วัดอินทรวิหาร
วัดอินทรวิหาร | |
---|---|
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง |
ที่ตั้ง | เลขที่ 144 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่ออินทร์ |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อโต |
เจ้าอาวาส | พระโสภณธรรมวงศ์ (วศก ปญฺญาอกฺโข) |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดอินทรวิหาร |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0005570 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง หรือที่เรียกทั่วไปว่า วัดหลวงพ่อโต กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดบางขุนพรหมนอก ต่อมา ชาวลาวที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงกับวัด นามว่า เจ้าอินทร์ ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำการบูรณะวัดแห่งนี้ครั้งใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดอินทร์ เพื่อให้เกียรติแด่ผู้บูรณะวัดนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดอินทรวิหาร ด้วยอาจเกิดสับสนกับ วัดอินทาราม ที่บางยี่เรือ[1]
วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง เป็นที่รู้จักสำหรับ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)[2]
หลวงพ่อโต
[แก้]หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร (พระพุทธศรีอริยเมตไตรย) เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ มีความสูง สูง 32 เมตร สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เมื่อ พ.ศ. 2410 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ท่านก็ได้มรณภาพลงขณะที่สร้างไปได้ถึงบริเวณพระนาภี (สะดือ) การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง และได้มีการก่อสร้างต่อจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2467 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเป็นเวลาสามวัน คือวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ต่อมาได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนยอดเกศ (เส้นผม) ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ที่รัฐบาลของประเทศศรีลังกามอบให้ ในปี พ.ศ. 2523[3]
หลวงพ่อโตฯ เป็นอดีตรูปปั้นและพระพุทธรูปที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร (สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย) ทางวัดได้จัดงานประจำปี ระหว่างวันที่ 1 - 10 มีนาคม เป็นประจำทุกปี กระทั่งวัดปากน้ำภาษีเจริญได้ก่อสร้างพระพุทธธรรมกายเทพมงคลซึ่งมีความสูง 69 เมตร เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2564 ทำให้หลวงพ่อโตฯ เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานครอันดับที่ 2
-
พระประธานในพระอุโบสถ ฉากหลังเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระพุทธไสยาสน์ที่วัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
-
พระอุโบสถ
-
หลวงพ่อโต มุมมองจากพระอุโบสถ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.phenkhao.com/contents/374296
- ↑ https://www.phenkhao.com/contents/374296
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.