วันเด็กสากล
วันเด็ก | |
---|---|
ดวงตราไปรษณียากรของสหภาพโซเวียตเนื่องในวันเด็กปี ค.ศ. 1958 | |
ชื่อทางการ | วันเด็ก |
จัดขึ้นโดย | นานาชาติ (สหประชาชาติ) |
วันที่ | 20 พฤศจิกายน (วันเด็กสากล) 1 มิถุนายน (ในหลายประเทศ) |
ความถี่ | ประจำปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง |
วันเด็กเป็นวันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของเด็ก โดยแต่ละประเทศได้กำหนดวันเด็กขึ้นเป็นของตน
ในปี พ.ศ. 2468 วันเด็กสากลถือกำเนิดขึ้นในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการคุ้มครองเด็กที่เจนีวา นับแต่ปี พ.ศ. 2493 ประเทศในโลกที่สองส่วนมากได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นเด็กในประเทศ[1] ส่วนวันเด็กสากลกำหนดไว้เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายนเพื่อระลึกถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502[2] ในบางประเทศมีการกำหนดสัปดาห์ของเด็กแทนวันเด็ก สหรัฐกำหนดวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายนเป็นวันเด็กของสหรัฐ ส่วนประเทศไทยกำหนดให้วันเสาร์ที่สองเป็นวันเด็กแห่งชาติ
ความเป็นมา
[แก้]จุดเริ่มต้น
[แก้]วันเด็กเริ่มขึ้นครั้งในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2400 โดยชาลส์ เลโอนาร์ด บาทหลวงประจำโบสถ์ Universalist Church of the Redeemer ในเชลซี รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยเลโอนาร์ดได้จัดศาสนกิจเป็นพิเศษขึ้นเพื่ออุทิศถึงและเพื่อเด็ก โดยเรียกว่าดังกล่าวว่า โรสเดย์ (Rose Day) โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฟลาวเวอร์ซันเดย์ (Flower Sunday) และวันเด็ก (Children's Day) ตามลำดับ[3][4][5]
วันเด็กได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดแห่งชาติครั้งแรกโดยสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2463 และกำหนดให้ตรงกับวันที่ 23 เมษายน แม้ว่าจะมีการกำหนดเฉลิมฉลองวันเด็กในระดับชาตินับแต่ปีดังกล่าวโดยรัฐบาลและการประกาศผ่านหนังสือพิมพ์ แต่มีการประกาศรับรองวันดังกล่าวอย่างเป็นทางการในระดับชาติในปี พ.ศ. 2471 โดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ผู้ก่อตั้งประเทศและประธานธิบดีคนแรกของตุรกี[6][7][8]
วันเด็กสากล
[แก้]วันเด็กสากลได้รับการกำหนดขึ้นครั้งแรกที่เจนีวาในการประชุมนานาชาติว่าด้วยสวัสดิการเด็กเมื่อปี พ.ศ. 2468 ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันปกป้องเด็กสากลในสภาสตรีประชาธิปไตยนานาชาติ ที่มอสโก[1] นับแต่ปี ค.ศ. 2493 ชาติสังคมนิยมจำนวนมากได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันเด็ก
ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ในที่ประชมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ผ่านมติร่วมระหว่างอินเดียและอุรุกวัยที่สนับสนุนให้ทุกประเทศริเริ่มวันเด็กสากลขึ้น เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความเข้าใจร่วมกันระหว่างเด็ก และริเริ่มการดำเนินการในการส่งเสริมแนวคิดของกฎบัตรสหประชาชาติและสวัสดิการของเยาวชน[9] จากนั้น ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก[10] จึงได้กำหนดให้วันที่ 20 พฤศจิกายนเป็นวันเด็กโลกเพื่อระลึกถึงการรับรองปฏิญญาดังกล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ[2]
ความริเริ่มสมัยใหม่
[แก้]ในปี พ.ศ. 2543 เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษประการหนึ่งได้กำหนดว่าให้ยุติการแพร่ระบาดของไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์ภายในปี พ.ศ. 2558 แม้ว่าข้อนี้จะเป็นเป้าหมายสำหรับทุกคน แต่จุดมุ่งเน้นแรกนั้นอยู่ที่เด็ก[10] ส่วนยูนิเซฟได้รับการกำหนดให้ดูแลเป้าหมาย 6 ประการในเป้าหมายทั้ง 8 ประการเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กที่ทุกคนจะต้องมีสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ. 1989[11] โดยยูนิเซฟได้จัดส่งวัคซีนและทำงานร่วมกับผู้กำหนดนโยบายเพื่อบริการทางสุขภาพและการศึกษาที่ดีอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยเด็กและปกป้องสิทธิของเด็ก[11]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 พัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติได้นำความริเริ่มเพื่อการศึกษาในเด็ก โดยเขาคาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้เข้าโรงเรียนภายในปี พ.ศ. 2558, พัฒนาชุดทักษะที่ได้ภายในโรงเรียน และนำนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาสนับสนุนสันติภาพ ความเคารพ และสิ่งแวดล้อม[12]
