สาธารณรัฐเซอร์เบีย (ค.ศ. 1992–2006)
สาธารณรัฐเซอร์เบีย Република Србија Republika Srbija | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1992–2006 | |||||||||||
เพลงชาติ: Хеј, Словени" (1992-2004) "Hej, Sloveni" เรา ชาวสลาฟ Bože Pravde (2004-2006) Боже правде "เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม" | |||||||||||
เขตการปกครองของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร:
| |||||||||||
สถานะ | รัฐองค์ประกอบของยูโกสลาเวีย | ||||||||||
เมืองหลวง | เบลเกรด | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย (1992-2006) | ||||||||||
เดมะนิม | ชาวเซอร์เบีย | ||||||||||
การปกครอง | 1992–2000: รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา 2000–2006: สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | ||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||
• 1990–1997 | สลอบอดัน มีลอเชวิช | ||||||||||
• 1997–2002 | มิลัน มิลูตีนอวิช | ||||||||||
• 2002–2006 | บอริส ตาดิช | ||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• 1992–1993 (คนแรก) | ราดอมาน บอซอวิช | ||||||||||
• 2004–2006 (สุดท้าย) | วอยีสลาฟ คอชตูนีตซา | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาแห่งชาติ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามยูโกสลาเวีย | ||||||||||
• ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ | 28 กันยายาน 1990 1992 | ||||||||||
• สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้น | 27 เมษายน 1992 | ||||||||||
• มอนเตเนโกรประกาศเอกราช | 3 มิถุนายน 2006 | ||||||||||
• การล่มสลายของสหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร | 5 มิถุนายน 2006 2006 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
88,361 ตารางกิโลเมตร (34,116 ตารางไมล์) | |||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• | 9313476 | ||||||||||
รหัส ISO 3166 | RS | ||||||||||
|
สาธารณรัฐเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Република Србија / Republika Srbija) เป็นรัฐที่เป็นองค์ประกอบของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียระหว่างปี 1992 ถึง 2003 และสหภาพแห่งรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกรระหว่าง 2003 ถึง 2006 [1] ด้วยการที่มอนเตเนโกรแยกตัวออกจากสหภาพกับเซอร์เบียในเดือนมิถุนายน 2006[2] ทั้งสองกลายเป็นรัฐอธิปไตยเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 88 ปี[3]
หลังจากสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียล่มสลายในปี 1990 สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียซึ่งนำโดยพรรคสังคมนิยมของ สลอบอดัน มีลอเชวิช ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้โดยประกาศตัวเองว่าเป็นสาธารณรัฐที่มีส่วนประกอบในยูโกสลาเวีย หลังจากการล่มสลายของยูโกสลสเวียล่มสลายในปี 1992 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียได้ถูกก่อตั้งขึ้นซึ่งภายหลังปี 2003 รู้จักกันในชื่อเซอร์เบียและมอนเตเนโกร
เซอร์เบียอ้างว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงครามบอสเนีย อย่างไรก็ตาม กลุ่มกบฏของชาวเซิร์บทั้งสองในบอสเนียและโครเอเชียต้องการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเซอร์เบียและต่อมาคือสาธารณรัฐเซิร์บกรายินาพยายามที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย[4] แต่ ราดอวาน การาจิช ผู้นำทางการเมืองของเรปูบลิกาเซิร์ปสกา ประกาศว่าต้องการจะรวมเข้ากับเซอร์เบียโดยตรง ในขณะที่เซอร์เบียยอมรับจุดมุ่งหมายของทั้งสองหน่วยงานที่อยากจะผนวกรวมเข้ากับเซอร์เบีย [5]
ภูมิหลัง
