ข้ามไปเนื้อหา

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พิกัด: 13°45′12″N 100°30′16″E / 13.75333°N 100.50444°E / 13.75333; 100.50444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

13°45′12″N 100°30′16″E / 13.75333°N 100.50444°E / 13.75333; 100.50444

วัดเทพธิดารามวรวิหาร
ทางเข้าด้านหน้าวัด เมื่อปี 2564
แผนที่
ที่ตั้งแขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระธรรมวชิรคณี (แผ่ว ปรกกฺโม ป.ธ.๙)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดบุรณศิริมาตยาราม
ขึ้นเมื่อ13 ธันวาคม พ.ศ. 2520
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000019
เว็บไซต์www.watthepthidaram.com
หมายเหตุการเข้าชมพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญนั้นต้องขออนุญาตจากทางวัดเสียก่อน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดเทพธิดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ริมถนนมหาไชย ใกล้วัดราชนัดดา วัดเทพธิดารามวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง สันนิษฐานว่า เรียกตามบริเวณที่สร้าง ที่เป็นสวนไร่นา และคงเป็นที่ของพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม เจ้านายหรือขุนนาง

วัดเทพธิดารามวรวิหารเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน รัชกาลที่ 3 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382

สิ่งสำคัญในวัดนี้คือ พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธาน ภายในโบสถ์ ที่ประดิษฐ์อย่างสวยงามและที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบอย่างในรัชกาลที่ 3

วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2383 - 2385 เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่ง เรียกว่า "บ้านกวี" เปิดเป็น พิพิธภัณฑ์

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

[แก้]
พระอุโบสถ

ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เนื่องจากในช่วงน้นมีการติดต่อค้าขายกับจีน อิทธิพลของจีนจึงเข้ามามีบทบาท รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นอาคารแบบไม่มีช่อฟ้า ใบระกา แบบวัดในช่วงสมัยอื่น มีเครื่อง ประดับพระอารามที่เป็นตุ๊กตาจีนสลักหิน มีทั้งรูปคนและสัตว์ ตุ๊กตารูปคนบางตัวมีลักษณะท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวแต่งกายแบบไทย ลักษณะพิเศษที่วัดแห่งนี้คือมีรูปสลักผู้หญิงในลักษณะต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

หอไตรเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ใต้ถุนสูง กว้าง 6.50 เมตร สูง 10 เมตร ปิดทอง ล่องชาด มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันปิดทองประดับกระจกสี มีงานศิลปะลายรดน้ำที่มีอยู่ทุกบานประตู และหน้าต่าง หอไตรมีไว้สำหรับเก็บรักษาพระคัมภีร์ใบลาน จารึกพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น ๆ มีตู้พระไตรปิฎกทรงโบราณ กว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2 เมตร ขาตู้เป็นลักษณะเท้าสิงห์

พระวิหาร

ในพระวิหาร มีรูปหล่อลงรักปิดทอง หมู่ภิกษุณี จำนวน 52 องค์ นั่ง 49 องค์ ยืน 3 องค์ อยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ หลากหลายท่า มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ นั่งพนมมือ

ภายในพระอุโบสถมีหลวงพ่อขาวประดิษฐานบนบุษบก เป็นพระประธานปางมารวิชัย สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 21 นิ้ว รัชกาลที่ 9 ทรงถวายพระนามว่า พระพุทธเทววิลาส[1]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อันซีน"วัดเทพธิดาราม"…งดงาม"หอไตร" มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.