ข้ามไปเนื้อหา

สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2493
อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
เสียชีวิต14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (71 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้นำการชุมนุม พธม. และ กปปส.
ขบวนการพธม.
กปปส.
ถูกกล่าวหากบฏ
คู่สมรสวัลลภา พงษ์ไพบูลย์
บุตร2 คน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ (12 มกราคม พ.ศ. 2493 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และสมาชิกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

ประวัติ

[แก้]

สมเกียรติเกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาไทย-ประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สมเกียรติ สมรสร่วมกับ นาง วัลลภา พงษ์ไพบูลย์ มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน ชื่อ พินยู นรานันธิกรณ์ (นามสกุลเดิม พงษ์ไพบูลย์)[1][2]และ ศิลป์รวี พงษ์ไพบูลย์​

สมเกียรติเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ด้วยภาวะเส้นเลือดใหญ่บริเวณก้านสมองแตก หลังรักษาตัวนานกว่า 1 เดือน[3]

การทำงาน

[แก้]

ผศ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เริ่มรับราชการเป็นครูที่โรงเรียนวัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อลงรับเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 5 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาหลังการยุบสภาใน พ.ศ. 2554 จึงได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และวางมือทางการเมือง[4] สมเกียรติเคยเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่เคยมีบทบาทในการชุมนุมเมื่อ พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2551

เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในรัฐสภา

[แก้]

เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่อาคารรัฐสภาได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ได้ถูกการุณ โหสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคพลังประชาชน ทำร้ายร่างกายโดยการชกต่อย ซึ่งศาลจังหวัดดุสิต พิพากษาให้จำคุกนายการุณ เป็นเวลา 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท ฐานทำร้ายร่างกาย และปรับ 10,000 บาท ฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี[5]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 สมเกียรติเป็นผู้หนึ่งที่ออกมาร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยก่อนหน้าที่จะมีการชุมนุมไม่นาน เจ้าตัวได้กล่าวคำขอโทษพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในอดีตเคยกล่าวพาดพิงถึงพรรคในทางที่เสียหาย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีที่กำลังถ่ายทอดสดอยู่[6]

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ทางกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ได้จัดการชุมนุมแบบปิดแยกสำคัญในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 7 แห่ง โดยแยกออกเป็นเวทีต่าง ๆ 8 เวที ผศ.สมเกียรติก็ได้เป็นผู้รับผิดชอบเวทีที่แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เป็นเวทีแยกต่างหากจากเวทีที่มีพระพุทธะอิสระเป็นผู้ดูแลอีกด้วย[7] (แต่ต่อมาไม่นาน เวทีทั้งสองนี้ก็ได้ยุบรวมเป็นเวทีเดียว เพื่อความปลอดภัย[8])

ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รุกคืบพื้นที่ชุมนุมเข้ามาเพื่อขอคืนพื้นที่ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ได้มีการปะทะกันด้วยความรุนแรง ผศ.สมเกียรติได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหาแล้ว แต่ได้ถูกกลุ่มชายลึกลับกลุ่มหนึ่งบุกเข้ามาช่วยออกมาได้ โดยใช้เวลาเพียง 2 นาทีเท่านั้น ซึ่งเจ้าตัวเชื่อว่าชายกลุ่มดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ได้รรับการฝึกทางยุทธวิธีมาเป็นอย่างดี[9]

ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย นายสมเกียรติมีรายชื่อเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 15[10][11]

ต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ออกหมายจับเขา[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วัลลภา พงษ์ไพบูลย์ ยืนยัน 'สมเกียรติ' ยังนอนอยู่ รพ.ที่โคราช ครอบครัวยังไม่ตัดสินใจผ่าตัด ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2564
  2. ลูกสาว'สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์’โพสต์'พ่อจะไม่ตื่นขึ้นมาแล้ว' ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2564
  3. “สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์” เสียชีวิตแล้ว! หลังโคม่าจากเส้นเลือดใหญ่ก้านสมองแตก รักษาตัวมากว่า 1 เดือน
  4. สรุปบัญชีโยกย้ายนักการเมือง[ลิงก์เสีย]
  5. จำคุก1เดือน "เก่งการุณ" โดดถีบ "สมเกียรติ"[ลิงก์เสีย]จาก คมชัดลึก
  6. "อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำ พธม. แจงแนวทางต่อสู้กับระบบทักษิณ พร้อมขอโทษ ปชป". ยูทิวบ์. 16 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "อารักขาเข้ม 2 เวที กปปส. ที่แจ้งวัฒนะ สมเกียรติ-พุทธอิสระ คุมเอง ชี้เป็นจุดเสี่ยงสูง". มติชนออนไลน์. 13 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "กปปส.หวั่นผู้ชุมนุมไม่ปลอดภัย ยุบเวที "แจ้งวัฒนะ-ดีเอสไอ" ตั้งใหม่ที่ ปตอ". ผู้จัดการออนไลน์. 14 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "2 นาที..ชิงตัวแกนนำ"สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์"". โอเคเนชั่น. 21 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ศาลออกหมายจับ "สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์" คดีพธม.บุกทำเนียบ
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๘๗, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]