[แก้]ด้วยการล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (SFRY) ในปี 1992 สองสาธารณรัฐที่เป็นส่วนประกอบที่เหลืออยู่ของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรตกลงที่จะจัดตั้งรัฐยูโกสลาเวียใหม่อย่างเป็นทางการซึ่งละทิ้งลัทธิคอมมิวนิสต์เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งยูโกสลาเวียใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย (แม้ว่าจะยังคงรักษาตราแผ่นดินคอมมิวนิสต์ไว้ก็ตาม) รัฐยูโกสลาเวียใหม่นี้มีชื่อว่าสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (FRY) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียได้เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐเซอร์เบียในปี 1990 หลังจากสันนิบาตคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียล่มสลาย แต่อดีตคอมมิวนิสต์ยังคงมีอิทธิพลในการเมืองของเซอร์เบียในช่วงสิบปีแรก เพราะพรรคสังคมนิยมเซอร์เบียที่ปกครองในขณะนั้นมีสายสัมพันธ์โดยตรงกับสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งเซอร์เบีย เซอร์เบียดูเหมือนจะเป็นสาธารณรัฐที่มีอำนาจเหนือกว่าในยูโกสลาเวียเพราะเนื่องจากขนาดและประชากรที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างสาธารณรัฐทั้งสอง แต่ภายในประเทศนั้นทั้งสองฝ่ายมีอิสระซึ่งกันและกัน และมีรัฐบาลกลางประกอบด้วยทั้งชาวมอนเตเนโกรและชาวเซอร์เบีย
สหพันธรัฐ
[แก้]การเมืองของเซอร์เบียในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียยังคงสนับสนุนผลประโยชน์ของชาวเซิร์บในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและโครเอเชีย ซึ่งประชากรเซิร์บในพื้นที่เหล่านี้ต้องการคงอยู่ในยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ปี 1989 เซอร์เบียโดยมีสลอบอดัน มีลอเชวิช เป็นผู้นำซึ่งเคยเป็นคอมมิวนิสต์และสัญญาว่าจะปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของชาวเซิร์บในยูโกสลาเวีย ในปี 1992 เขาและประธานาธิบดีมอนเตเนโกร มอมีร์ บูลาตอวิช ได้ก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ผู้วิจารณ์หลายคนในระดับนานาชาติเห็นว่าเซอร์เบียเป็นชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยูโกสลาเวีย โดยที่ประธานาธิบดีมีลอเชวิชดูเหมือนจะมีอิทธิพลมากกว่าประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย (ประธานาธิบดีคนแรก ดอบริตซา ชอซิช ถูกบังคับให้ลาออกเนื่องจากคัดค้านมีลอเชวิช) รัฐบาลมีลอเชวิชไม่ได้มีข้อเรียกร้องทางดินแดนต่อสาธารณรัฐมาซิโดเนีย แต่อย่างไรก็ตามมีบางคนอ้างว่ามิโลเชวิชเพียงแค่สนับสนุนการกำหนดตนของชาวเซิร์บที่ประกาศตัวเองว่ายังคงอยู่ในยูโกสลาเวีย
ในระหว่างสงครามยูโกสลาเวียในโครเอเชียและบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มีลอเชวิชสนับสนุนกลุ่มกบฎชาวเซิร์บที่ต้องการแยกตัวออกจากรัฐที่เพิ่งก่อตั้งเหล่านี้ การสนับสนุนนี้ขยายไปยังบุคคลเช่น ผู้นำชาวเซิร์บในบอสเนีย ราดอวาน การาจิช และข้อกล่าวหาจากบุคคลบางกลุ่มในระดับนานาชาติได้กล่าวหาว่ามีลอเชวิชว่าเป็นผู้ควบคุมฝ่ายกบฎชาวเซิร์บในระหว่างสงคราม และได้อนุมัติว่าเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรมสงคราม
ในปี 1995 มีลอเชวิชได้เป็นตัวแทนของชาวเซิร์บในบอสเนียในการลงนามความตกลงเดย์ตัน[6]และยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเซอร์เบียจนถึงปี 1997 เมื่อเขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียและกลายเป็นประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย มิลัน มิลูตีนอวิช เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียแทนมีลอเชวิชในปีนั้น
ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 1999 เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองอย่างรุนแรงในจังหวัดปกครองตนเองคอซอวอซึ่งมีประชากรส่วยใหญ่เป็นชาวแอลเบเนีย ซึ่งนำไปสู่สงครามคอซอวอในปี 1998[7][8] จนถึงปี 1999[9] ในระหว่างสงครามคอซอวอ ยูโกสลาเวียได้ถูกเนโททิ้งระเบิดทางอากาศ[10] ซึ่งรวมถึงกรุงเบลเกรด ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวงของเซอร์เบียและเมืองหลวงของยูโกสลาเวีย และหลังจากนั้นยูโกสลาเวียยอมตกลงที่จะสละการควบคุมจังหวัดคอซอวอให้กับสหประชาชาติ ต่อมาในวันที่ 12 เมษายน 1999 สภาสหพันธ์ของยูโกสลาเวียได้ผ่าน "การตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมสหภาพรัฐระหว่างรัสเซียและเบลารุส"[11]