วันเด็กสากลมิใช่เพียงวันที่เฉลิมฉลองเด็กด้วยความเป็นเด็กเท่านั้น แต่จะต้องสร้างความตระหนักถึงเด็กทั่วโลกที่ประสบความความรุนแรงในรูปแบบของการใช้กำลัง การรแสวงหาผลประโยชน์ และการเลือกปฏิบัติ เด็กอีกหลายคนถูกใช้เป็นแรงงานในบางประเทศ รวมทั้งในความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ อาศัยบนท้องถนน ประสบกับความยากลำบากทั้งจากศาสนา ความเป็นส่วนน้อย หรือความพิการ[13] ความรู้สึกของเด็กในสงครามนั้นสามารถถูกรบกวนจากความขัดแย้งติดอาวุธและส่งผลเสียอย่างร้ายแรงทั้งร่างกายและจิตใจ[14] นิยามของ "เด็กและความขัดแย้งติดอาวุธ" นั้นรวมถึงความรุนแรงจากการเกณฑ์ทหารเด็ก, การฆ่าและทำร้ายร่างกายเด็ก, การลักพาตัวเด็ก, การโจมตีโรงเรียน/โรงพยาบาลและขัดขวางมนุษยธรรมสู่เด็ก[14] ปัจจุบันมีเด็กที่มีอายุ 5–14 ปี ราว 153 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงาน[15] ในปี พ.ศ. 2542 องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดให้ทาสเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกเด็กเป็นรูปแบบแรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องเลิกและกำจัด[15]
การประชุมสุดยอมผู้นำโลกว่าด้วยเด็กที่แคนาดาเป็นประธานร่วมในปี พ.ศ. 2533 ได้กำหนดข้อตกลงที่มีการยืนยันในการประชุมของสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2545 โดยในครั้งหลังมีการเสริมรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการติดตามผลการดำเนินการตามการประชุมในครั้งก่อน[16]
วันเด็กแห่งชาติแต่ละประประเทศ
[แก้]แต่ละชาติได้กำหนดวันเด็กแห่งชาติเป็นของตนเอง โดยกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต กลุ่มรัฐคอมมิวนิสต์ทั้งในอดีตและปัจจุบันรวม 25 ประเทศกำหนดเป็นวันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันเด็กแห่งชาติของตน[17]
ในส่วนนี้จะแสดงรายชื่อวันเด็กในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญ เรียงตามลำดับวันที่ในปฏิทิน
ปฏิทินกริกอเรียน | ||
---|---|---|
กำหนด | วันที่ในปฏิทิน | ประเทศ/ดินแดน |
วันศุกร์แรกของเดือนมกราคม |
6 มกราคม พ.ศ. 2566 |
บาฮามาส[18] |
11 มกราคม |
ตูนิเซีย[19] | |
วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม |
14 มกราคม พ.ศ. 2566 |
ไทย[20] |
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ |
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
หมู่เกาะคุก |
13 กุมภาพันธ์ |
พม่า[21] | |
วันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม |
5 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
นิวซีแลนด์ |
17 มีนาคม |
บังกลาเทศ[22] | |
21 มีนาคม | ลิเบีย[23] | |
4 เมษายน (วันเด็ก 4 เมษายน ) |
| |
5 เมษายน |
ปาเลสไตน์ | |
12 เมษายน |
| |
วันเสาร์สุดท้ายของเดือนเมษายน[24] |
29 เมษายน พ.ศ. 2566 |
โคลอมเบีย |
National Sovereignty and Children's Day | 23 เมษายน |
ตุรกี |
30 เมษายน |
เม็กซิโก | |
5 พฤษภาคม |
| |
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม |
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 |
|
10 พฤษภาคม |
มัลดีฟส์ | |
17 พฤษภาคม |
นอร์เวย์ | |
27 พฤษภาคม |
ไนจีเรีย | |
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม |
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 |
ฮังการี |
อเมริกันซามัว | ||
1 มิถุนายน |
| |
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายน |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2566 |
สหรัฐ |
1 กรกฎาคม |
ปากีสถาน | |
วันอาทิตย์ที่สามของเดือนกรกฎาคม |
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 |
|
23 กรกฎาคม |
อินโดนีเซีย[26] | |
วันอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม |
6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 |
อุรุกวัย |
16 สิงหาคม |
ปารากวัย | |
วันอาทิตย์ที่สามของเดือนสิงหาคม |
20 สิงหาคม พ.ศ. 2566 |
|
9 กันยายน |
คอสตาริกา | |
10 กันยายน |
ฮอนดูรัส | |
20 กันยายน |
ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ | |
25 กันยายน | เนเธอร์แลนด์ (เมือง Oosterhout) | |
1 ตุลาคม |
| |
วันศุกร์แรกของเดือนตุลาคม |
6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
สิงคโปร์ |
วันพุธแรกของเดือนตุลาคม (Children's Day recognition and assignation) |
4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
ชิลี |
8 ตุลาคม | อิหร่าน | |
12 ตุลาคม |
บราซิล | |
วันเสาร์ที่สี่ของเดือนตุลาคม |
28 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
มาเลเซีย |
วันเสาร์ที่สี่ของเดือนตุลาคม |
28–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
ออสเตรเลีย[27] |
วันเสาร์แรกของเดือนพฤศจิกายน |
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
แอฟริกาใต้ |
14 พฤศจิกายน |
อินเดีย | |
20 พฤศจิกายน | ||
5 ธันวาคม |
ซูรินาม | |
23 ธันวาคม |
| |
25 ธันวาคม |
| |
ปฏิทินฮินดู | ||
กำหนด | วันที่ในปฏิทินกริกอเรียน | ประเทศ/ดินแดน |
29 Bhadra |
เนปาล | |
ปฏิทินเวียดนาม | ||
กำหนด | วันที่ในปฏิทินกริกอเรียน | ประเทศ/ดินแดน |
วันที่ 15 ในเดือนที่ 8 | 29 กันยายน พ.ศ. 2566 17 กันยายน พ.ศ. 2567 6 ตุลาคม พ.ศ. 2568 |
เวียดนาม |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Yang, Unity Elias (2015). Women's and Children's Chambers of Parliament. Bloomington, IN, US: AuthorHouse. ISBN 978-1-5049-4192-1.
