ข้ามไปเนื้อหา

สะพานเทเวศรนฤมิตร

พิกัด: 13°46′10.56″N 100°30′13.32″E / 13.7696000°N 100.5037000°E / 13.7696000; 100.5037000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานเทเวศรนฤมิตร
พิกัด13°46′10.56″N 100°30′13.32″E / 13.7696000°N 100.5037000°E / 13.7696000; 100.5037000
เส้นทางถนนสามเสน
ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม
ที่ตั้งแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต แขวงวัดสามพระยา และแขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ชื่ออื่นสะพานเทเวศร์
ผู้ดูแลกรุงเทพมหานคร
สถานะเปิดใช้งาน
เหนือน้ำสะพานคนเดิน
ท้ายน้ำสะพานคนเดิน
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแบบโค้ง
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทางเดิน2
ประวัติ
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันเปิด30 มิถุนายน พ.ศ. 2442
ห้าแยก ทางแยก
ชื่ออักษรไทยเทเวศร์
ชื่ออักษรโรมันThewet
ทิศทางการจราจร
ถนนสามเสน
» แยกสี่เสาเทเวศร์
ถนนกรุงเกษม
» แยกประชาเกษม
ถนนสามเสน
» แยกบางขุนพรหม
ถนนกรุงเกษม
» ท่าเรือเทเวศร์
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานเทเวศรนฤมิตร
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005606
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานเทเวศรนฤมิตร เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งอยู่บนถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์สร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมทั้งหมดห้าสะพาน และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้มีชื่อคล้องจองกันทั้งหมด โดยทรงปรึกษากับพระราชเลขานุการที่เชี่ยวชาญภาษามคธ ได้นามเป็นมงคลคล้องจองกันและมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทวดานฤมิตร" คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยในส่วนของสะพานเทเวศรนฤมิตร นั้นมีความหมายถึง "สะพานที่เทวดาผู้เป็นใหญ่สร้าง"[1] หรือ "สะพานที่พระอิศวรเป็นผู้สร้าง" [2] เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2442 เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมแห่งแรกที่ทรงเปิด[3]

มีโครงสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีราวพนักสะพานเป็นคอนกรีตทึบทั้งสองข้าง ปลายสะพานเป็นเสาหัวเม็ด มุมสะพานทั้งสี่เป็นเสาตั้งหัวไฟทั้งสี่มุม ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2518

เชิงสะพานเทเวศรนฤมิตร เป็นสี่แยกจุดตัดของถนนสามเสนกับถนนกรุงเกษมและถนนลูกหลวง และเป็นจุดตัดของเขตดุสิตกับเขตพระนคร เป็นตลาดและชุมชนเก่าแก่ คือ ตลาดเทเวศร์ หรือ ตลาดเทวราช ซึ่งขึ้นชื่ออย่างในการเป็นตลาดค้าไม้ดอกไม้ประดับ และทำให้ย่านนี้ได้ชื่อว่า "เทเวศร์" ไปด้วย[3]

บริเวณใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศ, 2538. 972 หน้า. หน้า 408. ISBN 9748122697
  2. ""สะพานเทวดานฤมิตร" ปราการป้องกันพระนคร". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-10-24.
  3. 3.0 3.1 pongsakornlovic (2010-12-09). "CHN 167 สะพานเทเวศรนฤมิตร". ชื่อนั้นสำคัญไฉน?.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณท่าเรือตลาดเทวราช
สะพานเทเวศรนฤมิตร
ท้ายน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณวังลดาวัลย์