ข้ามไปเนื้อหา

วัดไชโยวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไชโยวรวิหาร
พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต)
แผนที่
ที่ตั้งตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นสถานที่ที่ประดิษฐาน พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติ

[แก้]

วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ใน พ.ศ. 2430|พ.ศ. 2430

ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง 1 เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4 หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง

ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 5–7 ตุลาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร 1 โรง หนัง 1 โรง ดอกไม้เพลิง 1 ต้น กัลปพฤกษ์ 2 ต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร

อ้างอิง

[แก้]