สงครามยูโกสลาเวียทำให้เศรษฐกิจของเซอร์เบียตกต่ำเนื่องจากการคว่ำบาตรและภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง,[12]และความโกรธแค้นต่อการปกครองของมีลอเชวิชในตำแหน่งประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย สงครามและผลกระทบจากสงครามทำให้พรรคการเมืองชาตินิยมสุดโต่งของเซอร์เบียที่นำโดยวอยีสลาฟ เชเซลจ์ ซึ่งในการปราศรัยของเขาได้ส่งเสริมแนวคิดที่ว่าชาวเซอร์เบียควรที่จะอยู่ร่วมกันในรัฐเดียว เชเซลจ์มีส่วนร่วมในการรณรงค์เชื้อชาติของชาวเซิร์บเพื่อต่อต้านชาวโครแอตและชาวบอสนีแอกในระหว่างสงครามยูโกสลาเวีย เชเซลจ์ถูกจับกุมสองครั้งในปี 1994 และ 1995 โดยรัฐบาลยูโกสลาเวีย แต่ในที่สุดก็ได้กลายเป็นรองประธานาธิบดีเซอร์เบียระหว่างปี 1998 ถึง 2000 และในปี 2000 พลเมืองเซอร์เบียออกมาประท้วงการเลือกตั้งเมื่อมีลอเชวิชปฏิเสธที่จะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดียูโกสลาเวียหลังจากการเลือกตั้ง โดยมีข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง[13] มิโลเชวิชถูกโค่นล้มจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2000 และลาออกอย่างเป็นทางการในวันถัดมา ต่อมาเขาถูกจับกุมในปี 2001 โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางในข้อหาคอร์รัปชันระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่ไม่นานก็ถูกส่งตัวไปยังกรุงเฮกเพื่อเผชิญข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม[14]
หลังจากการโค่นล้มมีลอเชวิช วอยีสลาฟ คอชตูนีตซา กลายเป็นประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย และในปี 2002 มิลูตีนอวิชซึ่งเป็นพันธมิตรขอมีลอเชวิชในฐานะประธานาธิบดีเซอร์เบียได้ลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้สิ้นสุดการปกครองโดยพรรคสังคมนิยมเซอร์เบียที่มีอำนาจในสาธารณรัฐแห่งนี้มานาน 12 ปี จากนั้นบอริส ตาดิช จากพรรคประชาธิปไตยได้เข้ามาแทนที่มิลูตีนอวิช
สมาพันธรัฐ
[แก้]ในปี 2003 หลังจากการก่อตั้งสหพันธรัฐใหม่ เซอร์เบียกลายเป็นหนึ่งในรัฐองคืประกอบของสมาพันธรัฐนี้ร่วมกับมอนเตเนโกร การก่อตัวของสมาพันธรัฐเกิดขึ้นจากการเติบโตของลัทธิชาตินิยมมอนเตเนโกร โดยมอนเตเนโกรใช้สกุลเงินของภายนอกเป็นสกุลเงินที่ถูกกฎหมายมาหลายปี โดยเริ่มต้นจากมาร์คเยอรมัน และตั้งแต่ปี 2002 ก็ใช้ยูโรเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการ ในขณะที่เซอร์เบียยังคงใช้เงินดีนาร์ยูโกสลาฟและธนาคารกลางยูโกสลาเวีย
ระหว่างปี 2003 ถึง 2006 เซอร์เบียเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในเกี่ยวกับทิศทางของประเทศ นักการเมืองเซอร์เบียมีความคิดเห็นแตกแยกเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะสร้างสมาพันธรัฐในตอนแรก ซอรัน จีนจิช ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนหลักของสมาพันธรัฐนี้ ถูกวิจารณ์โดยวอยีสลาฟ คอชตูนีตซา อดีตประธานาธิบดียูโกสลาเวีย ความโกรธแค้นของกลุ่มของชาตินิยมที่มีต่อจุดยืนของจีนจิชนำไปสู่การลอบสังหารเขาในเดือนมีนาคม 2003 ซึ่งทำให้เกิดการประกาศภาวะฉุกเฉิน[15] ในปี 2004, กลุ่มทางการเมืองที่สนับสนุนสหภาพยุโรปได้รวมตัวกันต่อต้านกลุ่มชาตินิยมที่คัดค้านการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของเซอร์เบีย จนกว่าสหภาพยุโรปจะรับรองอำนาจอธิปไตยของเซอร์เบียในคอซอวอ[16]
ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2006 เซอร์เบียต้องเผชิญกับผลกระทบจากการลงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชของมอนเตเนโกรจากสหภาพรัฐ[17] ชาวเซอร์เบียส่วนใหญ่ต้องการให้มอนเตเนโกรยังคงอยู่ในสหภาพรัฐ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศและมอนเตเนโกรถูกมองว่าเป็นชาติเดียวกับเซอร์เบียทั้งในด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ แม้จะมีการสนับสนุนการคงอยู่ในสหภาพ แต่กลุ่มสนับสนุนการแยกตัวก็ชนะการลงประชามติโดยได้คะแนนเกินกว่าร้อยละ 55 ที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ สภาแห่งสาธารณรัฐมอนเตเนโกรได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน[18]
เมื่อมอนเตเนโกรได้รับการยอมรับเอกราชแล้ว เซอร์เบียได้ประกาศตัวเองเป็นผู้สืบทอดทางกฎหมายและการเมืองของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร[19] เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1918 ที่เซอร์เบียประกาศจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภาของเซอร์เบีย และจะมีการรับรองรัฐธรรมนูญใหม่ในไม่ช้า[20] และนี่คือการยุติการรวมชาติกันระหว่างมอนเตเนโกรและเซอร์เบียในรอบ 88 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Narodna skupstina Republike Srbije". web.archive.org. 2006-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-08. สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.