- ↑ 2.0 2.1 "World Children's Day". สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
- ↑ "Reading Eagle – Google News Archive Search". สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ "The Sharon Baptist Church". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ "Today is Universal Children's Day – Christian Adoption Services". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ Veysi Akın (1997). "23 Nisan Millî Hâkimiyet ve Çocuk Bayramı'nın Tarihçesi" (akademik yayın). PAÜ Eğitim Fakültesi Dergisi 3. sayı: s. 91.
- ↑ Veysi Akın (1997). "23 Nisan Millî Hâkimiyet ve Çocuk Bayramı'nın Tarihçesi" (akademik yayın). PAÜ Eğitim Fakültesi Dergisi 3. sayı: s. 92.
- ↑ "23 Nisan" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
- ↑ "UN Yearbook". www.unmultimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
- ↑ 10.0 10.1 "United Nations". United Nations. 14 December 1954. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ 11.0 11.1 "UNICEF". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ "Global Education First". Global Education First. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 16 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ 14.0 14.1 "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ 15.0 15.1 "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ Kofi A. Annan. "We the Children: Meeting the promises of the World Summit for Children" (PDF). unicef.org. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 November 2012.
- ↑ "International Children's Day around the world in 2021 | by Office Holidays". www.officeholidays.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
- ↑ "Bahamas celebrates children's health rights for Universal Children's Day – PAHO/WHO | Pan American Health Organization". www.paho.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
- ↑ AnydayGuide. "Children's Day in Tunisia / January 11, 2023". AnydayGuide (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
- ↑ "Thai Children's Day 2023". Thailand NOW (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
- ↑ AnydayGuide. "Children's Day in Myanmar / February 13, 2023". AnydayGuide (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
- ↑ "Aparajeyo-Bangladesh". www.aparajeyo.org. สืบค้นเมื่อ 2024-04-16.
- ↑ "الاحتفال بمناسبة عيد الطفل 21 مارس" (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
- ↑ "LEY 724 DE 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 4 October 2017.
- ↑ "International Children's Day - an official holiday in China". www.advantour.com. สืบค้นเมื่อ 2023-02-16.
- ↑ "Hari-Hari Penting di Indonesia" [Important observances in Indonesia]. Sekretariat Kabinet Republik Indonesia. 3 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
- ↑ "Children's Week". 24 November 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2022.
- ↑ Canada, Public Health Agency of (2009-06-15). "National Child Day". aem. สืบค้นเมื่อ 2020-11-22.
- ↑ "Giornata nazionale dei diritti dell'infanzia e dell'adolescenza 2020". www.governo.it (ภาษาอิตาลี). 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Douglas, George William. Children's Day 2019: History and significance. p. 355.
- วันเด็กสากลบนเว็บไซต์สหประชาชาติ
- วันสำคัญ
- เด็ก
- วันสำคัญในเดือนมกราคม
- วันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์
- วันสำคัญในเดือนมีนาคม
- วันสำคัญในเดือนเมษายน
- วันสำคัญในเดือนพฤษภาคม
- วันสำคัญในเดือนมิถุนายน
- วันสำคัญในเดือนกรกฎาคม
- วันสำคัญในเดือนสิงหาคม
- วันสำคัญในเดือนกันยายน
- วันสำคัญในเดือนตุลาคม
- วันสำคัญในเดือนพฤศจิกายน
- วันสำคัญในเดือนธันวาคม
- วันสำคัญในวันศุกร์
- วันสำคัญในวันเสาร์
- วันสำคัญในวันอาทิตย์