตก่อนออกนอกราชอาณาจักร และให้มารายงานตัวตามวันที่นัดหมาย มีผู้มาคอยต้อนรับและให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง[30]

ต่อมาคดีดังกล่าวได้ถูกโอนจากศาลทหารกรุงเทพ ไปยังศาลแขวงดุสิต ซึ่งจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงดุสิตขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 30/2563 วินิจฉัยว่าประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 และฉบับที่ 41/2557 เฉพาะในส่วนโทษทางอาญาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ[31] ต่อมาศาลแขวงดุสิตพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว[32]

ผลงานหนังสือ

[แก้]
  • Die Entwicklung der Dogmatik des verwaltungsrechtlichen Vertrages (2543)[33]
  • วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (2546)[34]
  • ความรับผิดทางละเมิดของฝ่ายปกครองตาม Common Law ในระบบกฎหมายอังกฤษ (2546)
  • หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง (2546)
  • วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน (2549)[35]
  • การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัย และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (2550)[36]
  • จุดไฟในสายลม (2552)[37]
  • กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (2554)[38]
  • คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (2555)[39] แก้ไขล่าสุด พิมพ์ครั้งที่ 3 2565 [40]
  • ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์ (2558)[41]
  • ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา (2561)[42]

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • สอบเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2530 (เลือกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่ง[43]
  • สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[43]
  • ได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมิพล เนื่องจากเป็นบัณฑิตซึ่งมีคะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2533[10]
  • ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ สาขากฎหมายมหาชน ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี[10]
  • สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิตซึ่งมีคะแนนสูงสุด ตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน[10]
  • บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี พ.ศ. 2553 สาขาวิชาการ จากเว็บไซต์ข่าว มติชนออนไลน์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งศาสตราจารย์
  2. "สภา มธ.แต่งตั้ง อ.วรเจตน์เป็น "ศาสตราจารย์" และอ.สาวตรี สุขศรี เป็น "ผู้ช่วยศาสตราจารย์"". ประชาชาติธุรกิจ. 2557. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต". มหาวิทยาลัยรังสิต. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2559. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "เว็บไซต์ 'นิติราษฎร์' เปิดตัวแล้ว". วรเจตน์และเพื่อน. 19 กันยายน 2553. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "2 ฝาแฝดมือชกวรเจตน์มอบตัว". โพสต์ทูเดย์. 1 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  7. 7.0 7.1 "วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และกลุ่มนิติราษฎร์: บุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 สาขา "วิชาการ"". มติชน. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "มติสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อนุมัติ "วรเจตน์" ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์"". มติชน. 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "มารู้จัก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์". 2554. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 ศิษย์เก่าที่เราภูมิใจ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา
  11. 11.0 11.1 "ประวัติ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  12. "รายนามอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาษาไทย)". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2106944.pdf ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 133 ง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2560
  14. ทัศนรุ่งเรือง, ณัฏฐพัชร์ (2017-04-20). "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์ 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' 1 ใน 10 รายชื่อ". สำนักข่าวอิศรา. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2017-04-21.
  15. "วรเจตน์ ภาคีรัตน์". pub-law.net. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "ข้อมูลนักวิชาการ วรเจตน์ ภาคีรัตน์,". topscholar.org. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "ตารางสอน ภาคหนึ่ง สมัยที่ 68" (PDF). เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 "'ธรรมศาสตร์'ระอุชกวรเจตน์แกนนำนิติราษฎร์". ไทยรัฐ. 1 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "บรรจงประเคนหมัดตะบันหน้า "วรเจตน์ นิติเรด" แว่นแตก!". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กุมภาพันธ์ 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. "Nitirat group 'won't be intimidated'". Bangkok Post. 1 มีนาคม 2555.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "แฉแฝดชกวรเจตน์ได้ถ้วยแม่นปืน". ไทยรัฐ. 2 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "สองพี่น้องฝาแฝดผู้ตะบันหน้า "วรเจตน์" มอบตัว! อ้างเห็นต่างทางความคิด". ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  23. "ตร.ส่งฟ้องฝาแฝดตะบันหน้า"วรเจตน์"สัปดาห์หน้า". ผู้จัดการออนไลน์. 3 มีนาคม 2555.[ลิงก์เสีย]
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 "คุก 3 เดือน! คู่แฝดชก "วรเจตน์" - คนพี่ "สุพจน์" เจอเด้งบวกโทษคดีเก่าด้วย". ผู้จัดการออนไลน์. 8 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
  25. "Jail terms for Worajet's attackers". Bangkok Post. 8 March 2012.
  26. 26.0 26.1 "แก๊งนิติราษฎร์ให้กำลังใจ "วรเจตน์" บอกคิดต่างแต่ไม่คิดต่อย". ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  27. "ธรรมศาสตร์ ชี้"วรเจตน์"ถูกชกเหตุเสนอแก้ ม.112-ยันหนุนกิจกรรมวิชาการแต่มีเงื่อนไข". ผู้จัดการออนไลน์. 1 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  28. "ดวงใจ พวงแก้ว 4 คนรายงานตัว คสช.-วรเจตน์ป่วยให้ภรรยามาแจ้ง-ปล่อย 6 รายชู 3 นิ้ว". ประชาไท. 11 มิถุนายน 2557.
  29. "จนท.คุมตัว 'วรเจตน์' ตามคำสั่งรายงานตัวคสช. เตรียมส่งขึ้นศาลทหาร". ประชาไท. 16 มิถุนายน 2557.
  30. "ศาลทหารให้ประกัน 'วรเจตน์' ปล่อยตัวจากเรือนจำค่ำนี้". ประชาไท. 18 มิถุนายน 2557.
  31. "เปิดคำวินิจฉัยฉบับเต็มที่ 'วรเจตน์' โต้แย้งคำสั่งเรียก คสช.ขัดรัฐธรรมนูญ". prachatai.com.
  32. prachachat (2021-06-08). "ศาลยกฟ้อง! "วรเจตน์" ชนะคดีไม่ไปรายงานตัว "คสช." เมื่อปี 57". ประชาชาติธุรกิจ.
  33. "Die Entwicklung der Dogmatik des verwaltungsrechtlichen Vertrages. (Schriften zum Öffentlichen Recht; SÖR 809)". Amazon.de. 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดย ผศ.ดร.,วรเจตน์ ภาคีรัตน์". ซีเอ็ด. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  35. "วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน". pub-law.net. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัย และผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ". topscholar.org. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "จุดไฟในสายลม โดย อธึกกิต แสวงสุข,วรเจตน์ ภาคีรัตน์". ซีเอ็ด. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  38. "กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์". ซีเอ็ด. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  39. "คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์". โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. https://readjournal.org/product/onstate/
  41. "ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์ โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์". Shine Publishing House. 2559. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์". Shine Publishing House. 2567. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. 43.0 43.1 "วรเจตน์ ภาคีรัตน์". ไทยรัฐ. 2554. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  45. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๒๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]