สมการเวลา
สมการเวลา (equation of time) คือความแตกต่างในการเคลื่อนที่ระหว่างเวลาสุริยคติเฉลี่ย ซึ่งพิจารณาโดยสมมุติว่าการดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่บนทรงกลมท้องฟ้า กับเวลาสุริยคติปรากฏ ซึ่งพิจารณาดวงอาทิตย์ตามที่ปรากฏจริงบนท้องฟ้า
ค่าในสมการเวลาในแต่ละวันในช่วงปีได้รับการเรียบเรียงจากการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และได้รับการจดบันทึกไว้ในกาลานุกรมและปฏิทินดาราศาสตร์[1][2]
ภาพรวม
[แก้]สมการเวลาคือความแตกต่างระหว่างไรต์แอสเซนชันของดวงอาทิตย์ปรากฏและดวงอาทิตย์เฉลี่ย ซึ่งแปรเปลี่ยนไปเป็นคาบในหนึ่งปี โดยความต่างนั้นจะแค่ไม่เกิน 17 นาที
การที่สมการเวลาเปลี่ยนแปลงไปนั้นแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงไรต์แอสเซนชันของดวงอาทิตย์ปรากฏในรอบปีนั้นไม่คงที่ โดยมีปัจจัยสองประการดังต่อไปนี้
- เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้ความเร็วเชิงมุมของการโคจรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
- เส้นศูนย์สูตรของโลกเอียงทำมุมกับวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก 23°27' (นั่นคือเมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเอียงไปจากเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า) ดังนั้น แม้ว่าดวงอาทิตย์จะเคลื่อนไปตามสุริยวิถีด้วยความเร็วคงที่ (อัตราการเพิ่มขึ้นของลองจิจูดสุริยวิถีคงที่) อัตราการเพิ่มขึ้นของไรต์แอสเซนชันก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล
นี่เป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่เห็นเส้นทางเดินของดาวเทียมกึ่งจอมฟ้ามีลักษณะเหมือนกับรูปเลขแปดเมื่อมองจากพื้นโลก
อ่านเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Milham, Willis I. (1945). Time and Timekeepers. New York: Macmillan. pp. 11–15. ISBN 978-0780800083.
- ↑ British Commission on Longitude (1794). Nautical Almanac and Astronomical Ephemeris for the year 1803. London, UK: C. Bucton.