- ↑ "Montenegro declares independence" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-06-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
- ↑ "Serbia ends union with Montenegro". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Prosecutor v. Milan Martić Judgement เก็บถาวร 4 สิงหาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. p. 46. International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia. Retrieved 13 September 2009.
- ↑ https://www.icty.org/x/cases/martic/tjug/en/070612.pdf
- ↑ Bonner, Raymond (24 November 1995). "In Reversal, Serbs of Bosnia Accept Peace Agreement". The New York Times. p. 1.
- ↑ Independent International Commission on Kosovo (2000). The Kosovo Report (PDF). Oxford: Oxford University Press. p. 2. ISBN 978-0199243099.
- ↑ Quackenbush, Stephen L. (2015). International Conflict: Logic and Evidence. Los Angeles: Sage. p. 202. ISBN 9781452240985.
- ↑ Boyle, Michael J. (2014). Violence After War: Explaining Instability in Post-Conflict States. Baltimore: Johns Hopkins University Press. p. 175. ISBN 9781421412573.
- ↑ "NATO hits Montenegro, says Milosevic faces dissent" เก็บถาวร 9 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CNN, 29 April 1999.
- ↑ "Одлука о приступању Савезне Републике Југославије Савезу Русије и Белорусије: 25/1999-1" [Decision on the accession of the Federal Republic of Yugoslavia to the Alliance of Russia and Belarus: 25/1999-1]. Službeni list SRJ. No. 25. Belgrade: Pravno informacioni sistem RS. 12 April 1999. สืบค้นเมื่อ 22 January 2023.
- ↑ Hanke, Steve H. (2007-05-07). "The World's Greatest Unreported Hyperinflation". Cato Institute. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07 – โดยทาง May 2007 issue of Globe Asia.
- ↑ Boško Nicović (4 ตุลาคม 2010). "Hronologija: Od kraja bombardovanja do 5. oktobra" (ภาษาเซอร์เบีย). B92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2014.
- ↑ "Arrest and Transfer". International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia.
- ↑ Danas – Zoran Đinđić murdered, state of emergency in Serbia เก็บถาวร 2010-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, March 13, 2003
- ↑ Lozancic, Dragan (2 July 2008). "Kosovo: Adjusting to a "New Reality"". Marshallcenter.
- ↑ Nohlen, D & Stöver, P (2010) Elections in Europe: A data handbook, p1372 ISBN 978-3-8329-5609-7
- ↑ Montenegro declares independence BBC News, 4 June 2006
- ↑ srbija.gov.rs (31 May 2006). "Serbia inherits state and legal continuity of Serbia-Montenegro". www.srbija.gov.rs (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
- ↑ srbija.gov.rs (31 May 2006). "New constitution to be adopted with consensus of all parliamentary parties". www.srbija.gov.rs (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bataković, Dušan T., บ.ก. (2005). Histoire du peuple serbe [History of the Serbian People] (ภาษาฝรั่งเศส). Lausanne: L’Age d’Homme. ISBN 9782825119587.
- Jovanovic, Predrag; Sukovic, Danilo (2001). "A decade under sanctions". Transparentnost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
- Miller, Nicholas (2005). "Serbia and Montenegro". Eastern Europe: An Introduction to the People, Lands, and Culture. Vol. 3. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. pp. 529–581. ISBN 9781576078006.
- The Mandala Projects (2012). "Serbia Sanctions (SERBSANC)". The Mandala Projects. 391. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 2016-06-18.