ศาสนาในประเทศกาตาร์
ประเทศกาตาร์เป็นประเทศอิสลามที่มีชนกลุ่มน้อยหลายศาสนาเช่นเดียวกับประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียส่วนใหญ่ที่เผชิญกับคลื่นผู้อพยพในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี ชุมชนในประเทศประกอบด้วยมุสลิมนิกายซุนนีกับชีอะฮ์, ชาวคริสต์, ชาวฮินดู และชาวพุทธและบาไฮขนาดเล็ก[3] มุสลิมมีจำนวน 65.5% ของประชากรทั้งหมด รองลงมาคือฮินดูที่ 15.4%, คริสต์ที่ 14.2%, พุทธที่ 3.3% และอื่น ๆ กับไม่นับถือที่ 1.9% กาตาร์ยังเป็นที่ตั้งของศาสนาอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลางและเอเชีย[4]
ประเทศนี้ยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสนทนาระหว่างศาสนาหลายครั้ง
อิสลาม
[แก้]ศาสนาประจำชาติในประเทศกาตาร์คือศาสนาอิสลาม[5] ชาวกาตาร์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[6][7][8] ส่วนนิกายชีอะฮ์มีประมาณ 10% ของประชากรมุสลิมในกาตาร์ทั้งหมด[9]
ฮินดู
[แก้]ชาวฮินดูในกาตาร์มี 15.1% โดยประมาณการว่ามีผู้นับถือศาสนานี้ประมาณ 422,118 คน[1][10] ชาวฮินดูส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[11][12]
คริสต์
[แก้]ชุมชนชาวคริสต์ในกาตาร์นั้นผสมกันระหว่างชาวต่างชาติจากยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ใน ค.ศ. 2023 มีประชากรในกลุ่มนี้ประมาณ 13.7% ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติจากฟิลิปปินส์ ยุโรป และอินเดีย[13][1]
ไม่มีกลุ่มมิชชันนารีต่างชาติดำเนินการเผยแผ่อย่างเปิดเผยในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 รัฐบาลกาตาร์ได้ให้เช่าทรัพย์สินในเขตชานเมืองโดฮาให้กับตัวแทนของชาวคริสต์ในประเทศเพื่อสร้างอาคารแบบโบสถ์[14] งานวิจัยใน ค.ศ. 2015 ประมาณว่าว่ามีชาวคริสต์ประมาณ 200 คนมีพื้นเพจากมุสลิม แม้ว่าไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นพลเมืองในประเทศก็ตาม[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Global Religious Landscape เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Forum.
- ↑ "Population By Religion, Gender And Municipality March 2020". Qatar Statistics Authority.
- ↑ "Qatar". rpl.hds.harvard.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-25.
- ↑ "Religious Composition by Country" (PDF). Global Religious Landscape. Pew Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
- ↑ "Qatar". State. 2006-06-29. สืบค้นเมื่อ 2012-09-04.
- ↑ "Tiny Qatar's growing global clout". BBC. 30 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
- ↑ "Qatar's modern future rubs up against conservative traditions". Reuters. 27 September 2012.
- ↑ "Rising power Qatar stirs unease among some Mideast neighbors". Reuters. 12 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
- ↑ "Mapping the Global Muslim Population" (PDF). Pew Forum on Religion & Public Life. October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-15. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
- ↑ "Population By Religion, Gender And Municipality March 2004". Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-18.
- ↑ "Population structure". Ministry of Development Planning and Statistics. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.
- ↑ "Population By Religion, Gender And Municipality March 2020". Qatar Statistics Authority.
- ↑ US State Dept 2022 report
- ↑ "International Religious Freedom Report 2006". U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 6 April 2014.
- ↑ Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christ from a Muslim Background: A Global Census". Interdisciplinary Journal of Research on Religion. 11: 17. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.